free geoip

ส่งออกผลไม้เดือดร้อนทั้งระบบ เพราะจีนปิดด่าน แต่พาณิชย์นิ่ง…


จีนปิดด่านกันโควิด เกษตรกรเดือดร้อน พาณิชย์กลับนิ่งเฉย

“ด่านเปิดได้ ตัวเลขส่งออกของไทยอันดับ 1”

เหล่านี้คือสิ่งที่จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลวงหลอกประชาชน ให้ข้อมูลที่ผิดกับข้อเท็จจริง 4 ด่านที่ด่านบอกว่าเปิดได้ ขณะที่เกษตรกรกำลังร้องไห้ที่การปิดด่านของจีนเพื่อป้องกันแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องและส่งผลกระทบอย่างมหาศาล แต่กระทรวงพาณิชย์กลับไม่พยายามหาแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

“อย่ามัวแต่ทำเพาเวอร์พอยต์ สวยหรูมันดูปลอม”

ญาณธิชา บัวเผื่อน ส.ส.จันทบุรี เขต 3 พรรคก้าวไกล ตอกใส่ จุรินทร์ ในการอภิปรายแบบไม่ลงมติมาตรา 152 ถึงประเด็นการบริหารราชการที่ล้มเหลวของรัฐบาล ต่อกรณีการค้าชายแดนไทย-จีน ที่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรชาวสวนผลไม้ จังหวัดจันทบุรี

ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมปี 2564 จีนมีมาตรการเข้มงวดตรวจสินค้านำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดโดยจะตรวจทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย ด้วยวิธี RT-PCR เนื่องจากจีนจะจัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวทำให้จีนใช้มาตรการ zero-covid หรือโควิดต้องเป็นศูนย์ เมื่อพบเชื้อโควิดก็จะสั่งปิดด่านทันที 7 -14 วัน แล้วแต่สถานการณ์ และไม่แจ้งล่วงหน้า

การปิดด่านของจีนส่งผลทำให้ลำไยนอกฤดูกาลของจันทบุรี ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงเก็บเกี่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากเดิมราคา 32 บาท ล้งมาเก็บก็กดราคาเหลือเพียงกิโลกรัมละ 12-15 บาท ช่วงที่แย่ที่สุดลงไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 บาท ซ้ำเติมเกษตรกรที่ลำบากมาตั้งแต่เกิดภัยแล้งเมื่อ 2 ปีก่อน ต่อเนื่องจนมาถึงเรื่องโควิด จนถึงจีนปิดด่าน

จากที่ญาณธิชาลงพื้นที่ในอำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ที่มีการแปรรูปลำไยเยอะที่สุด เธอเห็นแต่เตาเผาถ่านลำไย หมายความว่า การแปรรูปของชาวบ้านคือการโค่นต้นลำไย เผาถ่าน เพราะการทำสวนลำไย มันขาดทุนมันอยู่ไม่ได้ เพราะเมื่อล้งซื้อไปแล้ว แต่ส่งออกไม่ได้ก็ขาดทุน ค่าเรือก็โดนสูงขึ้น 5 เท่า จากเดิม 70,000 – 80,000 บาท เป็น 350,000 บาท เมื่อจีนปิดด่านกะทันหันก็ต้องรออยู่หน้าด่าน และเมื่อด่านเปิดก็ไม่ได้เปิดอย่างเต็มระบบ เป็นการเปิดเพียงทดลองระบบ ทำให้เวลาส่งออกผลไม้ไปต้องระยะเวลานาน 20-40 วัน จนบางครั้งลำไยเน่าเสีย ต้องเสียค่าทำลายกว่าแสนกว่าบาท ล้งขาดทุนเป็นสิบล้าน

“สุดท้ายลำไยของจันทบุรี พังพินาศย่อยยับ โดยที่รัฐบาลไม่ได้เหลียวแลเลย ไม่ได้มีแนวทางแก้ไขปัญหาอะไรเลย ปล่อยให้เกษตรกรชาวสวนลำไย ผู้ส่งออกทั้งประเทศเผชิญต่อชะตากรรมนี้เพียงลำพัง และในฤดูกาลเก็บทุเรียน ที่จะเริ่มในเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งการส่งออกในปีที่ผ่านมาของทุเรียน ในจันทบุรี ระยอง ตราด มีผลผลิตจำนวน 550,000 ตัน มูลค่าการส่งออก 109,000 ล้านบาท หากคิดเป็นตู้คอนเทนเนอร์จะอยู่ที่ 25,000 ตู้ และคาดว่าในปี 65 จะมีผลผลิตถึง 720,000 ตัน หากรวมปริมาณมังคุดด้วย จะประมาณ 1 ล้านตัน ส่วนใหญ่ส่งออกขายจีน 90% มูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่นี้หลายแสนล้านบาท”

