free geoip

2 ปี เลือกตั้ง 24 มี.ค. จาก ‘อนาคตใหม่’ ถึง ‘ก้าวไกล’



24 มีนาคม ครบรอบ 2 ปีการเลือกตั้ง


ไม่ว่าพรรคไหนหรือนักการเมืองคนใดจะไม่เคยทำตามสัญญาหรือบอกว่าเราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นานก็ตาม แต่สำหรับ ‘พรรคก้าวไกล’ ที่สืบสานปณิธานมาจาก ‘พรรคอนาคตใหม่’ ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ พวกเราไม่เคยลืมสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนอย่างแน่นอน


และนี่ก็คือบางส่วนซึ่งเป็นไฮไลท์การทำงานทางการเมืองของพวกเราตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มีอะไรบ้างไปทบทวนกันเลย






รายชื่อแต่ละหัวข้อ

สามารถเลือกหัวข้อที่ต้องการได้เลย
(คลิกลิงก์แต่ละหัวข้อ)


(1) การปกป้องสิทธิเสรีภาพ
(2) ตรวจสอบรัฐบาล พิทักษ์ผลประโยชน์ประชาชน
(3) ปฏิรูปกองทัพ
(4) การแก้ไขสถานการณ์โควิด-19

(5) สร้างสวัสดิการประชาชน
(6) การผลักดันเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
(7) ปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการอำนาจนิยมสมบูรณาญาสิทธิ์








1

การปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน


เราได้รวบรวมผลงานและประสบการณ์การทำงานของพรรคก้าวไกลในมิติด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันร่างกฎหมายแก้ไข มาตรา 112, ป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ — การส่งเสริมสิทธิเชิงบวกของนักเรียนในโรงเรียน — หรือแม้แต่การใช้ตำแหน่ง ส.ส. ช่วยประกันตัวนักกิจกรรมผู้ใช้สิทธิเสรีภาพอันพึงมีตามรัฐธรรมนูญออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยไล่เผด็จการสืบทอดอำนาจแต่กลับถูกจับกุมอย่างไม่เป็นธรรม เชิญอ่านรายละเอียดในแต่ละภาพกันได้เลย









[ เสนอชุดแก้ไข กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน รวมถึงมาตรา 112 ]



10 ก.พ. 64 พรรคก้าวไกล ยื่นเสนอชุดร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย 5 ฉบับ เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน ต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเป้าประสงค์เพื่อแก้ไขกฎหมายบางมาตราที่ถูกนำมาใช้ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ตลอดจนเพื่อป้องกันการนำเอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกำจัด กวาดล้าง ทำลายประชาชนที่เห็นต่างทางการเมือง และป้องกันประชาชนจากการถูกกลั่นแกล้งโดยเจ้าพนักงานที่อาจบิดเบือนกฎหมายในระหว่างกระบวนการยุติธรรม ซึ่งชุดร่างกฎหมายทั้ง 5 ฉบับนี้ประกอบไปด้วย


(1) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท รวมถึง มาตรา 112


  • ให้ยกเลิกโทษจำคุกในกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป หรือกรณีดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หรือดูหมิ่นศาล คงเหลือไว้แต่เพียงโทษปรับ
  • คดีหมิ่นประมาทอันเกิดจากการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไม่ควรมีบทลงโทษรุนแรงถึงขั้นจำคุก การลงโทษควรเป็นการเรียกค่าปรับในทางแพ่งเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ถูกละเมิดที่อาจจะได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงเท่านั้น
  • สำหรับกรณีการหมิ่นประมาทที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์ ที่ผ่านมาถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกวาดล้าง ทำลายประชาชนที่เห็นต่าง จึงจำเป็นต้องเสนอให้มีการแก้ไขโดยลดบทลงโทษลงให้ได้สัดส่วน



(2) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์


  • ให้มีการแก้ไขข้อความรายมาตราให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อให้ถูกนำมาใช้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งป้องกันการกระทำความผิดในลักษณะของการหลอกลวง การโจรกรรมข้อมูล หรือการกระทำอื่นใดที่จะส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ มิใช่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเซ็นเซอร์ หรือจับกุมประชาชนที่เห็นต่างทางการเมือง



(3) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา
และ
(4) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความแพ่ง


  • เพิ่มบทนิยามลักษณะของ “คดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ” หรือคดีฟ้องปิดปากและกำหนดกลไกในกระบวนการยุติธรรมให้ประชาชนที่ถูกฟ้องร้องเพื่อปิดปาก สามารถร้องต่อพนักงานอัยการ หรือศาลให้ตรวจสอบลักษณะคดีที่ถูกฟ้องได้ หากพบว่าคดีดังกล่าวเป็นการฟ้องเพื่อปิดปากจริง ถือว่าคดีนั้นต้องถูกสั่งไม่ฟ้องในชั้นอัยการ หรือถูกสั่งให้ยกฟ้องในชั้นศาล



(5) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เอาผิดกรณีเจ้าพนักงานบิดเบือนกฎหมาย


  • ให้มีการกำหนดโทษกรณีที่เจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมในชั้นสอบสวนใช้อำนาจโดยมิชอบ กระทำการบิดเบือนกฎหมายและมีคำสั่งให้ส่งฟ้อง หรือไม่ส่งฟ้องในคดีต่างๆ อันส่งผลให้เกิดประโยชน์หรือโทษแก่ประชาชน ซึ่งกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งในการฟ้องร้องต่อประชาชน นักกิจกรรม นักศึกษา เยาวชนที่แสดงออกทางการเมืองแล้วถูกเจ้าพนักงานสั่งฟ้อง ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อป้องกันการที่เจ้าพนักงานจะใช้อำนาจโดยมิชอบ






[ ผลลัพธ์ ]


  • เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 รัฐสภาได้เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ (5) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ… ว่าด้วย ‘บทลงโทษเจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ’ เป็นฉบับแรก เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77


  • กลุ่มไทยภักดี นำโดย นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม ยื่น 101,568 รายชื่อ ยื่นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยมีนายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง เป็นตัวแทนรับมอบรายชื่อ


  • สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การเสนอแก้ไขกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก 5 ฉบับ ซึ่งรวมถึง มาตรา 112 ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะทำเพื่อสถาบันอย่างแท้จริง แต่ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเองที่อยากจะกระทำการจาบจ้วงสถาบันโดยไม่อยากมีความผิด ถ้าจะต้องแก้ต้องแก้ตั้งแต่ต้นทางคือต้องไม่กระทำการจาบจ้วง ก้าวล่วงสถาบัน แต่ไม่ใช่มาขอแก้กฎหมาย และชื่นชม ส.ส.พรรคก้าวไกล 9 คน ที่ไม่ร่วมลงชื่อแก้ไขมาตรา 112 ที่มีความคิดเป็นของตัวเอง รู้ว่าอะไรสมควรทำหรือไม่สมควรทำ


  • ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) พิจารณาวินิจฉัยกรณีพรรคก้าวไกล มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จากกรณีการแสดงความเห็นทางการเมือง การเข้าร่วมกับผู้ชุมนุม และการประกันตัวผู้ต้องหาในคดีชุมนุมทางการเมือง รวมถึงการยื่นร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในฐานความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท และ มาตรา 112 ว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 45 และมาตรา 92 (2) (3) จึงขอให้ กกต.พิจารณาวินิจฉัย และเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค



‘การปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชน’ ถือเป็น ‘คาน’ สำหรับอุดมการณ์ ‘ปักธงประชาธิปไตย’ ที่เคยประกาศไว้ในการก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และอุดมการณ์ดังกล่าวได้สืบทอดต่อมายังพรรคก้าวไกล นอกจากนี้ พรรคอนาคตใหม่ ยังมีนโยบายยุติวงจรอุบาทว์ 3 เรื่อง คือ
1.ล้างมรดกบาป
2.เอาสิทธิและเสรีภาพประชาชนกลับคือมา
3.ป้องกันไม่ให้คณะทหารยึดอำนาจอีก
.
นับตั้งแต่การครองอำนาจของ คสช. มาจนถึงการสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 62 มีการนำกฎหมายมาตราเหล่านี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน มีการกำจัด กวาดล้าง ทำลายประชาชนที่เห็นต่างทางการเมือง และใช้กฎหมายในลักษณะกลั่นแกล้งโดยเจ้าพนักงานที่อาจบิดเบือนกฎหมายในระหว่างกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะมาตรา 112 พบว่า มีการนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง มีผู้ถูกดำเนินคดีแล้วไม่น้อยกว่า 48 ราย ใน 35 คดี ในจำนวนนี้มีเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 2 คน (และยังมีแนวโน้มที่มากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ)


พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า หลักการของร่างกฎหมายที่มีการยื่นแก้ไขต่อสภาดังกล่าว คือการเป็นการทำให้สถาบันเป็นที่เคารพ ปลอดจากคำติฉินนินทา และคำวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชน และป้องกันไม่ให้บุคคลใดแอบอ้างความจงรักภักดีต่อสถาบันมาโจมตีฝ่ายตรงข้าม พรรคก้าวไกลต้องการจะนำสถาบันออกจากการเมือง


ขณะที่ ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ยืนยันว่า ตลอดชีวิตเคยเห็นการล้มล้างการปกครองแบบเดียวคือ การรัฐประหารและยังไม่เคยเห็นการแก้กฎหมายใดที่เป็นการล้มล้างการปกครอง การเสนอแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ไม่ใช่การยกเลิกกฎหมายที่เป็นการคุ้มครองพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ แต่เป็นการปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยเช่นเดียวกับในหลายประเทศที่ก็ปรับเปลี่ยนแล้วจำนวนมาก เป็นการรักษาพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ไทยถูกวิพากวิจารณ์น้อยลงในสังคมโลก บางคนอาจ มองว่ามากเกินไป บางคนอาจมองว่ายังน้อยเกินไป แต่พรรคก้าวไกลเห็นว่า เป็นข้อเสนอที่ทุกฝ่ายพอจะคุยและยอมรับกันได้ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ถามว่ากลัวหรือไม่เรื่องยุบพรรคที่คงมีเข้ามาอีก นี่ไม่ใช่เวลาที่จะกลัว แต่ผู้แทนราษฎรต้องมีความกล้าที่จะเรียกร้องมโนธรรมสำนึกของตัวเองเพื่อทำหน้าที่ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน


