
ลดค่าครองชีพด้วยค่าเดินทางที่ทุกคนจ่ายไหว
“
ถ้า กทม. คิดจะเอากำไรจากขนส่งสาธารณะ
“
คนลำบากคือประชาชน
การที่ กทม. ตั้งเป้ากำไรในบริการขนส่งสาธารณะทำให้ทั้ง ขสมก. และบริษัทเดินรถของเอกชนไม่สารถคิดค่าโดยสารราคาถูกได้ รวมถึงทำให้ทุกฝ่ายตัดสินใจไม่พัฒนาคุณภาพรถหรือเพิ่มรอบรถเนื่องจากกังวลว่าจะทำให้ตนเองขาดทุน เราจะทำการเปลี่ยนมุมมองของรัฐต่อการบริการขนส้งสาธารณะเสียใหม่ในระยะแรกรัฐจะต้องยอมขาดทุนเพื่อดึงดูดให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว ไม่ว่าจะด้วยการอุดหนุนค่าโดยสารให้ถูกลงอย่างมาก หรือการพัฒนาคุณภาพรถและบริการให้ดีขึ้นแล้วประชาชนจะเริ่มเปลี่ยนจากการใช้รถส่วนตัวมาเป็นรถโดยสารสาธารณะซึ่งจะทำให้ถนนโล่งขึ้น รถโดยสารสาธารณะสามารถเดินทางได้ตรงตามเวลาเพราะการจราจรไม่หนาแน่นจนเกินไปอันเป็นหัวใจหลักของบริการขนส่งสาธารณะที่ดี ในส่วนของรถไฟฟ้านั้นเป้าหมายสำคัญที่สุดคือการทำให้เกิดตั๋วร่วมและค่าโดยสารร่วม เพราะจะทำให้ประชาชนไม่ต้องจ่ายค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารถูกลงโดยเริ่มต้นจากการเปิดรายละเอียดที่อยู่ในสัญญาทั้งหมดเสียก่อน เพื่อที่ข้อเสนอต่างๆ จะอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มากไปกว่านั้นการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับค่าโดยสารของรถไฟฟ้าทุกสายผู้ว่า กทม. พร้อมด้วยเครือข่ายประชาชนจะต้องสามารถขอเข้าประชุมได้ด้วย
ตั้งเป้าสนับสนุนการให้บริการขนส่งสาธารณะ เพื่อลดค่าครองชีพของคนกรุงเทพในรูปแบบการเดินทาง
รถเมล์
- “ตั๋วตนเมือง”
- ลดค่าครองชีพและส่งเสริมการขึ้นรถเมล์ ด้วยการอุดหนุนงบประมาณ ให้ประชาชนซื้อตั๋วรถเมล์ ในราคา 70 บาทแต่ใช้โดยสารได้ถึง 100 บาท
- กทม. เดินรถเอง
- ในเส้นทางที่ยังไม่มีใครเดินรถ กทม. จะดำเนินการเดินรถเอง
- ปรับปรุงป้ายรถเมล์ทุกป้าย
- ให้มีไฟส่องสว่าง ข้อมูลสายเดินรถกล้องวงจรปิด และปุ่มขอความช่วยเหลือ (SOS)
- แก้ไขปัญหาจุดเชื่อมต่อรถเมล์-รถไฟฟ้า-เรือ
- ก่อสร้างอาคารเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร เพื่อให้ประชาชนสามารถเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้โดยหัวไม่เปียก
เรือโดยสาร
เจรจาร่วมทุนเอกชน
จากเดิมที่เอกชนได้รับสัมปทานแต่
เพียงผู้เดียว เป็นการลงทุนร่วมกัน
ระหว่างเอกชนและ กทม. เพื่อให้
กทม. สามารถอุดหนุน-ลงทุน
ปรับปรุงเรือโดยสารที่ใหม่ สะดวก
และปลอดภัยสำหรับประชาชนได้
รถไฟฟ้า
เราจะผลักดันให้เกิด “ตั๋วร่วม” และ “ค่าโดยสารร่วม”
- ตั๋วร่วม
- บัตรใบเดียว ขึ้นรถไฟฟ้าได้ทุกสาย (และสามารถพัฒนาให้เชื่อมโยงกับรถเมล์-เรือโดยสารได้ในอนาคต)
- ค่าโดยสารร่วม
- เลิกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ลดค่าโดยสารให้เหลือ 15-45 บาทต่อเที่ยว