free geoip

“ปัญหาช้างป่า” โศกนาฏกรรมที่รัฐบาลเมินเฉย


ปัญหาช้างอาจดูไกลตัวกับหลายคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง แต่สำหรับเกษตรกรในจังหวัดติดแนวป่าโดยเฉพาะภาคตะวันออก นี่คือปัญหาที่ส่งผลถึงความปลอดภัยในชีวิต ล่าสุด วันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดนช้างป่าทำร้ายเสียชีวิตที่บ้านพญากำพุช ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

นั่นทำให้ ‘ส.ส.เล็ก’ ญาณธิชา บัวเผื่อน ส.ส.จันทบุรี จากพรรคก้าวไกลได้เรียกร้องให้มีการเข้ามาแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

1.- ปัญหาช้างป่าถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะหลายคนไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงในขณะ ประชาชนในพื้นที่สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

“คนในพื้นที่รู้สึกหวาดระแวงทุกวัน การออกไปทำสวนไร่ของตนเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัย เกษตรกรออกไปกรีดยางก็รู้สึกกังวล ไม่แน่ใจว่าจะถูกช้างป่าเหยียบตอนไหน หรือกังวลว่าช้างจะอยู่ตรงไหน จะมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจจะเดินออกจากบ้านแล้วเจอช้างพุ่งเข้ามาเลย”


2- สถิติกรณีช้างป่าสร้างความเสียหายกับพี่น้องประชาชนบริเวณกลุ่มป่าตะวันออกระหว่างปี 2560 ถึง 2563 พบว่า

  • มีช้างป่าออกหากินนอกเขตป่าอนุรักษ์มีจำนวนกว่า 8,997 ครั้ง
  • ช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตรของพี่น้องประชาชนกว่า 1,364 ครั้ง
  • สร้างความเดือดร้อนและทำร้ายร่างกายพี่น้องประชาชนจนบาดเจ็บจำนวน 71 ครั้ง
  • ทำร้ายร่างกายจนทำให้พี่น้องประชาชนถึงแก่ชีวิตจำนวน 39 ครั้ง

“จากข้อมูล เราเห็นเลยว่าคนตายเพราะปัญหาช้างป่าเกือบเดือนละ 1 คน”


3.- ปัญหาใหญ่ที่สุดของเรื่องนี้คือการที่ภาครัฐไม่มองเห็นถึงความสำคัญและเร่งด่วน สะท้อนผ่านการจัดสรรงบประมาณ งบที่กรมอุทยานได้ทั้งปี 2566 มีเพียง 148 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการแก้ไขช้างป่าทั้งประเทศได้


4.- การแก้ปัญหาเรื่องนี้สภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการมาศึกษาและส่งข้อเสนอแนะให้รัฐบาล ซึ่งมีหลายเรื่องที่จะแก้ปัญหาช้างอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น

  • แบ่งโซนทำให้ช้างป่าและคนอยู่ร่วมกัน โดยทำให้ทำ “คูกันช้าง” เพื่อแบ่งโซน
  • เพิ่มเงินเยียวยาพืชผลทางการเกษตร
  • ทำ “ประกันอันตรายจากช้าง” ให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงในวงเงินคุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท
  • เพิ่มเงินและค่าตอบแทนให้กับอาสาสมัครผลักดันช้างกลับพื้นที่ป่า


5.- เมื่อพิจารณาดูเฉพาะส่วนหลักเกณฑ์การเยียวยาพืชผลทางการเกษตร ปัจจุบันได้ในสัดส่วนที่น้อยมาก เพียง 1,690 บาท/ไร่ ซึ่งต้องเสียหายโดยสิ้นเชิงทั้ง 1 ไร่ ถึงจะได้เงินเยียวยา เช่น ทุเรียน ลำไย 25 ต้น ต่อ 1 ไร่ และต้องสูญเสียทั้งหมด 25 ต้น จึงจะได้รับเงิน 1,690 บาท

เราจึงเสนอให้ปรับหลักเกณฑ์การเยียวยาใหม่ในหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยากรณีความเสียหายจากการถูกเวนคืนเป็นพื้นที่ชลประทานหรือการเวนคืนอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอัตราเงินชดเชยจะคิดเป็นต้น เช่น

  • ทุเรียน 8,000 บาท/ต้น
  • ลองกอง 5,000 บาท/ต้น
  • ขนุน 3,000 บาท /ต้น
  • กล้วย 150 บาท/ต้น



6.- “ย้ำอีกครั้งว่าปัญหาช้างป่ากระทบกับชีวิตของคนจริงๆ จึงอยากเรียกร้องให้ทางภาครัฐ หรือระดับรัฐมนตรีมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และมีความตั้งใจในการแก้ไขเรื่องนี้ ซึ่งจะช่วยปกป้องพี่น้องประชาชนอีกจำนวนมากของประเทศ”

นี่คือสิ่งที่พรรคก้าวไกลต่อสู้ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้คนไทยใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและได้รับการชดเชยที่เป็นธรรม


🍊 ต้องก้าวไกล ให้ไทยก้าวหน้า 🍊


สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของพรรคก้าวไกลนี้ ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ปี พ.ศ. 2565
ผลิตโดย บริษัท สเปกเตอร์ ซี จำกัด จำนวนที่ผลิต 1 ชิ้น งบประมาณ 3,000 บาท ผลิตวันที่ 20 กันยายน 2565

Login

พรรคก้าวไกล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า