free geoip

ศูนย์ต้านข่าวปลอม หรือ ศูนย์แพร่ข่าวปลอม?



ในการพิจารณาในมาตรา 16 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานในกำกับ ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล อภิปรายเสนอ ขอตัดงบ 95 ล้านบาทของ ศูนย์ต้านข่าวปลอม หรือ ศูนย์ต้านเฟคนิวส์ (Anti-fake news center) ประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากเป็นองค์กรที่ ไร้ประสิทธิภาพ ไร้มาตรฐาน ไร้ความโปร่งใส กระทำการเหมือนสถาปนาตัวเองเป็นกระทรวงความจริงไม่ต่างจากนวนิยาย 1984 เลยทีเดียว

วันนี้ พรรคก้าวไกลได้นำข้อมูลจากการอภิปรายของปกรณ์วุฒิมานำเสนอให้ทุกท่านได้รับทราบความอัปยศของกระทรวง DE ที่ปล่อยให้มีการตั้งศูนย์ต้านเฟคนิวส์แต่กลายเป็นศูนย์เฟคนิวส์เสียเอง เชิญชมกันในภาพที่ตามมาต่อไปนี้ได้เลย

ดาวน์โหลดสไลด์การนำเสนอได้ที่ https://drive.google.com/file/d/194WWBjrgTpcUUaUjG1B4qdd12HiDHlX1/view?usp=sharing






หน่วยงานที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ต้องมีหลักการและมาตรฐานหลายอย่างที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น IFCN หรือ International Fact-Checking Network ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติ ที่มีสมาชิกกว่า 20 ประเทศเข้าร่วม  มีหลักการ 5 ประการสำคัญ คือ ต้องมีความเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง มีความเป็นอิสระ ,ที่มาข้อมูลต้องโปร่งใส , ที่มาของแหล่งทุนโปร่งใส ,ระเบียบวิธีโปร่งใสทั้งการคัดเลือกข่าวที่จะตรวจสอบและขั้นตอนการตรวจสอบ และสุดท้ายคือเปิดกว้างต่อการแก้ไขเมื่อมีความผิดพลาด 





ซึ่งศูนย์ซึ่งมีการระบุหลักเกณฑ์ไว้บนเว็บไซต์ตัวเองชัดเจน






…แต่กลับไม่สามารถรักษามาตรฐานและหลักการเหล่านี้ได้ เช่น มีการให้ความรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์เฟคนิวส์ อาทิ วิธีลดพุง แนะนำการขับขี่ระหว่างฝนตก หรือแม้แต่การแยกขยะ เหล่านี้คือภารกิจกระทรวงอื่นๆ ทั้งสิ้น (???)






การแจ้งข่าวการขยายระยะเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การแจ้งข่าวสารนโยบายของรัฐ ดังนั้น ตกลงแล้วจะเป็นศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหรือจะเป็นกรมประชาสัมพันธ์แน่ ต้องเลือกสักอย่าง ซึ่งเรื่องนี้มีการชี้แจงว่า เพราะได้รับการขอความร่วมมือมาจาก ศบค.





ศูนย์นี้ยังแยกไม่ออกระหว่าง Parody (การเสียดสี) กับข่าวปลอม เช่น ข่าวที่ว่าคณะสงฆ์เรียกร้องให้งดการตาย, ยาบ้ารักษาโควิด 19 ได้, การห้ามใช้อินเตอร์เน็ตว่าร้ายรัฐบาล ซึ่งทั้งสามข่าวที่ยกมาแค่อ่านก็รู้แล้วว่ามีเจตนาล้อเลียนเสียดสีไม่ใช่ข่าวปลอม แต่เรื่องเหล่านี้ก็ถูกนำมาตรวจสอบอย่างพร่ำเพรื่อง ทำให้ทั้งลดความน่าเชื่อถือและเปลืองทรัพยากรของตัวเอง






นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการทางกฎหมายกับข่าวลือโดยไม่จำเป็น ถือเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ และบางครั้งเร่งรีบเสนอข่าวผิดเอง เช่น กรณีกาฬโรคม้าที่ไปตีตราว่าเป็นข่าวปลอมแต่ในที่สุดเป็นข่าวจริง ซึ่งทางศูนย์ก็ยอมรับว่าเป็นความผิดพลาด





