free geoip

ก้าวไกลผลักดัน Open Data รัฐต้องโปร่งใส ข้อมูลต้องเปิดเผย


รัฐต้องโปร่งใส ข้อมูลต้องเปิดเผย – แชร์มาหน่อย! ข้อมูลอะไรที่คุณอยากรู้-อยากได้ แต่รัฐไม่เปิดให้เข้าถึง

เคยรู้สึกหงุดหงิดไหม เวลาที่คุณต้องการข้อมูลบางอย่างของภาครัฐ แต่เปิดหาจากกี่เว็บไซต์ก็ไม่เจอ พอไปถามหน่วยงาน ก็ได้คำตอบกลับมาว่าเป็น “ข้อมูลลับ” “ต้องทำเรื่องขอเข้ามา” หรือโดนถามกลับว่า “จะเอาไปทำอะไร”?

หลายคนเจอสถานการณ์นี้จนรู้สึกเหนื่อยหน่าย แม้ว่าประเทศไทยมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ที่กำหนดสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ แต่ในทางปฏิบัติ ข้อมูลรัฐหลายส่วนยังไม่ถูกเปิดเผย มีขั้นตอนการขอที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือบางครั้งก็ถูกฝ่ายรัฐงัดบางเหตุผลมาเป็นข้อยกเว้น ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึง

เนื่องจากวันนี้ (28 กันยายน) เป็น “วันสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูล” (International Day for Universal Access to Information) ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการโดยยูเนสโกตั้งแต่ปี 2015 (พ.ศ.2558) พรรคก้าวไกลขอตอกย้ำจุดยืนว่า เราให้ความสำคัญกับการ “เปิดเผยข้อมูลรัฐ” (Open Data)” เพราะเป็นมาตรการสำคัญในการลดการทุจริตคอร์รัปชันและการสร้างรัฐที่โปร่งใส ผ่านการติดอาวุธประชาชนในการมีส่วนร่วมตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ และทำให้การกระทำการทุจริตใดๆ มีร่องรอยหลักฐานที่ถูกเปิดโปงได้

โดยหลักการ หน่วยงานรัฐควรต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเป็น “เจ้าของ” ข้อมูลรัฐ และยึดหลัก “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” กล่าวคือข้อมูลและข่าวสารทั้งหมดของภาครัฐ ควรถูกเปิดเผยทั้งหมด ยกเว้นข้อมูลใดที่รัฐมีเหตุผลจะไม่เปิดเผย เพื่อให้ภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับเจ้าหน้าที่ที่ต้องให้เหตุผลกับประชาชนว่าทำไมถึงไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลบางส่วน ไม่ใช่ให้ภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับประชาชนที่ต้องให้เหตุผลกับเจ้าหน้าที่ ว่าทำไมถึงอยากเข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วน

นอกจากเปิดข้อมูลแล้ว ข้อมูลที่เปิดเผยต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 3 คุณสมบัติ ได้แก่ “ละเอียด” (ไม่ใช่เปิดแต่ตัวเลขรวม หรือแบ่งเป็นหมวดหมู่กว้างๆ หรือหมวดหมู่ที่ไม่บ่งบอกสาระสำคัญ เช่น หมวดหมู่ ‘อื่นๆ’), “ละเอียดอ่อน” (ไม่ใช่จงใจปิดบังตัวเลขที่ละเอียดอ่อน หรือนำข้ออ้างเรื่อง ‘ความมั่นคง’ มาใช้อย่างพร่ำเพรื่อหรือไม่สมเหตุสมผล) และ “ใช้ต่อง่าย” (ไม่ใช่ข้อมูลในรูปแบบ PDF ที่นำไปวิเคราะห์ต่อยาก หรือข้อมูลที่เครื่องอ่านไม่ได้ (not machine-readable))

ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกล ได้พยายามผลักดันเรื่องนี้อย่างสุดความสามารถภายใต้ข้อจำกัดของการเป็นฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะเป็น

