free geoip

‘แพทย์ชนบท’ บุกกรุง 3, ก้าวไกล – เปลือกส้ม ร่วมอาสาภารกิจ ตรวจเชิงรุก 7,000 คน


‘ก้าวไกล’ ผนึกกำลัง ‘กลุ่มเปลือกส้ม’ เสริมพลัง ‘แพทย์ชนบท’ บุกกรุง 3 ตรวจเชิงรุก 7,000 ราย จี้ ภาครัฐเร่งพัฒนาระบบสาธารณสุข กทม. ลดภาระบุคลากรทางการเเพทย์แก้ไขวิกฤติให้ตอบโจทย์

“วันนี้เป็นที่ 6 แล้วที่มาช่วยเหลือคนกรุงเทพมหานครให้ได้เข้าถึงการตรวจ ที่ผ่านมาทั้ง 6 ชุมชนที่ลงไป เป็นพื้นที่ชายขอบของกรุงเทพฯ ประชาชนเข้าถึงมาตรการสาธารณสุขอย่างลำบาก พอตรวจเเล้วก็ไม่มีที่จะรักษา กรุงเทพมหานครมีแต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่รับผู้ป่วยวิกฤต แต่เตียงก็ล้นไปแล้วตามหน้าข่าวที่เราเห็น ยังมีกลุ่มคนหนาแน่นตามชุมชนแออัดและแคมป์คนงานต่างๆ ที่ยังเข้าไม่ถึงการตรวจ นี่คือสิ่งที่เราต้องเข้ามาตรวจเพื่อช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น เพื่อให้เราสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน”

อรัญญา คงสวัสดิ์ พยาบาลเฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อ ในฐานะผู้นำทีมแพทย์อาสาชนบท จากโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช




9 สิงหาคม 2564 ณ สนามกีฬาเอนกประสงค์ โรงเรียนปัญญาวรคุณ เขตบางเเค กรุงเทพมหานคร พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์, ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล , สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ รองเลขาธิการ , ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขตบางเเค, เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส. เขตบางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน , ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส. เขตบางขุนเทียน , ธีรัจชัย พันธุมาศ , ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล, กัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี , สมเกียรติ ไชยวิสุทธิคุณ และ ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมด้วยว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล หรือ ‘กลุ่มเปลือกส้ม’ ปฏิบัติการร่วมเป็นอาสาสมัคร ‘โครงการเเพทย์ชนบทบุกกรุง’ เพื่อตรวจและฉีดวัคซีนเชิงรุกให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลดการเเพร่ระบาดเเละความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

“โครงการนี้ริเริ่มโดยชมรมเเพทย์ชนบท เป็นการบุกกรุง ครั้งที่ 3 เพื่อตรวจเชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 4-10 สิงหาคม 2564 ในวันนี้เรารวมกันเป็น ‘กลุ่มเปลือกส้ม’ ประกอบด้วยสมาชิกของพรรคก้าวไกล ส.ส. , อดีตผู้สมัคร ส.ส. , ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. และอาสาสมัครจากภาคส่วนต่างๆ มาร่วมทำงานสนับสนุนทีมแพทย์ใน 2 จุดด้วยกัน คือ จุดคัดกรองวัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร จำนวน 5,000 คิว ได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้ตรวจ ส่วนอีกจุดหนึ่งคือโรงเรียนปัญญาวรคุณ จำนวน 2,000 คิว เป็นความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเห็นว่าประชาชนเข้ามารับการตรวจอย่างหนาแน่น แต่ก็ได้มีการบริหารจัดการเว้นระยะห่างทางสังคมให้มากที่สุด รวมถึงบุคคลากรทุกคนจะต้องใส่ชุดปลอดเชื้อ (PPE) ให้ได้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัย”



“ตอนนี้ประชาชนจำนวนมากหวาดกลัว และไม่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อหรือไม่ จากที่ได้พูดคุยกับประชาชนบางส่วน ได้รับการสะท้อนว่า เขารู้ว่าตัวเองติดเชื้อเเล้ว แต่ที่มาตรวจที่นี่เพราะต้องการรับยาในการรักษาและบรรเทาอาการ ขั้นตอนที่ทีมแพทย์ชนบทเตรียมไว้คือ หลังตรวจแบบ ATK แล้ว หากประเมินว่าผู้ป่วยมีอาการอยู่ในระดับสีเขียวและจำเป็นต้องได้รับยา เเพทย์ก็จะจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้เพื่อต้านไวรัส อย่างไรก็ตาม การที่เขารู้ตัวว่าติดเชื้อแต่ไม่มียารักษาแล้วต้องเดินทางจากบ้านเพื่อมายืนยันตนในระบบที่นี่อีกครั้ง คือการสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการจัดการด้านสาธารณสุขของรัฐบาล สิ่งที่ควรทำตอนนี้ คือต้องตรวจเชิงรุกให้เร็วเเละจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้กับผู้ป่วย เพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนจากผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวไปเป็นสีเหลือง หากรัฐไม่เร่งรีบจ่ายยาผู้ป่วยจะเปลี่ยนระดับเป็นวิกฤตมากขึ้น เตียงก็พอไม่พอ ระบบสาธารณสุขก็จะมีปัญหาเหมือนที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ และจะมีอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก”

