รับชมคลิปการอภิปราย https://youtu.be/V1AQ2bKWzFU
สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ร่วมอภิปรายในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยเป็นการอภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีมีส่วนทำให้เกิดปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพง
กระบวนการ 3 ป. กับปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพง
สุรเชษฐ์เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ แต่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ นั่นคือการหากินกับการสร้างรถไฟฟ้าและทิ้งปัญหาไว้มากมายให้กับประชาชน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพง และมีทีท่าว่าจะแพงขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ เพราะรัฐบาลนี้สร้างรถไฟฟ้าแบบไม่คิด เพราะมองแยกเป็นสาย ๆ แบ่งเค้กเป็นราย ๆ แบบไร้มาตรฐาน ผิดจากต่างประเทศ บางเแห่งที่เขาใช้ค่าโดยสารคงที่ในแต่ละโซน และบางแห่งก็ใช้ค่าโดยสารตามระยะทางแต่ไม่มีค่าแรกเข้าที่ซ้ำซ้อน ทั้งนี้ การก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสายในประเทศไทยใช้เงินลงทุนเยอะมาก แต่สุดท้ายเนื่องจากการวางแผนบริหารจัดการที่ล้มเหลวทำให้คนมาใช้น้อย ไม่คุ้มค่า สุดท้ายภาระจึงต้องตกมาอยู่ที่ประชาชน ส่วนคนอนุมัติและผู้รับสัมปทานรวยเอา ๆ
สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพงที่ประชาชนต้องแบบรับนี้ สามารถสรุปได้ด้วยกระบวนที่เรียกว่า 3 ป. คือ ป. ปั้นตัวเลข, ป. ปั่นโครงการ และ ป.ปันผลประโยชน์
ปั้นตัวเลข
เริ่มต้นที่ ป.แรก การปั้นตัวเลข เกิดจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์สั่งการอย่างมีธง โดยที่ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังและเป็นกลาง มีการปั้นตัวเลขให้ดูคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะได้สร้าง ปั้นตัวเลขให้ดูกำไรน้อยหรือขาดทุนเพื่อที่จะได้ใช้เงินรัฐไปช่วยอุดหนุนเอกชนให้มาก ๆ ผ่านกระบวนการ PPP ยิ่งถ้าเป็นในช่วงรัฐประหารที่ระบบตรวจสอบล้มเหลว คงไม่มีใครกล้าขวางธงจากนายกรัฐมนตรี
ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ทุกวันนี้ค่าตั๋วโดยสารยังไม่พอจ่ายแม้กระทั่งค่าบริหารจัดการ ซึ่งรัฐต้องอุ้มอยู่ปีละประมาณ 3 พันกว่าล้านบาท รัฐต้องอุดหนุนค่าเดินทางเฉลี่ย 147 บาท ต่อคนต่อเที่ยว ซึ่งมองอย่างไรก็จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มทุนทางการเงินและไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งตรงส่วนนี้พิสูจน์ได้
จึงสรุปได้ว่า มีการปั้นตัวเลขเสกมาว่าโครงการคุ้มค่าแต่ว่าความจริงแล้วไม่ แค่อยากหากินกับการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ใช่หรือไม่ ดังนั้น ท่านต้องเลิกสั่งไปเรื่อยได้แล้ว และต้องให้มีการศึกษาอย่างจริงจังและเป็นกลางก่อนที่จะให้อนุมัติโครงการ
ปั่นโครงการ
ป.ต่อมาคือ ปั่นโครงการ เป็นการดำเนินการอย่างเร่งรีบ อยากแต่จะสร้างเพื่อหวังหัวคิวใช่หรือไม่ และโครงการเหล่านี้ก็กระจุกตัวอยู่แค่ในกรุงเทพฯ ไม่ให้ความสำคัญกับหัวเมืองอื่น ทั้งที่ประเทศไทยไม่ได้มีแค่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ระบบขนส่งสาธารณะเองก็ไม่ได้มีแค่รถไฟฟ้าอย่างเดียว ยังมีแบบอื่น ๆ แต่ท่านไม่เลือก ซึ่งการรีบสร้างแบบเกินพอดีนี้ ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น ค่าโดยสารแพง รถติดมาก มลพิษมาก อีกทั้งจะเป็นการหาเรื่องขยายสัมปทานไปเรื่อย ๆ เนื่องจากรัฐไม่เหลือเงินไปอุดหนุน ต้องเอาเงินลูกหลานมาใช้ก่อน
ดังนั้น ข้อเสนอในการแก้เรื่องนี้คือการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะต้องมองอย่างเป็นระบบ เพราะลักษณะเฉพาะของแต่ละระบบมีผลโดยตรงต่อเงินอุดหนุนโครงการจากรัฐ รถไฟฟ้านั้นดีจริงแต่ใช้เงินเยอะและใหญ่เกินจำเป็นในหลายเส้นทาง ทำให้รัฐต้องอุดหนุนมาก ทั้งนี้ในกรณีของกรุงเทพฯ สิ่งที่ขาดมากคือรถเมล์ที่ดีและครอบคลุมอย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการอุดหนุนผู้มีรายได้น้อยโดยตรง
“ผมอยากบอก พล.อ.ประยุทธ์ว่า การสร้างรถไฟฟ้าเยอะ ๆ ไม่ได้แปลว่าท่านเก่ง เพราะท่านไม่ใช่เป็นคนลงมือสร้างแต่เป็นคนจัดสรรผลประโยชน์ การสั่งการไปเรื่อย อนุมัติโครงการใหญ่ ๆ เอื้อต่อการหักหัวคิวหรือไม่ นี่ยังไม่พูดถึงการลัดขั้นตอนโดยใช้ ม.44 ซึ่งชัดเจนมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งยังแต่งตั้งพวกพ้องมามุบมิบเจรจาอย่างไม่เปิดเผยข้อมูลด้วย โดยสรุปเรื่องการปั่นโครงการนี้ก็จะพบว่า เป็นการผลาญเงินอย่างมหาศาล โดยไม่คำนึงถึงจังหวัดอื่นและเรื่องอื่น ๆ ระบบอื่น ๆ เช่น รถเมล์ที่ควรจะเป็นเส้นเลือดฝอยส่งคนไปตามที่ต่าง ๆ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว”
สุรเชษฐ์กล่าว
ปันผลประโยชน์
สุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า ป.สุดท้ายคือ ปันผลประโยชน์ ซึ่งที่ชัดเจนก็คือเมกกะดีล รถไฟฟ้าสายสีเขียว และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่เกิดปัญหาฟ้องร้องกันจนทุกวันนี้
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว:
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม:
สรุปใจกลางปัญหา
กล่าวโดยสรุป นี่คือเป็นโครงการที่ คนอนุัติรวย นายทุนยิ้ม ขณะที่ประชาชนต้องเป็นผู้จ่ายทั้งภาษีและค่าโดยสารที่แพงมาก ๆ และเมื่อ ทั้ง 3 ป. มาเจอกัน นั่นคือ ป.การปั้นตัวเลข บวก ป. การปั่นโครงการ บวก ป.การปันผลประโยชน์ ผลลัพธ์ก็คือบ้านเมืองบรรลัย ด้วยเหตุนี้ ตนจึงไม่อาจไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งทำหน้าที่บริหารประเทศอีกต่อไป