ดังนั้น เพื่อให้ ‘สิทธิเสรีภาพ’ ซึ่งเป็นดัง ‘คาน’ ของอุดมการณ์ ‘ปักธงประชาธิปไตย’ ตามที่เคยประกาศไว้ในการก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ชุดการแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน รวมถึงมาตรา 112 ก็คือหนึ่งในวาระสำคัญ ที่พวกเราจะเดินหน้าทำอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชน








[ ปกป้องนักกิจกรรม ]



(1) สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ที่ผลักดันโดยภาคประชาชนผ่านคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน


ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พ.ศ. 2527 ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2550 และได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ.2549 ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2555 อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังคงไม่มีกฎหมายว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย สวนทางกับสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งมีการบังคับสูญหายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงหลังการรัฐประหาร 2557


พรรณิการ์ วานิช ที่ปรึกษา กมธ.กฎหมายฯ และอดีตรองประธาน กมธ.กฎหมายฯ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับที่ภาคประชาชนยื่นมาและถูกปรับปรุงโดย กมธ.กฎหมายฯ นับว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เพราะสามารถคุ้มครองประชาชน และจะกำหนดให้คดีไม่มีอายุความ สามารถสืบหาจนกว่าจะได้มาซึ่งความยุติธรรม และจะใช้ระบบไต่สวนที่จะทำให้ศาลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียกหาเอกสารหลักฐานได้เอง อีกทั้งยังกำหนดให้คณะกรรมการซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนสามารถทำหน้าที่เรียกให้หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้อย่างเคร่งครัด โดยคณะกรรมการจะมาจากตัวแทนภาคประชาชน 6 คน มาจากข้าราชการ 5 คน จะทำให้คณะกรรมการนี้มีเสียงของภาคประชาชนมากกว่าข้าราชการ ส่งผลให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีความเป็นมนุษย์และสามารถเข้าใจได้อย่างแท้จริง



(2) ติดตามกรณีการหายตัวไปของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการหายตัวไปของผู้ลี้ภัยการเมือง


นอกจาการติดตามผ่านการทำงานของคณะกรรมาธิการแล้ว ต่อกรณีการหายตัวไปของผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทำให้ รังสิมันต์ โรม ตั้งกระทู้ถามสดต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ โดยส่งสัยว่าเหตุใดรัฐบาลจึงนิ่งเฉย ไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อการหายตัวไปของพลเมืองไทย และก่อนเกิดกรณีของวันเฉลิม ได้มีการอุ้มหายบุคคลอีก 9 รายด้วยกันหลังมีการรัฐประหารในปี 2557 โดย 7 รายไม่ทราบชะตากรรม อีก 2 รายพบศพแล้วแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวนใดๆ ได้แก่ เด่น คำแหล้, อิทธิพล สุขแป้น, วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ชัชชาญ บุปผาวัลย์, ไกรเดช ลือเลิศ, ชูชีพ ชีวะสุทธิ์, กฤษณะ ทัพไทย และสยาม ธีรวุฒิ ทั้งหมดนี้คือบุคคลที่สูญหายในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นสู่อำนาจ



(3) การใช้บทบาทหน้าที่ในฐานะผู้แทนราษฎรเพื่อปกป้องนักกิจกรรมที่ถูกคุกคามสิทธิเสรีภาพ


การชุมนุนของเยาวชน นิสิตนักศึกษา และประชาชน เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม คุกคามและละเมิดสิทธิเสรีภาพในหลายครั้ง เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พรรคก้าวไกลจึงใช้บทบาทในฐานะผู้แทนราษฎรอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ เช่น การสลายชุมนุมด้วยการฉีดน้ำผสมสารเคมีเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางเข้าพื้นที่แยกปทุมวันทันที เพื่อเจรจากับ พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ให้ยุติการใช้ความรุนแรงเกินขอบเจตและขอเจรจาให้ปล่อยตัวแกนนำผู้ชุมนุมคณะราษฎร 63 ที่ถูกจับกุม นอกจากนี้ ยังมี ส.ส.สลับกันไปติดตามการจับกุมที่เกิดขึ้นในเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าที่สถานควบคุมตัวอย่าง ตชด.ภาค 1 สถานีตำรวจ หรือสถานที่คุมขัง


ติดตามกรณีการคุกคามแกนนำที่เกิดขึ้นในกรมราชทัณฑ์ ตั้งคำถามต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ เช่น พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ที่ถามอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุหรือได้ทำตาม ป.วิอาญา อย่างครบถ้วนหรือไม่หรือว่าไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเสียเอง นอกจากนี้ยังได้ใช้บทบาทในคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยได้เชิญผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เข้าชี้แจงกรณีที่ตำรวจใช้อำนาจกฎหมายอาญามาตรา 116 จับกุมตัวแกนนำคณะราษฎร 2563 รวมทั้งกรณีที่มีการใช้กำลังอายัดตัว ภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง และพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ในวันที่ 30 ต.ค. 2563 มาชี้แจง ซึ่งกรณีดังกล่าวมีภาพข่าวที่ปรากฎว่ามีตำรวจนอกเครื่องแบบได้ทำร้ายทั้งสองคน ซึ่งเป็นคำถามว่าเรื่องนี้ทางเรือนจำปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร


นอกจากนี้ ในวันที่ 4 พ.ย. 63 รังสิมันต์ โรม ยังได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี เรื่องแนวทางการจัดการผู้ชุมนุมในช่วงก่อนหน้านั้นซึ่งมีการสลายชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจถึง 3 ครั้ง ซึ่งมีการถามถึงชื่อผู้รับผิดชอบสูงสุดและเกณฑ์ในการสลาย เรื่องมาตรฐานในการจัดการผู้ชุมนุมแต่ละฝ่ายที่ไม่เหมือนกัน โดยมีข้อสังเกตว่า การชุมนุมในกลุ่มคนใส่เสื้อสีเหลืองได้รับการอำนวยความสะดวก ไม่มีการวางกำลังปิดล้อมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการชุมนุมใกล้เขตพระราชฐานก็สามารถทำได้และไม่มีการถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด รวมทั้งยังมีกรณีที่ผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองทำร้ายร่างกายนักศึกษารามคำแหงในวันที่ 21 ต.ค.ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี


อีกประเด็นสำคัญที่พรรคก้าวไกลพยายามทำความจริงให้ปรากฏเพราะเป็นเรื่องที่ทำให้นักกิจกรรมหรือผู้ชุมนุมถูกป้ายสีและดำเนินคดีอย่างมากคือข้อหาขัดขวางขบวนเสด็จ จึงมีการเสนอให้ตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงในข้อบกพร่องในกรณีกำหนดเส้นทางขบวนเสด็จและถวายความปลอดภัยของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เมื่อวันที่ 14 ต.ค. และญัตติเสนอตั้งกมธ.วิสามัญศึกษาผลกระทบการใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 15 – 22 ตุลาคม






[ ผลลัพธ์ ]



  • ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ผ่านขั้นตอนการรับฟังความเห็นแล้ว แต่ยังไม่มีการบรรจุวาระการพิจารณาในสภาและยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ กฎหมายที่ ส.ส.เสนอมักไม่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สภาต้องเร่งพิจารณา หากได้รับการบรรจุก็ต้องไปต่อแถววาระท้ายจึงไม่มั่นใจว่าต่อให้รัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี กฎหมายนี้จะได้รับการพิจารณาหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องน่ากังวลอีกว่า หากเข้าสู่การพิจารณในชั้นของ ส.ว. จะเป็นอย่างไรซึ่งการอุ้มหายและซ้อมทรมานยังมีกรณีที่เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนใต้ซึ่งะมีการใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก และพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน


  • ต่อกรณีการหายตัวไปของผู้ลี้ภัย สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบคำถามต่อการไม่กระตือรือร้นของภาครัฐว่า นายวันเฉลิมไม่เคยขอความช่วยเหลือจากส่วนงานกระทรวงยุติธรรม จึงต้องเดินตามกลไกกฎหมายและระเบียบกระทรวงยุติธรรมที่วางไว้ ส่วน ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตอบว่า เรื่องของวันเฉลิมไม่ได้มีลำดับความสำคัญมากนัก ไม่อยู่ในรายชื่อผู้ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง สำหรับกรณีวันที่ 4 มิถุนายน ซึ่งมีคลิปในวันที่หายตัวไปคือเหตุการณ์ที่มีลีกษณะเช่นเดียวกันกับคลิปของ George Floyd ถ้าไม่มีคลิปดังกล่าว ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้นและการปั่นกระแสโซเชียลทำให้ปัญหาบานปลายซึ่งทุกประเทศในอาเซียนพบปัญหาเดียวกัน


  • ผลสืบเนื่องจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การใช้คำสั่งเรียก ตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2554 ขัดกับ มาตรา 129 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จึงทำให้ผู้ถูกเรียกมาชี้แจงกรณีที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งที่อาจละเมิดสิทธิไม่ว่านายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจในหน่วยงานต่างๆเลี่ยงที่จะมาตอบคำถามต่อคณะกรรมาธิการ ทำให้การตรวจสอบของสภาผ่านกรรมาธิการไม่สามารถทำได้โดยง่าย


นอกจากนี้ ส่วนการตอบกระทู้ต่างๆของรัฐมนตรีเป็นไปในลักษณะการตอบไม่ตรงคำถาม และไม่ยอมเปิดเผยชื่อผู้ควบคุมและบัญชาการสถานการณ์ที่ตัดสินใจสลายการชุมนุมแต่ละครั้ง ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย ส่วนการคุกคามสิทธิเสรีภาพยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและนักกิจกรรมยังโดนคุมขังจำนวนมาก


ขณะเดียวกันญัตติด่วนที่มีการเสนอให้ตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงในข้อบกพร่องในกรณีกำหนดเส้นทางขบวนเสด็จฯ และญัตติเสนอตั้งกมธ.วิสามัญศึกษาผลกระทบการใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 15 – 22 ตุลาคม ยังไม่สามารถบรรจุเข้าวาระเพื่อพิจารณาได้ทันในสมัยประชุมที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่การจับกุมคุมขังประชาชนให้เสียเสรีภาพด้วยข้อกล่าวหาร้ายแรง









[ ปกป้องสิทธินักเรียน ]



(1) วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ตั้งกระทู้ถามสด ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อกรณีที่บุคลากรครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กระทำการคุกคามนักเรียนจากการแสดงออกทางการเมือง


การแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าผ่านสัญลักษณ์ชูสามนิ้ว ชูกระดาษ และผูกโบว์สีขาว เป็นสิทธิโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกประการ แต่กลับมีการใช้อำนาจของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูบางคน ข่มขู่คุกคามว่าจะไล่ออก ตัดคะแนน ตัดทุนการศึกษา รวมถึงการลงมือใช้กำลังลงโทษนักเรียน ที่แย่ไปกว่านั้น คือการพยายามผลักให้นักเรียนไปทำกิจกรรมนอกโรงเรียนเพื่อให้ถูกเอาผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ บางโรงเรียนถึงขั้นอนุญาตให้ตำรวจนอกเครื่องแบบเข้ามาในโรงเรียนเพื่อสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียน รวมถึงการเอาข้อมูลส่วนตัวให้ตำรวจมาคุกคามนักเรียนถึงที่บ้าน โดยผู้อำนวยการและครูที่กระทำพฤติการณ์เหล่านั้น มักจะอ้างว่าโรงเรียนเป็นสถานที่ราชการ มีความเป็นกลาง ห้ามแสดงออกทางการเมือง แต่ทว่านักเรียนหลายคนก็มีคำถามกลับ ว่าเหตุใดในปี 2556-2557 ครูหลายคนกลับสามารถใส่ชุดข้าราขการ ผูกริบบิ้นลายธงชาติ ห้อยนกหวีด มาแสดงออกทางการเมืองในโรงเรียนได้ และยังชวนให้นักเรียนออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเอิกเกริกได้ด้วย



(2) ร่วมอภิปรายในญัตติรับทราบรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน


แม้ว่าการตั้งกรรมาธิการชุดนี้พรรคก้าวไกลมองว่ามีขึ้นเพื่อยื้อเวลาและไม่สามารถทำงานได้จริง และผลที่ออกมาก็เป็นไปในทิศทางนั้น มีนักศึกษามาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการเพียงกลุ่มเดียวและไม่ใช่กลุ่มที่ออกมาชุมนุมเรียกร้อง ท้ายที่สุด กรรมาธิการชุดนี้จึงไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ต้องยุติการรับฟัง และมีผลการศึกษาออกมาเพื่อรายงานต่อสภาอย่างรวดเร็วโดยที่ปัญหาแทบไม่ได้ถูกแก้ไขใดๆเลย อย่างไรก็ตามเมื่อญัตติเข้าสู่สภา พรรคก้าวไกลจึงมีข้อวิจารณ์ต่อผลการศึกษาจากรายงานฉบับนี้ในหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือข้อสังเกตต่อการนำ มาตรา 116 มาใช้ และยืนยันว่าข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ภายใต้ 2 จุดยืน และการมี 1 ความฝัน คือ การมีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เป็นการแสดงออกตามสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และการชุมนุมไม่มีองค์ประกอบใดเข้าตามมาตรา 116 เลย



(3) โครงการห้องเรียนก้าวไกล – ทลายอำนาจนิยมในโรงเรียน


เป็นโครงการทำงานนอกสภาเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนปัญหาอำนาจนิยมที่ซ่อนอยู่ในโรงเรียนจากปากนักเรียนในแต่ละพื้นที่โดยตรง ไม่ว่าเรื่องทรงผม เครื่องแต่งกายผิดระเบียบ ที่มาพร้อมบทลงโทษและการประจานให้อับอาย คำตำหนิติเตียนที่เผ็ดร้อน ถูกครูทุบตีไร้เหตุผล การกลั่นแกล้งในโรงเรียนและระบบโซตัส เหยียดเพศ เหยียดฐานะ เหยียดผิวพรรณ การอนาจารและการคุกคามทางเพศ ฯลฯ โครงการนี้มีเป้าหมาย คือ เปลี่ยนผู้เรียนเป็น ‘ผู้ร่วมคิด’ เปลี่ยนผู้สอน ‘เป็นผู้อำนวยการกระบวนการ’ สร้างพื้นที่การศึกษาเพื่อปลดปล่อยมนุษย์จากการกดขี่ทุกรูปแบบ ผ่านการถกเถียงสนทนาความคิดและมุมมองต่อโลก สถาปนากระบวนการเรียนรู้แบบประชาธิปไตย เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบอำนาจในโรงเรียน สร้างสถานะใหม่ในระบบความสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน



(4) ผลักดันแนวทางแก้ปัญหาผ่าน คณะกรรมาธิการการศึกษา


โดยเชิญตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาชี้แจงต่อกรณีการใช้อำนาจที่เป็นการละเมิดสิทธิของนักเรียนและขัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการไม่อนุญาตให้ครูลงโทษนักเรียนในรูปแบบต่างๆที่เป็นการละเมิด






[ ผลลัพธ์ ]



(1) หน่วยงานภาครัฐที่มาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการยอมรับว่าการลงโทษด้วยการละเมิดสิทธิต่างๆนอกเหนือจากระเบียบที่กำหนดไว้เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่สุดท้ายการลงโทษเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่


(2) การตอบของรัฐมนตรีต่อการแก้ปัญหาการคุกคามหรือการใช้อำนาจนิยมในโรงเรียนมีลักษณะไม่ตรงคำถาม และสะท้อนว่ายังคงไม่มีการดำเนินการใดๆเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม








[ ประกันตัวประชาชน ภารกิจที่ถ้าการเมืองดี คงไม่ต้องทำ ]



นับตั้งแต่การสลายการชุมนุมคืนวันที่ 13 ต.ค. 63 ก่อนการชุมนุมครั้งใหญ่เป็นต้นมา มีการจับกุมคุมตัวประชาชนและแกนนำจำนวนมากระหว่างการสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง ซึ่งพรรคก้าวไกลมองว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และไม่ควรมีใครถูกคุมขังเพราะการแสดงออกทางความคิด จึงได้ใช้บทบาทในฐานะผู้แทนราษฎรที่ได้จากประชาชนมาประกันตัวให้ประชาชนเรื่อยมาถึงปัจจุบัน และติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และกระบวนการยุติธรรมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อมีการจับกุมเกือบทุกครั้ง อย่างน้อยต้องเห็น เบญจา แสงจันทร์ หรือ อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อยู่ ณ สถานที่นั้นแทบจะในทันที






[ ผลลัพธ์ ]



ในช่วงแรกสามารถใช้ตำแหน่งประกันตัวได้ แต่ในระยะหลังเมื่อสถานการณ์การเมืองเข้มข้นขึ้น การประกันตัวยิ่งทำได้ยากโดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวกับแกนนำที่ถูกนำมาตรา 112 กลับมาใช้อีกครั้ง


ปัจจุบันมีแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมของกลุ่มราษฎรจำนวยมากถูกดำเนินคดี และไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวระหว่างต่อสู้คดี แม้จะยื่นคำร้องไปหลายครั้ง อาทิ อานนท์ นำภา, เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน, ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบงค์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก เป็นต้น


นอกเหนือจากการขอใช้ตำแหน่งประกันตัวตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว พรรคก้าวไกลยังยืนยันสิทธิในการประกันตัวด้วยการแสดงสัญลักษณ์ในสภาผู้แทนราษฎร โดยระหว่างที่ รังสิมันต์ โรม กำลังอภิปรายเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ส.พรรคก้าวไกลที่นั่งอยู่ใกล้ๆได้ร่วมกันชูป้ายหรืออินโฟกราฟิกที่อยู่ในสมาร์ตโฟนและแท็บเลตซึ่งมีข้อความเรียกร้องให้แกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ได้รับสิทธิในการประกันตัวระหว่างสู้คดี โดยมีข้อความ อาทิ #ปล่อยเพื่อนเรา #freeสมยศ #freeอานนท์ #freeเพนกวิน #freeหมอลำแบงค์


ขณะที่กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว.แต่งตั้ง ลุกขึ้นประท้วงผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมขณะนั้น ขอให้สั่งไม่ให้มีการชูป้าย พร้อมบอกว่า “ผมไม่ทราบว่าป้ายดังกล่าวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร มีข้อความอะไร ปล่อยเพื่อน..เหรอ เดี๋ยวเพื่อนจะไปอยู่อีกคน”









2

ตรวจสอบรัฐบาล
พิทักษ์ผลประโยชน์ประชาชน


ต่อไป เรามาดูการทำงานของพรรคก้าวไกลในมุมการตรวจสอบรัฐบาลด้วยกลไกรัฐสภา และปกป้องพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนในประเด็นต่างๆ ตั้งแต่ การทวงคืนรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, รถไฟฟ้าค่าโดยสารแพง, เขื่อนเหมืองตะกั่ว, ร่าง พ.ร.บ. Open Data ไปจนถึงการอภิปรายตรวจสอบการทุจริตแกนนำในคณะรัฐมนตรี เช่น กรณีความไม่โปร่งใสหาประโยชน์กับนิคมอุตสาหกรรมจะนะ









[ พิทักษ์ผลประโยชน์ประชาชน ]


ทวงคืนรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


นับตั้งแต่เป็นพรรคอนาคตใหม่จนถึงพรรคก้าวไกล ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2563 และ ปี 2564 ส.ส.พรรคก้าวไกลได้อภิปรายและซักถามในชั้นกรรมาธิการเพื่อทวงคืนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรัฐบาลนำเงินฝากโอนของตัวเองมาผ่าน อปท. อาทิ เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยอาหารกลางวันเด็ก เบี้ยคนพิการ ค่าตอบแทน อสม. การประมาณการรายได้ของ อปท. ที่สูงเกินจริง การลดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งการกระทำของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อการอุดหนุนงบประมาณและการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นที่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น นำไปสู่ความไม่มั่นคงทางการคลังของท้องถิ่น ที่ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาพื้นที่ของตัวเอง



[ ผลลัพธ์ ]


รัฐบาลยอมยกเลิกนำค่าใช้จ่าย อสม. มาเป็นรายได้ อบจ. นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 เป็นต้นไป   


เร่งรัดเลือกตั้งท้องถิ่น


พรรคก้าวไกลได้เร่งรัดการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ผ่านคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 เป็นประธาน โดยได้มีการเรียกให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรีมาชี้แจงความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ต่อมานายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาชี้แจงแทน ในวันที่ 17 มิ.ย. 63 ซึ่งพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ชี้แจงว่ามีความพร้อมในด้านงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น 


[ ผลลัพธ์ ]


นำไปสู่การเลือกตั้ง อบจ. ในวันที่ 20 ธ.ค. 63 และเลือกตั้งเทศบาล ในวันที่ 28 มี.ค. 63 






อภิปรายไม่ไว้วางใจต้นเหตุ ‘รถไฟฟ้า’ ค่าโดยสารแพง


ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้อภิปรายในหัวข้อ กระบวนการ 3 ป. (ปั้นตัวเลข ปั่นโครงการ ปันผลประโยชน์) กับปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพง  เพื่อชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพง ที่เกิดจากการลงทุนที่ไม่วางแผน ไม่คิดถึงความคุ้มค่าของโครงการ ไม่โปร่งใส เอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนรายใหญ่ ไม่ได้มองประชาชนเป็นที่ตั้ง จนนำไปมาสู่การสร้างภาระให้กับประชาชนที่ต้องแบกรับค่าโดยสารในการราคาแพง จากความล้มเหลวในการลงทุนก่อสร้างที่คนไม่มาใช้บริการตามเป้าหมาย 





งานคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม  


คณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่มีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และอภิชาติ ศิริสุนทร เป็นประธานคณะกรรมาธิการ ได้นำปัญหาด้านที่ดินทำกิน ปัญหาเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของพี่น้องประชาชน และปัญหาที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มาหาทางออกและแนวทางการแก้ไขปัญหาในที่ประชุมกรรมาธิการ รวมถึงมีการจัดตั้งเวทีรับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับที่ดินตามภาคต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงการสะท้อนปัญหาจากพี่น้องประชาชนให้มากที่สุด 






ตัดงบโครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พัทลุง 


ในช่วงการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 2564 มีเหตุการณ์ชุมนุมของชาวบ้านกลุ่มโนนสะตอ จ.พัทลุง ได้ชุมนุมคัดค้านโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พัทลุง ของกรมชลประทาน ที่มีความไม่ชอบมาพากล ไม่ได้ผ่านการทำประชาคม ทำรายงาน EIA ปลอม ต่อมากลุ่มชาวบ้านได้มาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล และกรรมาธิการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2564 สัดส่วนพรรคก้าวไกล นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ผลักดันและอภิปรายด้วยเหตุด้วยผลในการตัดงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนเหมืองตะกั่ว จนนำไปสู่การลงมติกรรมาธิการงบประมาณ 22-21 ให้ตัดงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนเหมืองตะกั่วออกไป  





#Saveหาดม่วงงาม 


ช่วงปลายเดือน พ.ค. ชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นหาดม่วงงาม หลังจากนั้น ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส. บัญชีรายได้ ได้อภิปราย ร่าง พ.ร.บ. โอนงบฯ พ.ศ. 2563 ให้โอนงบประมาณโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า ไปแก้ไขปัญหาโควิด 19 ทั้งหมด เพื่อยุติโครงการนี้ ต่อมา ประเสริฐพงษ์ และ ส.ส. พรรคก้าวไกลอีก 2 คน ได้แก่ กัญจน์พงษ์ จงสุทธามณี และวรรณวิภา ไม้สน ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาชาวบ้านที่หน้าศาลากลาง จ.สงขลา และในวันเดียวกันนั้นได้มีการชะลอโครงการออกไปก่อน อีกทั้งประเสริฐพงษ์ ได้นำชาวบ้านมาหารือกับกรรมาธิการที่ดินฯ  ต่อมาในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 64 ในชั้นกรรมาธิการ ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะกรรมาธิการสัดส่วนพรรคก้าวไกล ได้อภิปรายเสนอตัดงบประมาณก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามทั้งหมด ซึ่งอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เสนอถอนงบประมาณของโครงการนี้ออกต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งทำให้จะไม่มีการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามอีก หากกรมโยธิการและผังเมืองจะก่อสร้างต่อของบใหม่ในปีถัด ๆ ไป








[ ตรวจทุจริต ]


ร่าง พรบ. ข้อมูลข่าวสารของสาธารณะ  


วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส. พิษณุโลก เขต 1 และไกลก้อง ไวทยการ อดีต ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ได้ร่วมกันยื่นร่าง พรบ. ข้อมูลข่าวสารของสาธารณะ เพื่อป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชันและลดอำนาจดุลพินิจของข้าราชการลง ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ 


  1. มีการเปลี่ยนหลักการใหญ่ที่ว่า ข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่ไม่ใช่ข้อมูลความลับและไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล จะเป็นข้อมูลข่าวสารสาธารณะ จำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณะโดยไม่ต้องร้องขอ 
  2. ให้ทุกหน่วยงานของรัฐจัดทำรายการข้อมูลข่าวสารสาธารณะของแต่ละหน่วยงาน โดยกำหนดรายการข้อมูลข่าวสารสาธารณะตั้งต้นของทุกหน่วยงานรัฐ ให้ครอบคลุมถึงข้อมูลข่าวสารสำคัญที่ควรเปิดเผย ทั้งข้อมูลข่าวสารในทุกขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารเงินแผ่นดิน 
  3. ให้ทุกหน่วยงานของรัฐต้องจัดทำรายการข้อมูลความลับราชการว่า ข้อมูลประเภทใดจัดเป็นข้อมูลความลับบ้าง เพื่อให้มีการตรวจสอบและลดดุลพินิจในการไม่เปิดเผยข้อมูลความลับโดยอ้างเหตุชั้นความลับ 
  4. ให้ประชาชนมีช่องทางในการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานและคณะกรรมการ เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลข่าวสารสาธารณะ และรายการข้อมูลความลับของแต่ละหน่วยงาน ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  5. ให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ที่เป็นสัดส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่าข้าราชการประจำ เพื่อให้ใช้อำนาจ ไปในทางเปิดเผยข้อมูลสาธารณะได้มากกว่าในกฎหมายเดิม


[ ผลลัพธ์ ]


ปัจจุบัน ร่าง พรบ. ข้อมูลข่าวสารของสาธารณะ ได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น และรอเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  






คัดค้านโครงการ นิคมอุตสาหกรรมจะนะ


ในช่วงปลายปี 2563 ได้มีประชาชน อ. จะนะ จ. สงขลา ได้ออกชุมนุมคัดค้านโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม จะนะ ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่ง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และเบญจา แสงจันทร์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ได้เข้าพูดคุยฟังปัญหาจากประชาชนที่เข้ามาชุมนุม ต่อมา ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย เพื่อตีแผ่ถึงเบื้องหลังการผลักดันโครงการอุตสาหกรรมจะนะ ที่เป็นไปเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับตัวเองและเครือญาติ จากการซื้อขายที่ดิน 



[ ผลลัพธ์ ]


การอภิปรายไม่ไว้วางใจนำไปสู่การยุติโครงการชั่วคราว และมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ โดยมี ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธาน ส่วน ประเสริฐพงษ์ ได้ขยายผลต่อด้วยการยื่นร้องเรียน ต่อ ปปช. ในประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ของนายนิพนธ์ บุญญามณี อีกด้วย









3

ปฏิรูปกองทัพ



ต่อเนื่องจากแคมเปญ #ครบ2ปี24มีนา เมื่อวานนี้ เรามาดูในหัวข้อ “ปฏิรูปกองทัพ” กันต่อ พรรคก้าวไกลได้ดำเนินการตรวจสอบ ผลักดัน และแฉเบื้องลึกเบื้องหลังระบบภายในของกองทัพที่ไม่ใช่แค่ละเมิดสิทธิมนุษยชนคนภายในกองทัพ แต่ยังใช้งานคนในกองทัพออกมาคุกคามประชาชนทั่วไปอีกเช่นกัน ตัวอย่างหลักๆ ที่จะพบในหัวข้อนี้ ได้แก่ การตรวจสอบงบประมาณกองทัพ, การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกองทัพ, การผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปกองทัพ (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร), และปฏิบัติแฉ IO กองทัพจากภาษีประชาชน ว่าแล้วก็ขอเชิญทุกท่านอ่านเนื้อหาด้านล่างกันได้เลย








ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกองทัพ


ความจริงแล้วการถูกบังคับให้เข้ารับการเกณฑ์ทหารก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นคือการที่มีทหารเกณฑ์ตายคาค่ายเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2563 พบว่ามีทหารเกณฑ์เสียชีวิตในค่ายทหารถึง 6 นาย โดยเป็นการเสียชีวิตที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการฝึก


ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ได้ออกมาตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีกลางสภา โดยได้จี้ให้ตรวจสอบและหามาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งและลงโทษที่รุนแรงเกินสมควรกับพลทหารในกองทัพ






ตรวจสอบงบประมาณกองทัพ


กองทัพเรือได้เสนอตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีนจำนวน 2 ลำ มูลค่าโครงการประมาณ 22,500 ล้านบาท โดยเป็นการตั้งงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2564 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ อันเนื่องมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


พรรคก้าวไกล นำโดย พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รวมถึง ส.ส.พรรคก้าวไกลหลายคนได้ร่วมกันคัดค้านการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือผ่านการอภิปรายในสภาหลายครั้ง รวมถึงได้การบุกไปตั้งข้อซักถามถึงกองบัญชาการกองทัพเรือ เปิดโปงหลักฐานการดำเนินโครงการที่ไม่โปร่งใส ผลักดันจนทำให้เกิดการโหวตคว่ำโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำในคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณฯ นับเป็นผลสำเร็จที่สำคัญ


นอกจากนี้ พิจารณ์ยังได้ร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สืบเนื่องมาจากที่ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์ทหารเกณฑ์ เช่น เสื้อยืด รองเท้าบูท กางเกงใน ในราคาที่สูงเกินจริง และยังมีโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพอีกหลายโครงการที่ถูกชำแหละกลางสภา เช่น การจัดซื้อรถบัสของกองทัพบก และการให้สัมปทานเหมืองหินของกองทัพเรือที่ไม่โปร่งใส






ร่างกฎหมายปฏิรูปกองทัพ


พรรคก้าวไกลรับไม้ต่อมาจากอดีตพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกยุบไป โดยหนึ่งในไม้ที่พรรคก้าวไกลรับมาคือเรื่องของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร หรือการยกเลิกการเกณฑ์ทหารภาคบังคับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายปฏิรูปกองทัพ ให้เป็นกองทัพสมัยใหม่ที่มีความทันสมัย และคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน


อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ถูกตีความว่าเกี่ยวข้องกับการเงิน จึงต้องส่งไปให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเสียก่อน นั่นจึงทำให้นายกรัฐมนตรีอดีตนายทหารหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ไม่ให้การรับรองร่างกฎหมายฉบับนี้ และเมื่อพรรคก้าวไกลได้ส่งหนังสือทวงถามกลับไปถึงสาเหตุของการไม่ให้การรับรอง ก็ได้รับคำตอบอ้อม ๆ อ้างถึงภาระงบประมาณที่ไม่ชัดเจนกลับมา


ในเรื่องนี้พรรคก้าวไกลก็ยังคงยืนยันในจุดยืนปฏิรูปกองทัพ และจะส่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ กลับไปให้สภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยหวังว่าจะไม่ถูกปัดตกด้วยข้ออ้างทางเทคนิคที่เลื่อนลอยเหมือนกับคราวก่อนอีก






แฉ IO กองทัพ จากภาษีประชาชน


หลังจากอดีตพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบได้ไม่กี่วัน วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเมื่อต้นปี 2563 กรณีสั่งการให้หน่วยงานความมั่นคงเผยแพร่ข่าวปลอม ยุแหย่สร้างความเกลียดชังในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และใช้ทหารทำสงครามข้อมูลข่าวสารกับประชาชน โดยได้เปิด QR Code เข้าถึงกลุ่มลับของทหาร IO ในแอพลิเคชัน LINE จนเป็นที่ฮือฮาลือลั่นกันทั้งโลกออนไลน์ออฟไลน์


อภิปรายไม่ไว้วางใน 2564 เป็นคิว ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกพรรคก้าวไกลได้แหกปฏิบัติการนี้กลางสภาบ้าง โดยคราวนี้มาเป็นการเปิดคลิปสั่งการที่มีการแอบถ่ายในห้องวอร์รูมของทหาร IO และยังเปิดเผยถึงการที่กองทัพยืมมือเอกชนในการทำ IO ยุแหย่ให้ประชาชนแตกกันเป็นฝักฝ่าย


ถึงแม้หลักฐานจะชัดยิ่งกว่าชัด แต่ก็ดูเหมือนว่ากองทัพและนายกรัฐมนตรีจะไม่สะทกสะท้าน และยังมีปฏิบัติการ IO ต่อไปโดยไม่ขวยเขินแม้ว่าจะต้องใช้ภาษีของประชาชนมาให้ร้ายประชาชนเองก็ตาม









4

แก้ไขสถานการณ์โควิด-19


นับจนถึงตอนนี้ก็เลยเวลาหนึ่งปีมาแล้วที่โลกต้องเผชิญกับไวรัสโควิด-19 แต่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการอะไรไปบ้างในด้านการเยียวยาประชาชน? มาตรการที่รัฐบาลเสนอมาแก้ปัญหาตรงจุดหรือไม่? หรือออกมาแล้วคนที่ไม่มีกำลังมากพอก็ไม่สามารถได้รับการเยียวยาอยู่ดี? หรือจะเป็นด้านการจัดหาวัคซีนที่เราต้องทนกับรัฐบาลที่กว่าจะตระหนักได้ว่าต้องจัดหาวัคซีนมาฉีดคนทั่วประเทศให้ได้ก่อน ไม่ใช่มามัวแทงม้าตัวเดียวแบบที่ผ่านมา ประชาชนตาดำๆ ที่รอกลับสู่สภาวะเศรษฐกิจปกติจะต้องสูญเสียผลประโยชน์หรือค่าเสียโอกาส หรือถึงขั้นเสียชีวิตกันไปอีกมากแค่ไหน? เชิญอ่านการทำงานของพรรคก้าวไกลในหัวข้อ “แก้ไขสถานการณ์โควิด-19” ได้ที่นี่








ผลักดันแก้ไข พ.ร.ก.Soft loan


การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลก็ได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพยุง ช่วยเหลือ และฟื้นฟูเศรษฐกิจออกมา 3 ฉบับ คือ พ.ร.ก. กู้เงิน พ.ร.ก. อุ้มตลาดตราสารหนี้ BSF และ พ.ร.ก. Soft loan ซึ่ง พ.ร.ก. Soft loan นั้นมีจุดประสงค์ในการปล่อยเงินกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม


แต่ด้วยข้อกำหนดบางประการ อาทิ ต้องเป็นหนี้อยู่ก่อน รวมไปถึงเกณฑ์ที่เอื้อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกที่จะ ‘ลำเอียง’ ปล่อยกู้เพิ่มสภาพคล่องให้กับบางธุรกิจ แต่ไม่ปล่อยให้กับบางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหลายรายไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ได้


ด้วยเหตุนี้ พรรคก้าวไกลจึงได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ. Soft loan ออกมา โดยคำนึงถึงปัญหาที่พบเป็นสำคัญ โดยรัฐบาลเองก็เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้เตรียมเสนอร่างแก้ไขของตนเองเข้ามาประกบ และกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร






เยียวยา ม.33


การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ธุรกิจหลายแห่งต้องปิดกิจการ รวมถึงการเลิกจ้างอย่างเป็นวงกว้าง แต่นอกจากการเยียวยาผู้ถูกเลิกจ้างแล้ว ก็เหมือนว่ารัฐบาลจะลืมกลุ่มคนที่ยังไม่ได้ถูกเลิกจ้าง แต่ถูกปรับลดเงินเดือน ไม่มีเงินค่าล่วงเวลา ที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่ากัน


ปีกแรงงานของพรรคก้าวไกลจึงพร้อมเป็นปากเสียงให้กับพี่น้องแรงงาน โดย สุเทพ อู่อ้น และวรรณวิภา ไม้สน ได้ออกมาส่งเสียงกดดันไปยังรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งกฎหมายประกันสังคม โดยจี้ให้ออกมาตรการที่จะมาช่วยแรงงานในระบบที่มีรายได้ลดลงจากการระบาดของเชื้อไวรัส จนท้ายที่สุด รัฐบาลก็ได้คลอดมาตรการ ม.33 เรารักกัน ออกมาจากเหตุระบาดระลอก 2






ตีแผ่วัคซีนโควิด ‘แทงม้าตัวเดียว’


ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก และการที่จะดึงเอานักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาในประเทศ คนในประเทศก็ควรที่จะต้องได้วัคซีนโดยเร็วที่สุด เหตุผลข้อที่หนึ่งคือเพื่อสร้างหลักประกันให้กับคนในประเทศ ว่าจะไม่ต้องหวาดกลัวกับเชื้อโรคที่นักท่องเที่ยวและนำเข้ามา และเหตุผลอีกข้อหนึ่งคือการที่นักท่องเที่ยวก็จะได้มั่นใจว่า มาเมืองไทยแล้วจะไม่ติดโรคร้ายกลับไป


แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะไม่ได้คิดเช่นนั้น เมื่อตอนที่ผู้ติดเชื้อในประเทศเป็น 0 ก็เรื่อยเฉื่อย ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน จนกำหนดแผนจะฉีดวัคซีนให้กับประชากรให้ได้ครึ่งหนึ่งไปไกลถึงสิ้นปี 2566 ในขณะที่ประเทศอื่นต่างพยายามหาสัญญาซื้อขายวัคซีนมาเร่งฉีดให้กับประชาชนของตนเองกันให้วุ่นไปหมด เพื่อฉีดให้สามารถเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้โดยเร็วเพราะมีความหวังว่าจะสามารถคืนความปกติทางเศรษฐกิจให้กลับมาได้เร็วที่สุด


จนสุดท้ายก็มาถึงบางอ้อ ถึงสาเหตที่ไม่เร่งรีบจัดหาวัคซีน เป็นเพราะได้ให้จัดหาซีนให้กับบริษัทเอกชนเจ้าหนึ่งไปแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้สนับสนุนเงินกว่า 600 ล้านบาท เพื่อช่วยให้เอกชนเจ้านั้นสามารถผ่านเกณฑ์ของบริษัทผลิตวัคซีน AstraZeneca โดยมีข้อตกลงที่คลุมเครือ มีดีลกันตั้งแต่กลางปี 2563 จนป่านนี้ประชาชนเจ้าของเงินภาษีก็ยังไม่ได้เห็นสัญญา


เรื่องนี้จึงถูก วิโรจน์ ลักขณาอดิศร นำไปอภิปรายไม่ไว้วางในนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาโดยได้เปิดเอกสารหลักฐานที่น่าตกใจหลายอย่าง เช่น การที่เราซื้อวัคซีนแพงกว่าประเทศอื่น การที่เราปฏิเสธไม่รับวัคซีนฟรีจากต่างประเทศ การที่เราจัดซื้อวัคซีนจีนที่ดูมีลับลมคมใน และที่สำคัญคือการที่บริษัทเอกชนที่จะมาผลิตวัคซีนให้ไม่เคยมีประสบการณ์ในการผลิตวัคซีนใด ๆ มาก่อน


ทั้งนี้ ประเด็นที่สำคัญของแผนวัคซีนคือการคำนึงถึงผลข้างเคียงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนตัวใดตัวหนึ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะรัฐบาลจัต้องมีวัคซีนหลายยี่ห้อเพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับกลุ่มเสี่ยง เผื่อสำหรับกรณีที่ทดแทนได้ทันทีหากวัคซีนตัวใดส่งผลข้างเคียงที่อาจทำให้ต้องระงับการใช้ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขควรที่จะต้องออกมาตอบให้ชัดเจน แต่สุดท้ายเรื่องนี้ก็ไม่เคยตอบออกมาได้กระจ่างเลยสักที









5

สวัสดิการประชาชนและคุณภาพชีวิตประชาชน


รัฐสวัสดิการ คือ หนึ่งในนโยบายที่สำคัญที่สุดของเราตั้งแต่กำเนิดอนาคตใหม่ จนถึงวันนี้ในฐานะพรรคก้าวไกล เราก็ยังไม่ย่อถอยในการผลักดันให้เกิดสังคมที่มีความเท่าเทียมอย่างแท้จริง ไม่เพียงเท่านั้น เรายังให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผลักดัน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ. อากาศสะอาด (PRTR) , แก้ไขกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม , พ.ร.บ. บำนาญแห่งชาติ ไปจนถึง การเรียกร้องให้เพิ่มงบอาหารกลางวันแก่นักเรียน











ยกระดับสิทธิและสวัสดิการลูกจ้างเหมาบริการภาครัฐให้เท่าเทียมกับลูกจ้างทั่วไป


เดิมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมถึงสถานะลูกจ้างเหมาบริการของหน่วยงานภาครัฐ ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบัน มีผู้ใช้แรงงานมากกว่าเจ็ดแสนคนที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่คุ้มครองเป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


ดังนั้น จึงแก้ไขให้ลูกจ้างเหมาบริการภาครัฐให้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ใช้แรงงานโดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มเวลาเรียนรู้สำหรับแรงงานเพื่อพัฒนาตนเอง เทียบเท่ากับแรงงานในระบบ




[ ผลลัพธ์ ]


ปัจจุบัน ร่างกฎหมาย ดังกล่าวอยู่ระหว่างให้นายกรัฐมนตรีรับรองร่างกฎหมายทางการเงิน









มลพิษต้องถูกตรวจสอบตั้งแต่ต้นทาง เสนอชุดกฎหมายเพื่ออากาศสะอาด


ปัญหามลพิษของไทยมีปัญหาในทุกๆด้าน ไม่ว่าปัญหามลพิษทางอากาศที่เราคุ้นชินในทุกวันนี้ มลพิษทางน้ำ ปัญหาขยะ เรามีตัวเลขสถิติ ข้อมูลในภาพใหญ่ของประเทศอยู่ในมือ แต่กลับจัดการไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาการตรวจสอบมลพิษดังกล่าวเกิดจากรัฐที่ต้องเป็นผู้ลงไปตรวจสอบเองจากปลายทาง โดยไม่เคยรู้ว่าจริงๆใครเป็นผู้ปล่อยมลพิษ ปล่อยมากแค่ไหน จึงไม่สามารถจัดการได้อย่างถูกต้อง แม้จะตั้งใจจะจัดการก็ติดปัญหาว่า หน่วยงานรัฐที่ดูแลการปล่อยมลพิษกลับไม่มีอำนาจในการลงโทษ


ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องผลักดันกฎหมายที่บังคับให้เปิดเผยการปล่อยมลพิษ คือ ร่าง พระราชบัญญัติการรายงานการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (PRTR) ซึ่งจะบังคับอย่างจริงจังว่าโรงงานต้องรายงานการปล่อยหรือระบายมลพิษว่ามากน้อยเท่าไร รวมถึงการเคลื่อนย้ายสารมลพิษ เช่น ขยะ ออกนอกเขตโรงงาน ซึ่งจะทำให้รัฐมีฐานข้อมูลทั้งจุดกำเนิดและเส้นทางการปล่อยมลพิษทั่วประเทศ สามารถตรวจสอบต้นทางที่มีค่าเกินมาตรฐานและจัดการทันทีได้ โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนได้รับผลกระทบ แล้วต้องมาแจ้งปัญหาเอง


กฎหมายอีกฉบับที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม คือ 2.ร่างแก้ไข พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม สาระสำคัญ คือ แก้เนื้อหาเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ให้สามารถมีออำนาจบังคับใช้กฎหมายควบคุมแก้ปัญหามลพิษ จากเดิมที่มีแต่อำนาจตรวจสอบ ไม่สามารถบังคับ หรือลงโทษด้วยตัวเองได้


แม้จะเรียกชุดกฎหมายดังกล่าวว่า ชุดกฎหมายเพื่ออากาศสะอาด แต่จริงๆแล้ว ไม่มีเพียงแค่ มลพิษทางอากาศเท่านั้น แต่เป็นความพยายามที่แก้ไขปัญหามลพิษทั่วประเทศตั้งแต่ต้นทางอย่างเป็นระบบ







[ ผลลัพธ์ ]


ปัจจุบัน ร่างกฎหมายพระราชบัญญัติการรายงานการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (PRTR) กำลังอยู่ระหว่างการยื่นเสนอสู่สภาผู้แทนราษฎร








แก้ไขกฎหมายสมรสเท่าเทียม ปพพ.1448


สาระสำคัญ คือ การแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติ จาก “สามีและภรรยา” เป็น “คู่สมรส” และจากคำว่า “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมาย “คู่สมรส” ที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใด


การปรับถ้อยคำที่ระบุเพศเป็นคำว่า “บุคคล” ทางกฎหมาย ทำให้สถานะ”คู่สมรส”ไม่ได้จำกัดแค่ระหว่าง ชาย กับ หญิง ทำให้คู่รักไม่ว่าเพศใดก็ตามสามารถรับสิทธิตามกฎหมายได้อย่างเท่าเทียมกันทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการตัดสินใจ เรื่องการรักษาพยาบาลของคู่รัก สิทธิในการลดหย่อนภาษี การรับบุตรบุญธรรม หรือสวัสดิการข้าราชการของคู่รัก


นอกจากนี้การแก้ไขกฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เพียงแค่เรื่องสิทธิทางกฎหมายที่เท่าเทียมกันเท่านั้น แต่ยังมองถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุคคลย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมาย ซึ่งจะถูกเลือกปฎิบัติโดยกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเพราะความแตกต่างทางเพศไม่ได้






[ ผลลัพธ์ ]


ปัจจุบัน ร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้บรรจุอยู่ในวาระประชุมสภาผู้แทนราษฎร









ร่างพระราชบัญญัติบำนาญผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน ยกระดับบำนาญผู้สูงอายุให้พ้นเส้นความยากจน


ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบบำนาญเพื่อเป็นหลักประกันทางรายได้สำหรับผู้สูงอายุหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคน การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้ข้าราชการ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนของครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ การออมภาคบังคับผ่านกฎหมายประกันสังคมที่ให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมจ่ายเงินเข้ากองทุนบำนาญ แต่การจัดการดังกล่าวยังไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพยามชราแก่ประชาชน ทั้งยังไม่ครอบคลุมกับประชาชนสูงอายุทุกกลุ่มอย่างเสมอภาคกัน


ร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวจึงผลักดันให้เกิดกองทุนบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า เพื่อเป็นผู้บริหารจัดการบำนาญผู้สูงอายุใหม่ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพทั้งในและนอกระบบ และมีหลักประกันรายได้ที่เท่าเทียมกันเพียงพอให้ดำรงชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีคุณภาพ โดยใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้กำหนดอัตราการจ่ายเงินบำนาญต้องไม่ต่ำกว่า 3,000 ต่อเดือน หรือต้องพ้นจากรายได้ที่ต่ำกว่าระดับเส้นความยากจน






[ ผลลัพธ์ ]


