free geoip

บังคับใช้กฎหมายกับทุกคน ยกเว้นตัวเอง


รัฐธรรมนูญ 2560 (ที่คนร่างก็เป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐประหาร) บัญญัติไว้ว่า มาตรา 158 วรรค 4 เขียนไว้ชัดว่า ‘นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง’

รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวตอนหนึ่งถึงกรณี “8 ปี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ซึ่งจะครบในวันที่ 23 สิงหาคม นี้ ว่า เมื่อดูเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ ผ่านบริบทแวดล้อมอื่นๆ อาทิ บทเฉพาะกาลมาตรา 264 ที่กำหนดว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ ให้เป็น ครม. ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป แสดงให้เห็นถึงการยอมรับสถานะ ครม. ที่ดำรงอยู่ก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2560

เพราะหากผู้ร่างมีความมุ่งหมายจะยกเว้นไม่ให้นับอายุของนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้าประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ก็ควรจะเขียนระบุไว้ให้ชัดในบทเฉพาะกาลตั้งแต่แรก เมื่อไม่ได้เขียน ก็แสดงว่าไม่ได้มีความมุ่งหมายนั้น และสมควรที่จะต้องตีความมาตรา 158 ให้กรอบระยะเวลา 8 ปี มีความเคร่งครัดที่สุด นั่นคือต้องนับอายุนายกรัฐมนตรีก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญด้วย

อีกบริบทแวดล้อม คือบันทึกการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ครั้งที่ 500 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 เพื่อจัดทำ “ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560” ทั้งความเห็นของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. และสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธาน กรธ. ล้วนเห็นตรงกันว่า ควรนับรวมระยะเวลาก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ โดยรวมกันต้องไม่เกิน 8 ปี หรือพูดง่ายๆ คือเป็นความเห็นสนับสนุนการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 โดยที่ผู้ร่วมประชุมคนอื่นๆ ในครั้งนั้นอีก 17 คน ก็ไม่ได้แสดงการคัดค้าน

ภายหลังจากบันทึกการประชุมถูกเผยแพร่ มีการรีบออกมาแก้ตัว อ้างว่าเป็นแค่ความเห็นของตัวเอง ไม่ใช่มติของที่ประชุม แต่อย่างไรก็ตาม หากลองมาดูมติในวันนั้นที่กลายมาเป็นคำอธิบายประกอบมาตรา 158 ในส่วนของระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 8 ปี ก็ชัดเจนว่า “การกำหนดระยะเวลา 8 ปีไว้ก็เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวเกินไปอันจะเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤติทางการเมืองได้”

“ถามหน่อยเถอะครับว่า ถ้าจะยกเว้นยอมให้ใครสักคนสามารถอยู่เกิน 8 ปีได้ โดยการไม่นับบางช่วงบางตอนที่ดำรงตำแหน่ง แล้วมาตรา 158 วรรค 4 นี้จะใช้ได้จริงสมกับความมุ่งหมายได้อย่างไร ลองถามสามัญสำนึกของแต่ละท่านเองเถอะว่า เวลาที่เราดูว่าใครครองอำนาจมายาวนานเท่าไหร่แล้ว เพื่อที่จะป้องกันการผูกขาดอำนาจ เราต้องมานั่งแยกแยะกันด้วยหรือครับว่า นี่คือการครองอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับไหนบ้าง สุดท้ายรวมๆ กันแล้ว ปลายทางมันก็คือการผูกขาดอำนาจทั้งนั้น”

“ถ้าเรายอมรับว่า 8 ปี ให้นับแค่ตอนมีรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น ก่อนหน้านั้นไม่นับ ก็เท่ากับเรายอมรับว่าต่อให้ก่อนหน้านั้น พล.อ.ประยุทธ์ครองอำนาจมาเป็น 10 ปี ก็ไม่ต้องนับด้วยเช่นกัน ถามใจตัวเองเถอะครับว่า นี่ยังเป็นการป้องกันการผูกขาดอำนาจที่ชอบอ้างกันอยู่หรือไม่”

รังสิมันต์ โรม กล่าว



สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของพรรคก้าวไกลนี้ ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ปี พ.ศ. 2565
ผลิตโดย บริษัท สเปกเตอร์ ซี จำกัด จำนวนที่ผลิต 1 ชิ้น งบประมาณ 3,000 บาท ผลิตวันที่ 17 สิงหาคม 2565

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า