free geoip

หายนะประมงไทย ผลพวงจากรัฐประหาร


การประมงไทย เคยสร้างรายได้ให้กับประเทศอยู่ที่ราว 2 – 4 แสนล้านบาทต่อปี หากเปรียบเทียบเรือประมงเป็นกองทัพก็คือ กองทัพเรือประมงที่มีขนาดใหญ่ติด 1 ใน 10 ของโลก ประเทศไทยเคยมีเรือประมงหลายพันลำที่สามารถออกไปจับปลาในน่านน้ำต่างประเทศได้ แต่ตอนนี้เหลือเพียงไม่ถึง 10 ลำ ภายในระยะ 7 ปี หลังจากคณะรัฐประหาร หรือ ‘รัฐบาล คสช.’ ออก พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 และกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องหลายฉบับ ผลที่ตามมาคือ ‘การล่มสลาย’ ที่รุนแรงที่สุดของประวัติศาสตร์การประมงไทย

ด้วยเหตุนี้ ทันทีที่กลับเข้าสู่ระบบรัฐสภาแบบปกติ ทุกพรรคการเมืองต่างเห็นพ้องต้องกันถึงผลกระทบอันเลวร้ายจากการกระทำย่ำยีของคณะรัฐประหาร จึงมีการยื่นญัตติข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาเข้าสู่สภานับสิบฉบับ และเป็นที่มาที่ทำให้ คณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาและข้อเสนอ ล่าสุด ‘รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่องการศึกษาและแก้ไขปัญหาประมงไทย’ ได้เข้าสู่การพิจารณารับทราบ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

รายงานฉบับดังกล่าว ได้สะท้อนอย่างชัดเจนว่า ปัญหาประมงไทยที่เกิดขึ้น ต้นตอสำคัญมาจากภาครัฐอย่างชัดเจน สืบเนื่องมาจากการที่ สหภาพยุโรป หรือ EU ให้ ‘ใบเหลือง’ ประเทศไทย เพราะไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลการทำประมงผิดกฎหมายตามกรอบ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ในวันที่ 21 เมษายน 2558 โดยรัฐบาลในเวลานั้นดำเนินการอย่างเร่งรีบ บังคับใช้กฎหมายโดยไม่มีมาตรการรองรับ และขาดการมีส่วนร่วม ผลกระทบจึงตกกับชาวประมงอย่างรุนแรง ข้อเสนอในรายงานจึงชัดเจนและมุ่งไปที่ภาครัฐโดยตรงว่าจะต้องทำหรือแก้ไขอะไรบ้าง ทั้งที่เร่งด่วนและในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณารับทราบรายงาน จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส. จากลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หนึ่งในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายและระเบียบประมงของรัฐ ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมที่น่าสนใจในหลายประเด็น โดยเขาระบุว่า สิ่งที่ต้องเริ่มเป็นอันดับแรกคือ เปลี่ยน ‘วิธีคิด‘ที่ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดต่ออาชีพประมง รวมถึงต้องนำเสนอความจริงในรายงานฉบับนี้ด้วย


สร้างภาพ ‘ประมงล้างผลาญ’ แท้จริงคือหน่วยงานรัฐไม่มีประสิทธิภาพ

IUU : Illegal, Unreported and Unregulated Fishing คือ การตรวจสอบการทำประมงมาตรฐาน EU จากการดูว่า ทำผิดกฎหมายหรือไม่ มีระบบรายงานหรือไม่ และมีการควบคุมหรือไม่ ซึ่งความจริงแล้วเรื่องนี้คือการเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐ อย่าง ‘กรมประมง’ ที่ใช้กฎหมายเดิมมาตั้งแต่ 2490 ซึ่งเก่ามากและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่เคยจดบันทึกการทำประมง จึงไม่มีระบบรายงาน และไม่เคยมีการควบคุมเรือมาก่อนเลย ส่งผลให้หน่วยงานรัฐขาดประสิทธิภาพ ไม่มีองค์ความรู้ ไม่มีการบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นมาแต่แรก แต่เมื่อมีปัญหากลายเป็นการออกกฎระเบียบมากมายมาให้ชาวประมงรับผิดชอบ โดยไม่มีมาตรการรองรับใดๆ

“หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาจัดการโดย คสช. ก็ตั้งชื่อว่า ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาทำประมงผิดกฎหมาย คือบอกว่ามีคนทำประมงผิดกฎหมาย ทั้งที่ยังไม่มีกฎหมายในตอนนั้น ไม่มีแม้แต่การกำหนดโทษ แต่บอกไปแล้วว่าทำสิ่งเหล่านี้ผิดกฎหมาย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์อำนวยการรักษาประโยชน์แห่งชาติทางทะเล หมายความว่า หน่วยงานนี้ตั้งมาเพื่อรักษาประโยชน์ของชาติที่ถูกชาวประมงทำลาย นี่คือวิธีคิดที่สะท้อนจากชื่อ ตามมาด้วย สื่อของรัฐที่สื่อสารด้วยข้อมูลชุดเดียวว่า ได้ใบเหลืองจาก EU เพราะชาวประมงไม่มีสำนึก ละเมิดกฎหมาย ล้างผลาญทรัพยากรของชาติทางทะเล จึงออกกฎหมายควบคุมตามมาแล้วก็จับ จากนั้นก็ประกาศชัยชนะอย่างภูมิใจว่าจัดการปัญหานี้ได้ใน 3 ปี”


จัดการมักง่ายแบบทหาร

การเป็นรัฐบาลที่มาจากการ ‘รัฐประหาร’ จึงขาดการยอมรับในนานาอารยประเทศ เมื่อโดนใบเหลืองจึงทำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดด้วยวิธีคิดแบบทหาร หวังให้ผลงานได้รับการยอมรับ ดังนั้น หลังจากได้ใบเหลืองเพียง 7 วัน ก็ออกกฎหมายแก้ พ.ร.บ.ประมง ตามมาด้วย พ.ร.ก.การประมง 2558 ครั้งแรกแต่ใช้ไม่ได้จึงออกฉบับใหม่ ต่อเนื่องด้วยกฎหมายระเบียบยิบย่อยอีกกว่า 100 ฉบับ มั่วซั่วจนชาวประมงแทบไม่สามารถทำอะไรได้ในท้องทะเลของเขาได้อีกเลย เพราะกลัวว่าจะผิดกฎหมาย เมื่อไม่มีการประมงเกิดขึ้นก็ไม่มีการทำผิด IUU แน่นอน การประกาศชัยชนะจึงเกิดขึ้นได้ใน 3 ปี

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า