หยุดระบบอุปถัมภ์ด้วยงบที่คนกรุงเทพเลือกเองได้
“
ผู้ที่กุมเงิน ผู้ที่กุมทรัพยากร คือผู้กุมอำนาจที่แท้จริง
“
ถึงเวลาคืนอำนาจให้ประชาขนคนกรุงเทพ
ตลอดเวลาที่ผ่านมาอำนาจไม่ได้อยู่ที่ประชาชน แต่อยู่กับกน่วยงานราชการที่เต็มไปด้วยระบบอุปถัมภ์หากคนในชุมชนมีปัญหา พวกเขาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเองได้ เนื่องจากไม่มีงบจำเป็นต้องไปกราบกรานร้องขอจากหน่วยงานราชการ ซึ่งได้บ้างไม่ได้บ้างสุดแท้แต่เส้นสายและบุญกรรมที่คนในชุมชนนั้นสร้างร่วมกันมา ชุมชนใหนมีเส้นสายที่ดี ก็จะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนที่ไม่มีเส้นสายก็ต้องทนอยู่กับปัญหาไปเรือยๆ ส่งผลให้ทุกคนในชุมชนต้องพยายามวิ่งเข้าหาผู้มีอำนาจหรือหน่วยงานราชการที่กุมงบประมาณ เพื่อส้รางเส้นสายความสัมพันธ์ จนกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้มากไปกว่านั้นงบประมาณที่กระจายให้สำนักงบกลางผู้ว่าและสำนักงานเขต ส่วนมากงบพวกนี้คืองบที่ผู้รับเหมาวิ่งเต้นขอให้รัฐทำโครงการต่างๆ โดยส่วยมากรัฐก็จะทำโครงการเดิมวนไปวนมา จั้งแต่ขุดถนนปูถนนแล้วก็ขุดถนนปูถนนในที่เดิมซ้ำๆ ส่วนโครงการที่ประชาชนต้องการจริงๆถ้าเสียงดังไม่พอหรือไม่มีเส้นสายก็จะถูกปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าไม่มีงบประมาณ นโยบายงบที่คนกรุงเทพเลือกได้คือการเริ่มปักธงคืนอำนาจให้กับประชาชน โดยประชาชนในพื้นที่จะเป็นผู้ทรงอำนาจสูดสุดที่จะร่วมกันตัดสินใจว่า จะนำงบประมาณก้อนนี้ไปใช้ทำโครงการอะไร เมื่อตัดสินใจได้แล้วก็เพียงไปแจ้งให้หน่วยงานราชการทำตามมติของชุมชน โดยหน่วยงานราชการไม่มีสิทธิปฏิเสธเหมือนเช่นที่ผ่านมา
นำงบประมาณของ กทม. ประมาณ 5% (4,000 ล้านบาท) ให้ประชาชนและชุมชนตัดสินใจว่าจะใช้อย่างไร โดยจัดสรรงบประมาณแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.งบปนะมาณ”ชุมชน”
- ชุมชนละ 500,000-1,000,000 บาทต่อปี
- ตามขนาดของชุมชน
- เลือกตามโครงการด้วยเสียงของประชาชน
- ให้คนในชุมชนเป็นคนตัดสินใจ “เลือก” ว่าจะนำงบประมาณก้อนนี้ไปจัดสรรพัฒนาอะไร
2.งบปนะมาณ”เขต”
- เฉลี่ย 50 ล้านบาทต่อปี
- ตามขนาดของเขตและจำนวนประชากร
- เลือกตามโครงการด้วยเสียงของประชาชน
- จัดการลงคะแนนโดยประชาชนในเขต เพื่อเลือกโครงการที่ประชาชนเห็นด้วยและอยากให้เกิดขึ้นมาที่สุด โครงการที่ได้รับคะแนนสูงสุด จะถูกนำไปบรรจุในงบประมาณปีถัดไป
3.งบปนะมาณ”กรุงเทพ”
- จัดสรรงบ 200 ล้านบาทต่อปี
- สำหรับคนกรุงเทพทุกคน โหวตโครงการที่คนกรุงเทพอยากเห็นร่วมกัน เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง