free geoip

คน กทม. ใช้ชีวิตตายแบบผ่อนส่งจากปัญหา PM2.5


ทุกต้นปี คนกรุงเทพฯ​ ต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่น PM2.5 สูงเกินมาตรฐานต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ประชาชนต้องคอยเช็คข้อมูลว่าวันไหนค่าฝุ่นจะสูงเกินมาตรฐาน แล้วไปหาซื้อหน้ากาก N95 มาเอง เพื่อป้องกันตัวเองระหว่างที่ออกไปทำงาน ทำมาหากิน และพยายามจะใช้ชีวิตให้ได้ตามปกติ

แม้รัฐบาลจะพยายามทำให้เรื่องนี้เงียบ ไม่ตอบสนองต่อปัญหา แต่ความเดือดร้อนที่เกิดจากปัญหาฝุ่นนั้นมหาศาลเกินกว่าที่คน กทม.​จะสามารถทำตัวให้ชินไปได้ เพราะเรื่องนี้ส่งผลสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หากรัฐบาลยังคงนิ่งเฉยเช่นนี้ต่อไป คน กทม. ต้องใช้ชีวิตแบบ “ตายผ่อนส่ง” ต่อไป พร้อมกับต้องแบกรับภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ข้าวของราคาแพงทั้งแผ่นดิน ค่าครองชีพสูงตั้งแต่ค่ากิน ค่าเดินทาง แล้วยังต้องมารับภาระในการดูแลสุขภาพ และรักษาโรค

วรรณวรี ตะล่อมสิน ส.ส. กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ปัจจุบัน คนกรุงเทพฯ เพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่พอจะมีกำลังซื้อหน้ากาก N95 ซื้อเครื่องฟอกอากาศติดบ้าน ติดโต๊ะทำงานของตัวเอง เพื่อจัดให้บ้านและออฟฟิศเป็นพื้นที่ปลอดภัย แต่คนกรุงเทพส่วนใหญ่อีก 90% ไม่มีทางเลือก ทำได้เพียงใส่หน้ากากธรรมดาออกไปทำมาหากิน ท่ามกลางความเสี่ยงกับสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ซึ่งทำให้พวกเขาเสี่ยงกับโรคและเสี่ยงสูดหายใจนำฝุ่นเข้าร่างกาย และมีชีวิตที่เสี่ยงกับการเป็นโรคหอบหืด โรงทางเดินหายใจ หากสะสมเป็นเวลานาน ก็เสี่ยงกับการเกิดมะเร็งปอดในที่สุด

“เป็นปีที่สามแล้วที่รัฐบาล นิ่งนอนใจกับปัญหาฝุ่น ทั้งที่รู้ล่วงหน้าว่า ปัญหานี้จะต้องเกิดขึ้นทุกปี ดิฉันมั่นใจว่า รัฐบาลรู้ถึงสาเหตุหลักของฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพและปริมณฑลอยู่แล้วว่า มาจากเรื่องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ไอเสีย ฝุ่นควันดำ โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้จากการเกษตร และการก่อสร้าง แต่เราไม่เห็นการบังคับใช้กฎหมายหรือการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมแม้แต่น้อย สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมอย่างเดียวเท่านั้นคือ การฉีดน้ำลงบนถนน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ได้ผล เปลืองทรัพยากร ไม่ได้ใช้ปัญญา และไม่เกิดประสิทธิภาพ เพราะพอน้ำแห้ง ฝุ่นก็กลับมาฟุ้งกระจายเหมือนเดิม”

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลยังคงแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษแบบขอไปที ทำเพียงปัญหาที่อยู่ตรงหน้า แต่ไม่มีการคิดอย่างเป็นระบบและออกแบบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา ดังนั้น รัฐบาลควรออกมาตรการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ต้องไม่ใช่แค่ขอความร่วมมืออย่างที่ผ่านมา แต่ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและออกมาตรการบังคับอย่างจริงจัง ในเรื่องการคมนาคม ต้องปรับเปลี่ยนรถสาธารณะ โดยหยุดใช้รถเมล์รุ่นเก่า และเอารถเมล์ไฟฟ้าที่ลดการปล่อยมลพิษและควันดำมาแทนที่ ส่วนเรื่องโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานต้องเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายกับโรงงานที่ปล่อยมลพิษทางอากาศและกำหนดค่ามาตรฐานการระบายอากาศเสียออกจากโรงงาน

“การแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องที่ทำตัวให้คุ้นชินกับฝุ่น PM2.5 แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่หลายหน่วยงานมีส่วนรับผิดชอบชีวิตของคนกรุงเทพฯ ตนจึงหวังว่า หากเรามีผู้ว่ากรุงเทพฯ ที่มีความจริงจังในการ ‘กล้าชนกับปัญหา’ ของผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร หากรู้ปัญหา แต่ไม่กล้าพอที่จะทะลวงปัญหาเพื่อชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพ ก็ไม่รู้จะมีผู้ว่า ไปทำไม”

วรรณวรี กล่าวทิ้งท้าย

Login

พรรคก้าวไกล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า