ปัจจุนบัน ร่างกฎหมายฉบับนี้ โดนปัดตกไปพร้อมร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับบำนาญผู้สูงอายุฉบับอื่นๆ โดยนายกรัฐมนตรี









ผลักดันให้เพิ่มงบประมาณรายหัวอาหารกลางวันแก่นักเรียน


วิโรจน์ ลักศขณาอดิศร อภิปรายงบประมาณทางด้านการศึกษาประจำปี พ.ศ. 2564 ณ วันที่ 2 ก.ค. 63 โดยได้เสนอว่าหากตัดงบประมาณโครงการณรงค์ต่างๆ ที่ทั้งสร้างภาระงานธุรการให้ครู ดึงครูออกจากหน้าที่การสอนในห้องเรียน เราจะมีงบประมาณเหลือกว่า 5,818 ล้านบาทที่จะสามารถเพิ่มงบอาหารกลางวันรายหัวของนักเรียนจาก 20 บาท เป็น 23 บาทต่อหัวได้ทันที หรือจัดรถรับ-ส่งนักเรียนในชุมชนที่ห่างไกลมากพอรองรับนักเรียน 1 ล้านคน


ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ว่า “การอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน หากคิดแค่จะปรับเพิ่มแค่ 3 บาท ก็แสดงว่าไม่ได้ใช้ความสามารถในการบริหาร หรือไม่ได้ใช้สมอง” โดยได้ระบุว่า ได้มีแนวคิดที่จะปรับให้เป็น 36 บาทต่อหัวต่อวัน และยังได้ประกาศในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ว่า จะเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่นักเรียน






[ ผลลัพธ์ ]


ต่อมาในมติ ครม. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ก็ได้มีการเห็นชอบปรับงบอาหารกลางวันเพิ่มขึ้นจริง แต่ปรับขึ้นเป็น 21 บาท เพิ่มขึ้นเพียง 1 บาท ในรอบกว่าเกือบ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 จนนำมาสู่ฉายาที่ ส.ส. ปดิพัทธ์ สันติภาดา เรียกว่า รัฐมนตรีบาทเดียว ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564


สุดท้าย แม้เราจะไม่ได้เห็นแนวทางการปรับค่าอาหารกลางวันของ ส.ส.วิโรจน์ถูกนำไปใช้จริง แต่เราก็ได้เห็นผลงานอันมาจากการใช้สมองในการบริหารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาที่ได้เพิ่มค่าอาหารกลางวันให้ทุกคนชื่นใจไปแล้วถึง 1 บาท











6

การผลักดันเศรษฐกิจที่เป็นธรรม


มาถึงหัวข้อรองสุดท้ายของการครบรอบ 2 ปี 24 มีนา นั่นคือ “การผลักดันเศรษฐกิจที่เป็นธรรม” พวกเราชาวอนาคตใหม่-ก้าวไกลมุ่งมั่นเสมอมาในการนำเสนอแนวคิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อทุกคน เศรษฐกิจที่เป็นธรรม และจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังจริงๆ เราได้นำเสนอแนวทางมากมายหลากหลายรูปแบบ ที่เราจะนำมากล่าวถึงกันในโอกาสนี้ ได้แก่ นโยบายเกษตรครบวงจร กระดุม 5 เม็ด ของหัวหน้าพรรคก้าวไกล, การต่อต้านทุนผูกขาดครอบงำประเทศ, พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า และการส่งเสริมอุตสากรรมใหม่ e-sports 











นำเสนอนโยบายเกษตรครบวงจร กระดุม 5 เม็ด


จากพรรคอนาคตใหม่ถึงพรรคก้าวไกลมุ่งมั่นนำเสนอแนวคิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อทุกคน หนึ่งในวิสัยทัศน์ที่ได้รับความสนใจอย่างสูงคือ การนำเสนอแนวคิดเปลี่ยนโครงสร้างภาคเกษตร ผ่านการนำเสนอปัญหา ‘กระดุม 5 เม็ด’ ของเกษตรกรรมไทย โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล


แม้การอภิปรายครั้งนั้นจะผ่านมาแล้วเกือบ 2 ปี แต่ปัญหาทั้งหมดที่ พิธา อภิปรายไว้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเหนือที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ปัญหาการใช้สารเคมีภาคเกษตร การขาดนวัตกรรม และไม่มีแนวคิดสร้างมูลค่าเพิ่มจากภาคเกษตร ยังคงอยู่ และไม่มีทีท่าว่ารัฐบาลจะปรับปรุงแก้ไขอะไรได้


สิ่งที่พิธากล่าวไว้คือ “เมื่อ 10 ปีที่แล้วเราพูดกันเรื่องแปรรูป เราพูดกันเรื่องนวัตกรรม เมื่อ 20 ปีที่แล้วเราพูดกันเรื่องประกันราคาสินค้า เราพูดแต่เรื่องหนี้สินการเกษตร เมื่อ 30 ปีที่แล้วเราพูดเรื่องการปฏิรูปที่ดิน เราพูดเรื่องชลประทาน สำหรับพี่น้องเกษตรกรแล้ว การทำให้เขาลืมตาอ้าปากได้ อยู่ที่เรื่องของรายละเอียด อยู่ที่เรื่องของการปฏิบัติ อยู่ที่เรื่องของความจริงใจในการแก้ปัญหา” ดูเหมือนจะยังใช้ได้เสมอแม้รัฐบาลจะบริหารประเทศมาแล้วเกือบ 3 ปี ก็ตาม


ย้อนกลับไปอ่านสิ่งทิ่ภิปราย https://futureforwardparty.org/?p=5160








ต่อต้านทุนใหญ่เข้าครอบงำเศรษฐกิจของประเทศ




อีกหนึ่งความเลวร้ายที่ระบอบ คสช. มาจนถึงรัฐบาลประยุทธ์สืบทอดต่อกันมา คือปล่อยปละเลย และใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ให้เข้ามาครอบงำเศรษฐกิจชาติมากขึ้น


จากอนาคตใหม่ถึงก้าวไกล เราสู้เรื่องนี้ ตั้งแต่การเสนอนโยบายต่อต้านการผูกขาด และทำตามนโยบายอย่างแข็งขัน ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เปิดโปงการเอื้อประโยชน์ให้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีทอง เชื่อมรถไฟฟ้าเข้าห้างสรรพสินค้าของกลุ่มทุน, ให้เช่าที่ราชพัสดุในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเกือบ 3 เท่า ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ 262 ล้านบาท, ประเคนคลื่นความถี่ 5 ทำรัฐเสียผลประโยชน์ 172,000 ล้านบาท, รวมถึงการประเคนโครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบิน 


นอกจากนี้ เรายังเป็นพรรคการเมืองเดียวที่แสดงจุดยืนชัดเจนในการต่อต้านการฮุบกลืนกิจการค้าปลีกของประเทศ ผ่านการควบรวมกิจการทำให้กลายเป็นกลุ่มทุนเดียวแทบจะกินส่วนแบ่งการตลาดทั้งหมดในประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ผลิตสินค้าต้นน้ำ และประชาชน ผู้บริโภคปลายทาง โดยพรรคก้าวไกลได้ตรวจสอบติดตามการทำงานของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ผ่าน กมธ. พัฒนาเศรษฐกิจ และเรากำลังมีแผนแก้กฎหมายแข่งขันการค้าในอนาคต


คสช. ประเคนผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนอย่างไร ? https://futureforwardparty.org/?p=10506


ซีรีส์ต่อต้านการฮุบกิจการค้าปลีก https://web.facebook.com/SirikanyaOfficial/photos/a.310805699567333/697251030922796/https://web.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/videos/503401580617015








เสนอร่าง พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า


กฎหมายที่ล้าหลัง เป็นอุปสรรคในการสร้างธุรกิจของคนตัวเล็ก จากอดีตพรรคอนาคตใหม่ถึงก้าวไกล ได้ผลักดันการแก้กฎหมายสุราก้าวหน้า เพื่อปลดล็อค เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตคราฟท์เบียร์ และแอลกอฮอล์รายย่อย สามารถประกอบกิจการได้เอง ไม่ให้อุตสาหกรรมสุราถูกผูกขาดอยู่เฉพาะทุนใหญ่


ร่างกฎหมายสุราก้าวหน้าของพรรคก้าวไกล จะแก้ไขมาตรา 153 ของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ห้ามกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ทำโครงสร้างภาษีขั้นบันไดตามขนาดกำลังการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถแข่งขันได้ และปลดล็อกการปรุงแต่งสุรา จากการแต่งกลิ่นแต่งสี และหมักสมุนไพรต่างๆ จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึง 1.5 – 2 หมื่นล้านบาทต่อปี กระจายมูลค่าสู่เกษตรกร-ธุรกิจรายย่อย


ปัจจุบัน ร่างกฎหมายสุราก้าวหน้าได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็น และกำลังต่อคิวเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเราต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าสภาจะนำเข้าสู่การพิจารณาเมื่อใด และจะมีพรรคการเมืองไหนขวางการปลดล็อคเศรษฐกิจสู่รากหญ้าหรือไม่ !?