ส่วนข่าว อสม.ที่ได้ค่าตอบแทนไม่ครบ ที่ถูกตีตราว่าเป็นข่าวปลอม ภายหลังพบว่ามีการให้ไม่ครบจริง ต่อมาจึงมีการให้ค่าตอบแทนจนครบ แต่ก็ไม่ผิดชอบกับการกระทำของหน่วยงานตัวเอง กลับไปตีตราข่าวนี้ว่าเป็นข่าวบิดเบือน 


สุดท้ายต้องมีการออกหนังสือชี้แจงโดยไม่มีคำขอโทษใดๆ แล้วก็ลบโพสต์ของตัวเองไปอย่างเนียนๆโดยไม่รับผิดชอบ เหมือนต้องการปกป้องเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกันเอง




ซึ่งหากย้อนไปประเมินกันด้วยหลักการของ IFCN ถือว่า ศูนย์นี้สอบตกเกือบทุกข้อ

“การที่บอกว่าลงโพสต์ตามคำขอความร่วมมือของ ศบค. ผิดหลักการข้อแรก เรื่องความเป็นอิสระ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเป็นหน่วยงานราชการ รับเงินงบประมาณแผ่นดิน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีและฝ่ายบริหารซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง มีข้างทางการเมืองที่ชัดเจน ปรากฏหลายครั้งว่า ทางศูนย์ทำตัวเหมือนเป็นโฆษกรัฐบาล แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหาก ศบค. หรือ กอ.รมน.ขอความร่วมมือในด้านอื่นจะไม่ทำให้ ประชาชนจะมั่นใจเรื่องความเป็นกลาง ไม่เลือกข้างได้อย่างไร”




นอกจากนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมยังเผยแพร่ข่าวที่มีลักษณะ Mislead Heading  หรือมีความคาดเคลื่อนและมีข้อกังขาถึงวัตถุประสงค์ทางการเมือง เช่น การเผยแพร่ภาพและข้อความจากรายงานศึกษาว่า ‘รู้ไหม? วัยรุ่นแยกข่าวจริงข่าวเท็จได้น้อยที่สุด’ ซึ่งผลการศึกษาจากรายงานนี้มีตัวเลขที่คลาดเคลื่อนได้มาก จึงไม่อาจสรุปได้ว่าวัยรุ่นแยกข่าวจริงข่าวเท็จได้น้อยกว่าหรือมากกว่าผู้สูงอายุ แต่การพาดหัวแบบนี้เป็นการจงใจละเลยผลการศึกษาที่สำคัญของรายงานที่อ้างถึงว่า วัยรุ่นมีโอกาสส่งต่อข้อมูลเท็จน้อยกว่าผู้สูงอายุ การพาดหัวที่สร้างความเข้าใจผิดถือว่าเป็นการบิดเบือนรูปแบบหนึ่ง ต่อมา


ในที่สุดบางเพจก็นำไปเผยแพร่ด้วยเจตนาสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งนั่นก็ไปขัดกับหลักจริยธรรมและหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ได้ประกาศไว้เว็บของตัวเอง




ทั้งนี้ ปกรณ์วุฒิ ชี้ว่า ปัญหาทั้งหมดแก้ง่ายๆ ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกของ IFCN (https://www.ifcncodeofprinciples.poynter.org/register) เพื่อช่วยรับรองมาตรฐานการนำเสนอข้อมูล และเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำของเฟซบุ๊กในการเป็นแฟนเพจของหน่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งรัฐมนตรีเคยประกาศไว้ตั้งแต่ก่อนตั้งศูนย์เมื่อเดือน พ.ย.62 แต่ปัจจุบันยังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องนี้ เหมือนต้องการให้มาตรฐานกว้างแค่อำเภอใจ ไม่ได้กว้างไกลเท่ามาตรฐานสากล

“ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจึงสอบตกทั้งประสิทธิภาพ ความเป็นกลางและความโปร่งใส ใช้งบประมาณไปเพื่อประชาสัมพันธ์และปกป้องรัฐบาล สถาปนาตัวเองเป็นกระทรวงความจริง ตั้งตนเป็นตำรวจไซเบอร์ เอากฎหมายอาญาไปปราบปรามประชาชน ทั้งๆ ที่ตนเองยังไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน และไม่มีความน่าเชื่อถือ จึงขอสงวนความเห็นตัดงบประมาณนี้ทั้งจำนวนเป็นเงิน 95,228,600 ล้าน” ปกรณ์วุฒิ กล่าว



Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า