(1) การยื่นร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ โดย ส.ส.วรภพ วิริยะโรจน์ (ปัจจุบันอยู่ในวาระพิจารณาของสภาฯ) ที่มีสาระสำคัญว่า
🔘 กำหนดให้ฐานข้อมูลของรัฐ (เช่น เอกสารที่ใช้ในการประชุมของคณะกรรมการตามกฎหมาย หรือ คณะรัฐมนตรี) จัดว่าเป็น “ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ” ที่ต้องเปิดเผยโดยไม่ต้องร้องขอทั้งหมด (Open by Default)
🔘 เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั้งหมด (เช่น ราคาที่นำเสนอ ผู้เสนอ) แบบ real-time เพื่อให้ระบบสามารถตรวจสอบและแจ้งเตือนความเสี่ยงทันที ซึ่งจะช่วยให้สามารถป้องกันการทุจริตได้ก่อนจะมีการตกลงสัญญากันไปเรียบร้อยแล้ว
🔘 หากมีความกังวลว่าเปิดเผยแล้วจะสร้างความเสียหายต่อสาธารณะ หน่วยงานต้องมีมติให้จัดเป็น “ข้อมูลความลับราชการ” พร้อมให้เหตุผลอย่างชัดเจนและกำหนดระยะเวลาที่ข้อมูลจะต้องเป็นความลับ โดยท้ายที่สุดข้อมูลจะถูกเปิดเผยเป็นข้อมูลสาธารณะทั้งหมดในภายหลัง เมื่ออายุความของการเป็นข้อมูลความลับราชการสิ้นสุดลง (กล่าวคือ ไม่มีข้อมูลใดที่ลับตลอดกาล)

(2) เปิดข้อมูลภาครัฐ ในรูปแบบที่วิเคราะห์ต่อได้ (machine-readable format) เช่น
🔘 งบประมาณปี 66 ทั้งในรูปแบบ Excel/Spreadsheet (https://bit.ly/3wO9svH) และในการสร้าง platform นำเสนอข้อมูลในลักษณะที่ช่วยให้ประชาชนเข้าใจง่ายขึ้น (https://wevis.info/thbudget66#/) ผ่านความร่วมมือของ ส.ส.ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ, ทีมดิจิทัลของพรรค และ ภาคประชาสังคม Wevis
🔘 งบประมาณรายรับ-รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 7,852 แห่ง (https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/posts/pfbid02LoUVQytbHhe5fvRPd7K7qBg9RGAUrUCfNJXXCL7hMt84tE6vUefAbBpXcqG27sKdl)
🔘 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กทม. เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งรายชื่อผู้สมัครผู้ว่า กทม. และ ส.ก. (https://www.facebook.com/natthaphong.ruengpanyawut/posts/pfbid0AbSuGJjQC4eWCa7fKHqzPuVsoYqtmX7FsvW8hisGCLqnwPrmD5YBmNWPtcFuDcSkl) และหน่วยเลือกตั้งทั่ว กทม. (https://www.facebook.com/natthaphong.ruengpanyawut/posts/pfbid0hKY8VrWiX3LJ5Dbz6L8JrfYTUC9nnWAGbJFKvEjyWbSRWvhRTKgdYPXgoFJHoiyl)

(3) การถ่ายทอดสด (Live) การประชุมกรรมาธิการที่ ส.ส. พรรคก้าวไกลเป็นประธาน เช่น
🔘 คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่มี ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นประธาน เมื่อครั้งยังมีพรรคอนาคตใหม่ (https://www.facebook.com/100069150011606/videos/446664802896550)
🔘 คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มี ส.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล เป็นประธาน (https://www.facebook.com/100069188230334/videos/742589349698948)
🔘 คณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่มี ส.ส.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ เป็นประธาน (https://www.facebook.com/nuttapongprem/videos/996323894619433/)

พรรคก้าวไกลเชื่อว่า การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ เป็นหนทางที่สำคัญในการยุติการใช้อำนาจรัฐในทางมิชอบและการแก้ปัญหาทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัญหาที่บ่อนเซาะความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อภาครัฐและสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยมายาวนาน

แต่วันนี้ นอกจากยืนยันว่าเราพร้อมผลักดันวาระนี้อย่างเข้มข้นต่อไปเพื่อสิทธิของประชาชน พรรคก้าวไกลอยากฟังเสียงและขอความเห็นจากประชาชนด้วยว่า ที่ผ่านมามีข้อมูลเรื่องไหนบ้างที่คุณอยากรู้-อยากได้ แต่รัฐยังไม่เปิดให้เข้าถึง

ทิ้งคำตอบใน comment ใต้โพสต์นี้ได้เลย
เราจะรออ่านทุกคำตอบของคุณ


สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของพรรคก้าวไกลนี้ ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ปี พ.ศ. 2565
ผลิตโดย บริษัท สเปกเตอร์ ซี จำกัด จำนวนที่ผลิต 1 ชิ้น งบประมาณ 3,000 บาท ผลิตวันที่ 28 กันยายน 2565

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า