หลังญาณธิชาตั้งกระทู้สด ถามนายกรัฐมนตรี และ จุรินทร์ มาเป็นผู้ตอบกระทู้ในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 จุรินทร์ตอบว่า ไทยยังส่งได้วันละ 150 ตู้ แต่คำว่าส่งได้วันละ 150 ตู้ มันรวมสินค้าจาก 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และเวียดนาม 3 ประเทศรวมกัน 150 ตู้

ผ่านมาร่วม 2 เดือนแล้ว และใกล้ถึงเดือนเมษายนที่จะอยู่ในช่วงผลผลิตทุเรียนและมังคุดออกมากที่สุดแล้ว คาดว่าช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมจะมีผลผลิตออกมา 650,000 ตัน หรือคิดง่ายคือจะมีการส่งออกไปจีนวันละ 1,000 ตู้คอนเทนเนอร์

“นั่นหมายความว่า เราจะส่งออกได้ไม่ถึงวันละ 10% และ 90% หรืออีกกว่า 900 ตู้ที่ส่งออกไม่ได้ หรือไปติดอยู่หน้าด่าน ท่านจะแก้ไขปัญหาอย่างไร มีแผนรองรับเรื่องนี้แล้วหรือยัง ท่านพยายามลงข่าวว่า ด่านทั้ง 4 ด่าน เปิดเป็นปกติแล้วไม่มีอะไรเป็นที่น่ากังวล ซึ่งเราส่งออกได้เป็นปกติแน่ แต่ดิฉันติดตามสถานการณ์ล่าสุดกับผู้ส่งออกเมื่อ 4 วันที่แล้ว พบว่าสถานการณ์จริงไม่ได้เป็นไปตามที่ท่านให้ข่าว ซึ่งท่านหลอกได้เฉพาะกับคนที่เขาไม่ได้มีข้อมูล แต่หลอกผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบและดิฉันไม่ได้”

ญาณธิชา กล่าว


จุรินทร์หลอกประชาชน ที่จริง 4 ด่านมีปัญหา ส่งผลกระทบการส่งออกผลไม้ไทยมหาศาล

ปัจจุบัน ด่านบ่อเต็นที่ลาวเปิดปกติก็จริง แต่หัวลากที่ลาวมีจำนวนน้อย ในขณะที่สินค้าจากไทยมีจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณหัวลากไม่เพียงพอ รถจากไทยต้องเข้าไปรอ 2-3 วัน และด่านโหย่ว อี้กวน ด่านนี้เป็นด่านใหญ่ แต่จำกัดรถเข้าไปเพียง 100-150 ตู้ สินค้าฝั่งขาออกกินเลนฝั่งขาเข้า ทำให้ขาเข้ากลายเป็นคอขวด และมีรถติดอยู่หน้าด่านหลายพันคัน ทางด้านด่านตงซิน ตอนนี้ปิดแล้ว ก็ต้องไปด่านโหย่วอี้กวนแทน และที่ด่านรถไฟผิงหยวน ค่าภาษีรถไฟ 40,000 หยวน คิดเป็นเงินไทย 200,000 บาท ซึ่งรถจากจันทบุรีไปที่ด่านรถไฟผิงหยวน 150,000 บาท รวมแล้ว 400,000 บาท เเพงกว่าตู้เรือ เกือบเท่าเครื่องบินแล้ว หากสินค้าไม่พรีเมียมจริงไม่สามารถไปด่านนี้ได้

