free geoip

พ.ร.บ.ประชามติ ผ่านแล้ว… ‘ก้าวไกล’ ก้าวอย่างไรต่อ



ขณะนี้เป็นที่กระจ่างชัดและรับรู้โดยทั่วกันว่า “อำนาจสถานารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน” เพื่อให้สามารถตอบสนองเจตนารมณ์ของประชาชนได้มากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการรับฟังเสียงส่วนใหญ่ในสังคมว่าต้องการเห็นประเทศเดินไปอย่างไร ซึ่งเวลานี้หนึ่งในวาระสำคัญที่สุดวาระหนึ่งก็คือ การเปิดทางให้มี ‘สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ’ หรือ สสร. ที่มาจากประชาชน เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริงทั้งฉบับ ซึ่งเครื่องมือสำคัญเพื่อการนี้ก็คือ “พ.ร.บ.ประชามติ” ที่เพิ่งผ่านสภามาสดๆ ร้อนๆ ในวันนี้

ถึงตอนนี้ เมื่อมีเครื่องมือว่าด้วยการทำประชามติเพื่อรับฟังเสียงของประชาชนเกิดขึ้นแล้ว ลองมาดูกันว่า ขั้นตอนและกระบวนการต่อไปในการทำประชามติตามกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง



(1) มาตราสำคัญ : มาตรา 9 การออกเสียงประชามติเริ่มได้ด้วย…


1.1 การทำประชามติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ

1.2 การทำประชามติเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นควร

1.3 การทำประชามติตามกฎหมายอื่น

1.4 การทำประชามติเมื่อรัฐสภาได้ลงมติให้จัดทำประชามติ

1.5 การทำประชามติเมื่อประชาชนไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี



(2) กระบวนการทำประชามติ


2.1 เมื่อเริ่มกระบวนการตามข้อ (1) ให้ประธานสภาแจ้งต่อนายกฯ และนายกต้องประกาศวันออกเสียงประชามติหลังจากได้รับแจ้ง 90 วัน แต่ต้องไม่เกิน 120 วัน (มีเวลารณรงค์ประชามติ ได้อย่างน้อย 90 วัน)

2.2 เมื่อเริ่มกระบวนการตามข้อ (2) (3) ให้นายกประกาศวันออกเสียงประชามติหลังจากได้รับแจ้ง 90 วัน แต่ต้องไม่เกิน 120 วัน (มีเวลารณรงค์ประชามติ ได้อย่างน้อย 90 วัน)

2.3 กระบวนการตามข้อ (4) หลังรัฐสภาดำเนินการลงมติแล้ว ให้ประธานสภาแจ้งต่อนายกฯ และนายกต้องประกาศวันออกเสียงประชามติหลังจากได้รับแจ้ง 90 วัน แต่ต้องไม่เกิน 120 วัน (มีเวลารณรงค์ประชามติ ได้อย่างน้อย 90 วัน)

2.4 กระบวนการตามข้อ (5) ประชาชนรณรงค์เข้าชื่อจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 รายชื่อ แล้วยื่นให้นายกฯ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการจัดทำประชามติ ซึ่งจะดำเนินการต่อตามข้อ 2.1



แล้วพรรคก้าวไกลจะทำอะไร ?


เมื่อ พ.ร.บ.ประชามติ ประกาศใช้ พรรคก้าวไกลจะดำเนินการทันทีตาม (4) เพื่อเสนอญัตติด่วนให้รัฐสภาพิจารณามีมติและแจ้งไปยังนายกฯ เพื่อประกาศทำประชามติถามประชาชนว่า เห็นชอบหรือไม่ที่จะตั้ง สสร. เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่รัฐธรรมนูญ 2560 และด้วยเหตุที่ก่อนหน้านี้เมื่อมีวาระพิจารณาในการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเข้ามา ทั้ง ส.ว. และพรรคพลังประชารัฐ อ้างมาตลอดว่าต้องถามประชาชนก่อน นั่นจึงเท่ากับว่าครั้งนี้ไม่มีเหตุผลใดอีกที่จะหลีกเลี่ยงการประชามติเพื่อรับฟังเสียงของประชาชน ทั้งยังเป็นแนวทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากศาลรัฐธรรมวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน” การตั้ง สสร. เพื่อแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับสามารถทำได้แต่ต้องผ่านประชามติจากประชาชนก่อน

Login

พรรคก้าวไกล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า