รายละเอียดกฎหมายสุราก้าวหน้า https://futureforwardparty.org/?p=9616


นื้อหาร่างกฎมาย http://edoc.parliament.go.th/getfile.aspx?id=735874&file=6.4+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95.pdf&download=1









สร้างเศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรม E-Sports ผลักดันธุรกิจเกมส์ไทย


ธุรกิจใหม่ เศรษฐกิจใหม่ คือโอกาสของโลกอนาคต ท่ามกลางความไม่เข้าใจ การขัดขวาง และการปล่อยปะละเลยขาดการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมส์ ของคนในรัฐบาลที่ยังอยู่ในยุคอนาล็อก พรรคก้าวไกล พยายามผลักดันให้มีการศึกษาแนวทางการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและอีสปอร์ต ผ่าน อนุกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร



คณะกรรมาธิการคณะนี้ประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ตัวจริง เสียงจริง ทั้งที่อยู่ในแวดวงสตรีมเมอร์ อาจารย์ นายกสมาคม E-Sports ที่เข้ามาให้ข้อมูลและนำเสนอเสียงของพวกเขาส่งไปถึงรัฐบาล


“ประเทศไทยเรามีความพร้อมทุกอย่าง มีเงินทุน มีตลาดที่ใหญ่โต แต่อุตสาหกรรมเกมไม่เติบโตเท่าที่ควร รวมทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมนี้ยังต้องเติบโตอย่างโดดเดี่ยว ภาครัฐมีส่วนสนับสนุนบ้างแต่ไม่ตรงจุดนัก ทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสที่จะสร้างรายได้ จนสิ่งที่ได้มาไม่สมกับศักยภาพที่ประเทศไทยมี”

จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส. พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานได้กล่าวในการแถลงเปิดตัวอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์เกมและ e-sports สภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวไว้


ภาพบรรยากาศในอนุกรรมาธิการ https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/posts/212903640341664/









7
ปกป้องประชาธิปไตย
ต่อต้านเผด็จการอำนาจนิยมสมบูรณาญาสิทธิ์


สำหรับหัวข้อสุดท้ายมาในชื่อ “ปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการอำนาจนิยมสมบูรณาญาสิทธิ์” และตรงตามชื่อหัวข้อ นี่คือภารกิจใหญ่ที่เราตั้งมั่นไว้ตั้งแต่รวมตัวกันเพื่อจดจัดตั้งชื่อ “พรรคอนาคตใหม่” และวันนี้ “พรรคก้าวไกล” ก็ยังพร้อมใจในจุดมุ่งหมายดังกล่าว เราเข้ามาเพื่อล้มล้างมรดกบาปสืบทอดอำนาจรัฐประหาร คสช., ต่อต้านการรัฐประหารในภายภาคหน้า และปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจากนายกรัฐมนตรีที่ไม่สามารถทำหน้าที่ในฐานะ “กันชน” และ “เครื่องห้ามล้อ” ของสถาบันฯ ได้ จนเป็นเหตุให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงทุกวันนี้








จากอนาคตใหม่สู่ก้าวไกล มุ่งมั่นล้มล้างมรดก คสช.


ล้มล้างมรดก คสช. เป็นนโยบายหลักที่พรรคอนาคตใหม่นำเสนอในการเลือกตั้ง ซึ่งนั่นนำมาสู่ การเสนอตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบ เกี่ยวกับการใช้อำนาจของ คสช. การออกคำสั่งของและการใช้มาตรา 44 ของ คสช.


ผู้แทนของพรรคอนาคตใหม่ได้อภิปรายชี้ให้เห็นความเลวร้ายและผลกระทบของการใช้อำนาจเผด็จการ ม.44 อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ม.44 ทวงคืนผืนป่า ทำลายสิทธิ์เหนือที่ดินของชาวบ้าน, การใช้ ม.44 เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนโทรคมนาคม, และการใช้ ม.44 ละเมิดสิทธิเสรีภาพ จับกุม ดำเนินคดีกับประชาชน


ถึงแม้ความพยายามในการตั้ง กมธ. วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้ ม.44 ครั้งนั้นจะไม่สำเร็จจากการใช้กติกาอย่างไม่เป็นธรรม แต่เนื้อหาความเลวร้ายของระบอบ คสช. ก็ได้ถูกบันทึกไว้ในสภาผู้แทนราษฎร



เนื้อหาญัตติ

http://edoc.parliament.go.th/getfile.aspx?id=711774&file=%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4+22.pdf&download=1


“อนาคตใหม่” วาง 10 ส.ส. อภิปรายชำแหละประกาศ/คำสั่ง คสช. – ม.44 “ปิยบุตร” ชี้เสมือนเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจย้อนหลัง – ประชาชนยังคงได้รับผลกระทบวงกว้าง

https://web.facebook.com/watch/?v=968335986863284


ญัตติตั้ง กมธ.ศึกษาผลกระทบคำสั่ง ม.44 ที่ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นผู้เสนอ ชนะโหวตในสภา!!! ด้วยคะแนน 234 ต่อ 230 แต่ ส.ส.พลังประชารัฐหลายคนยกมือประท้วงขอนับคะแนนใหม่

https://web.facebook.com/FWPthailand/posts/2607884835953761






จากอนาคตใหม่สู่ก้าวไกล มุ่งมั่นต่อต้านและล้มล้างการรัฐประหาร


การรัฐประหารเป็นปฏิปักษ์ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย แต่น่าแปลกใจที่ผู้แทนราษฎรจากระบอบประชาธิปไตยไม่เคยคิดปฏิปักษ์ล้มล้างการรัฐประหาร พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคการเมืองแรก ที่เสนอญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต


ในตอนนั้น พวกเราได้นำเสนอมาตรการในการจำกัดอำนาจกองทัพ ห้าม ส.ส. นักธุรกิจ นายทุน เป็นท่อน้ำเลี้ยงให้ทหารที่ยึดอำนาจ การรัฐประหารเกิดขึ้นไม่ได้ถ้านายทหารระดับปฏิบัติการ ข้าราชการ ไม่ยินยอม และโต้แย้ง นิติกรไม่ช่วยเขียนกฎหมายป้องกันคณะรัฐประหารหลังรัฐประหาร ศาลตัดสินลงโทษ และ ส.ส.พร้อมใจกันต่อต้านรัฐประหาร นักธุรกิจและนายทุนไม่เป็นท่อน้ำเลี้ยง


แน่นอนว่ารัฐบาลประยุทธ์ ไม่มีทางยอมให้ญัตตินี้ที่มีผลไปถึงหัวใจของระบอบเผด็จการผ่านได้ แต่เรายังไม่ยอมแพ้และจะทำงานทางความคิด รวมทั้งนำเสนอเป็นนโยบายเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร ไม่ให้เกิดการยึดอำนาจขึ้นอีกในอนาคต



เนื้อหาญัตติ

http://edoc.parliament.go.th/getfile.aspx?id=714512&file=6.2+%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3+(%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3).PDF&download=1


ครั้งแรกในรัฐสภาไทย! “อนาคตใหม่” เตรียมอภิปรายญัตติ ตั้ง กมธ.ศึกษา-ป้องกันการเกิดรัฐประหารฯ

https://web.facebook.com/FWPthailand/posts/2758295267579383


ปิยบุตร อภิปรายญัตติขอให้ตั้ง กมธ. ศึกษาแนวทางป้องกัน #รัฐประหาร เสนอ 3 มาตรการป้องกันการรัฐประหารในประเทศไทย

https://web.facebook.com/FWPthailand/posts/2761913423884234






จากอนาคตใหม่สู่ก้าวไกล มุ่งมั่นปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคือการรักษาสัมพันธภาพระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน ให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมืองและการใช้อำนาจบริหาร ทรงปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง


แต่ดูเหมือนว่าภายใต้การปกครองของรัฐบาลประยุทธ์ ความสัมพันธ์นี้จะถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ การถวายสัตย์ปฏิญาณไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ, การออกพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพล และงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562, การใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ดำเนินคดีกับนักศึกษาและประชาชนอย่างกว้างขวาง


จากพรรคอนาคตใหม่ถึงพรรคก้าวไกลเราต่อสู้อย่างแข็งขันต่อสิ่งที่รัฐบาลทำเพื่อให้คงรักษาสัมพันธภาพระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนให้เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลได้กล่าวไว้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

“นายกรัฐมนตรีที่ดีในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องทำหน้าที่สองอย่าง คือ 1. เป็นทั้ง ‘ห้ามล้อ’ ไม่ให้พระราชอำนาจไปขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2.เป็นทั้ง ‘กันชน’ ไม่ให้เรื่องเสื่อมเสียกระทบไปถึงสถาบัน ทั้งนี้ เมื่อใดก็ตาม เกิดเหตุการณ์ที่อาจทำให้พระราชอำนาจขยายเกินขอบเขตของรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ในฐานะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในฐานะผู้รับผิดชอบแทนพระมหากษัตริย์ก็ต้องกล้าที่จะถวายทางเลือกที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ นี่คือ บทบาท ‘เครื่องห้ามล้อ’ ของนายกในระบอบนี้ เช่นเดียวกัน นายกรัฐมนตรีต้องปกป้องสถาบัน ไม่อ้างถึงสถาบันพร่ำเพรื่อ เพื่อสร้างแรงสนับสนุนทางการเมืองให้แก่ตนเอง จนอาจทำให้ประชาชนผู้ไม่เห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี ตั้งคำถามไปถึงสถาบันได้ นี่คือ บทบาท ‘กันชน’ ไม่ให้เกิดข้อวิจารณ์พุ่งตรงไปที่สถาบัน”


“ทรงปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง” เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ปลอดพ้นจากการเมือง – ‘พิธา’ นำ ‘ก้าวไกล’ ยื่นเสนอแก้ไขชุดร่างกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน รวมถึงมาตรา 112 เพื่อธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

https://web.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/photos/a.104388194526543/257920965839931/


ทางสองแพร่งต้องเลือก “ประยุทธ์” หรือ “ประเทศ” ? “พิธา” จัดหนักสาเหตุต้องอภิปรายนายกฯ “ทุจริต – สร้างแตกแยกคนในชาติ – ไร้ความสามารถบริหาร” ชี้ข้อหาร้ายแรงสุดคือ “ไม่เข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ดึงสถาบันเกี่ยวข้อง “การเมือง” เพื่อปกป้องตัวเอง

https://web.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/photos/a.104388194526543/264021771896517/

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า