“หากดิฉันได้เป็นรัฐมนตรีตนคงร้อนใจและนั่งอยู่เฉยแบบนี้ไม่ได้ คงจะบินไปเจรจากับรัฐบาลจีนแล้วถึงมาตรการในการควบคุมโควิด สร้างความเชื่อมั่นเราจัดการโควิดเป็นศูนย์ได้ขอให้จีนเปิดกรีนเวย์ให้เรา ให้เราส่งออกมังคุด ทุเรียน ลำไย ได้โดยสะดวกเหมือนเชอร์รีของชิลี ซึ่งเรื่องใหญ่ขนาดนี้กระทบต่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไม่เข้าใจว่า ท่านทำนิ่งเฉยได้อย่างไร ดิฉันในฐานะผู้แทนราษฎร ทำทุกวิถีทางเตือนท่านด้วยการตั้งกระทู้สดในรัฐสภา เพื่อสอบถามถึงมาตรการในการจัดการ นำเรื่องเข้าประชุมในกรรมาธิการต่างๆ ใช้ทุกช่องทางในการสะท้อนปัญหาเรื่องนี้แล้ว เหลืออย่างเดียวที่ไม่ได้ทำ คือ การเป็นรัฐมนตรีแทนท่าน และไปเจรจาแทนเท่านั้นเอง”

ญาณธิชา กล่าว

ญาณธิชา กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีแผนการดำเนินการที่จะเเก้ไขอย่างตรงจุดเป็นรูปธรรม ให้พี่น้องเกษตรกรได้อุ่นใจว่าทุเรียนและมังคุดของเขาจะสามารถส่งไปขายในจีนได้เลย ผู้ประกอบการบางไม่กล้าที่จะซื้อของ ซึ่งมาดู 18 มาตรการของท่านในบริหารการจัดการปัญหาด้านส่งออกผลไม้ แต่ไม่มีมาตรการเกี่ยวกับโควิด ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่จีนปิดด่าน

ใน 18 มาตรการ ในเรื่องของ GAP ที่พาณิชย์เร่งรัด และรับรองตรวจ GAP ตามมติ ครม. 11 พฤษภาคม 2553 เห็นชอบให้สำนักงานพัฒนาระบบข้าราชการ (กพร.) ให้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ การตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐานส่วนราชการต่างๆ ให้เอกชนทำแทน โดยเมื่อย้อนไปดูว่าอยู่ในรัฐบาลไหน ก็พบว่าอยู่ในรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์

พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศต้องใช้จ่ายค่าทำ GAP เอง คนที่มีที่ดินมากกว่า 20 ไร่ ต้องจ่ายค่า GAP เริ่มต้นที่ 12,500 บาท สูงสุดเกือบ 30,000 บาท เกษตรกรตัวเล็กตัวน้อยจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ต้นทุนเพิ่มขึ้น 1 เท่า ในขณะที่ราคาลดลง 4 เท่าตัว และที่สำคัญในเดือนตุลาคมปีนี้ ใบ GAP ของชาวสวนจังหวัดจันทบุรีจะหมดอายุ 80% หากเกษตรกรไม่มีเงินจ่าย ก็ส่งออกไม่ได้ กระทบไปถึงผู้ส่งออก แต่สุดท้ายภาระตกที่เกษตรกรอยู่ดี เมื่อ ญาณธิชา นำเรื่องนี้หารือในกรรมาธิการ ก็ต้องพบว่า ภาครัฐยังไม่มีระเบียบเรื่องของราคาที่ชัดเจน และต้องรับฟังความเห็นจากพี่น้องประชาชนอีก แล้ว จุรินทร์ จะรีบถ่ายโอนภารกิจไปเพื่ออะไร

“สิ่งที่ดิฉันอยากให้ท่านทำขอให้ผ่อนปรนการโอนภารกิจ GAP ออกไปก่อน ให้รัฐทำแทนเช่นเดิมเพื่อแบ่งเบาภาระเกษตรกร หากผ่อนปรนไม่ได้ขอให้ทบทวนทำราคา GAP ให้ลดลง เนื่องจากเกษตรกรสู้ไม่ไหว การนำเอาเงินหลักร้อยล้านทำ Gap ให้เกษตรกร แลกกับมูลค่าสินค้าภาคเกษตรเป็นเเสนล้าน มันคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ท่านโชว์แต่ตัวเลขการส่งออกอันดับ แต่ภายใต้คราบน้ำตาประชาชน เกษตรกรไทย และขอให้ท่านเลิกให้ข้อมูล ทำเพาเวอร์พอยต์สวยหรูมันดูปลอม สุดท้าย เกษตรกรชาวสวนจะต้องแช่ง ขอให้พระทำโทษอย่างหนักแน่นอน”

ญาณธิชา กล่าวทิ้งท้าย



Login

พรรคก้าวไกล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า