พิจารณ์ สะท้อน



ขณะที่ ณัฐพงษ์ ในฐานะ ส.ส.เขตบางแค ซึ่งเป็นพื้นที่ตรวจคัดกรองครั้งนี้ กล่าวว่า เขตบางเเคถือเป็นพื้นที่เสี่ยงอันดับต้นๆของกรุงเทพฯ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก แต่ระบบการตรวจที่ทางหน่วยงานราชการมี บางครั้งอาจจะไม่พอกับความต้องการของประชาชน ในฐานะของผู้แทนราษฏร เราจึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อเสริมศักยภาพของหน่วยงานรัฐ การดำเนินการวันนี้จึงเป็นการประสานงานร่วมกันกับ หน่วยแพทย์ชนบท, สปสช. กรุงเทพมหานคร เเละ ส.ส. ของพรรคก้าวไกลทุกคน ที่ทำงานภายใต้กลุ่มเปลือกส้ม นอกจากผู้รับการตรวจคัดกรองจะได้รับการประเมินเพื่อจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์แล้ว ยังมีการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนก้า จำนวนกว่า 200 กว่าโดส ให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงด้วย



เช่นเดียวกับ ณัฐชา ที่สะท้อนว่า ความจริงแล้วความหนาแน่นต่อวันของการตรวจคัดกรองไม่ควรมากขนาดนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า พี่น้องประชาชนรอคอยความหวังจากหน่วยงานของภาครัฐและรอคอยการตรวจเชิงรุกมานาน ก่อนหน้านี้การที่ กทม.และ สธ. ตั้งจุดตรวจเพียง 3-4 จุดในกรุงเทพฯ โดยจัดคิว 4,000-6,000 คิวต่อวัน ซึ่งคิวก็เต็มตั้งแต่ 06.00 น. เป็นสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์

“สิ่งที่แพทย์ชนบททำเป็นต้นแบบจึงถือเป็นทางออกของพี่น้องประชาชนในเมืองหลวง เขาเข้าไปตรวจเชิงรุกถึงพื้นที่ปัญหา ไม่ว่าชุมชนเล็กๆ 100-200 คิวก็ไป ใหญ่ขึ้นมาหน่อย 1,000-2,000 คิวก็ไป หลังจากนี้ถ้าหน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นตัวอย่างเพื่อดำเนินการให้ต่อเนื่อง คิดว่าจะสามารถแก้ไขวิกฤตตอนนี้ได้”




อำนาจ ปานเผือก ในฐานะว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางแค สะท้อนว่า เขตบางแคและพื้นที่ใกล้เคียงยังมีปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติซึ่งรวมถึงเด็กๆ ด้วย แต่คนกลุ่มนี้ไม่มีโอกาส เข้าถึงการตรวจเชิงรุกเลย เช่นเดียวกับกลุ่มคนที่มีฐานะไม่ดีนักและอยู่อย่างแออัด การตรวจวันนี้จึงสำคัญต่อพวกเขามาก หลายครั้งที่พวกเขาต้องอยู่กับความกังวลสงสัยว่าคนในครอบครัวจะติดเชื้อหรือไม่ จะนำไปติดคนในครอบครัว ลูกหลาน คนชราหรือผู้ติดเตียงหรือเปล่า เพราะที่ผ่านมาเมื่อไปโรงพยาบาลก็ถูกปฏิเสธเพราะต้องการเอกสารยืนยันผลตรวจแบบ RT- PCR ซึ่งต้องใช้เวลารอ จนทำให้ไม่ได้รับยา ไม่ได้คิวเตียง หลายคนจึงเสียชีวิตไปก่อน ที่เราเจอการเสียชีวิตคาบ้านก็มี การลงรุกตรวจจึงตอบโจทย์ในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในวิกฤตครั้งนี้ แต่ก็คาดหวังเช่นกันว่าจะมีความต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง ผู้ติดเชื้อในระดับสีเขียวถึงจะมีมากก็ไม่เป็นไรเพราะเขายังมีโอกาสกลับมาแข็งแรงได้เร็วหากรักษาอย่างทันท่วงที แต่การเปลี่ยนเป็นคนไข้ระดับสีเหลืองหรือแดงที่มากขึ้นแบบก้าวกระโดดดังที่ผ่านมาต่างหากที่เราจะต้องชะลอสถานการณ์นั้นให้ได้



Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า