free geoip

ทำไมถึงควรปรับปรุงกรมหม่อนไหมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


สรุปเหตุผล ทำไมถึงควรปรับปรุงกรมหม่อนไหมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากที่ เบญจา แสงจันทร์ ผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายงบประมาณของกรมหม่อนไหม ในโพสต์นี้ พรรคก้าวไกลจะมาสรุปเนื้อหาการอภิปรายว่าทำไม กรมหม่อนไหมถึงควรปฏิรูปปรับลดงบประมาณ



เหตุผลแรก

ตลาดหม่อนไหมมีขนาดเล็กมากในการตั้งส่วนราชการระดับกรม

โดยมีมูลค่าเพียง 3,200 ล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นตลาดผ้าไหมในประเทศ 3,000 ล้านบาท ตลาดผ้าไหมส่งออกไปต่างประเทศแค่ 94 ล้านบาท ที่เหลืออีก 107 ล้านบาท เป็นการส่งออกรังไหมและเส้นไหม

ขณะที่กรมหม่อนไหมได้งบประมาณถึง 506 ล้านบาท หรือแค่กรมที่กำกับดูแล ก็มีต้นทุนคิดเป็น 1 ใน 6 ของมูลค่าตลาดหม่อนไหมทั้งหมดแล้ว

เมื่อเทียบกับตลาดสินค้าเกษตรประเภทอื่น เช่น วัว จะที่มีมูลค่าตลาดถึงกว่า 70,000 ล้านบาทต่อปี แต่เราก็ยังไม่เห็นที่จะต้องตั้งกรมวัวเพื่อดูแลวัวในประเทศ กรมปศุสัตว์สามารถดูแลได้ ไม่เห็นต้องตั้งหน่วยงานใหม่แยกออกมา




เหตุผลที่สอง

การตั้งหน่วยงานออกมาเป็นกรมใหม่ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง

พอหน่วยงานมีสถานะเป็นกรม สิ่งที่จะตามมาคือการเปิดตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งอธิบดี รองอธิบดี อีกทั้งยังต้องมีการตั้งสำนักและกองงานภายในที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับธุรการและเอกสาร รวมไปถึงการก่อสร้างอาคารสำนักงานต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ซึ่งเรื่องนี้เป็นการสร้างภาระงบประมาณไม่จำเป็น

รายละเอียดการใช้งบประมาณที่กรมหม่อนไหมได้รับ กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 316 ล้านบาท เป็นงบบุคลากร ทั้งงบเงินเดือนข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ค่าทำการนอกเวลา ค่ารถประจำตำแหน่ง จนไปถึงการจ้างเหมาแม่บ้าน รปภ. ในการดูแลอาคารสำนักงาน

งบประมาณที่มีไว้สำหรับดำเนินกิจกรรมนั้นเหลืออยู่แค่ 190 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้ หากมีการควบรวมกรมแล้ว ก็จะสามารถลดลงได้อย่างน้อยๆ 20 เปอร์เซ็นต์




เหตุผลที่สาม

โครงการที่กรมหม่อนไหมทำอยู่ มีประสิทธิภาพหรือไม่?

ในงบทำโครงการกรมหม่อนไหม 190 ล้านบาท ในจำนวนนี้

  • 65 ล้าน เป็นเงินค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าเช่ารถยนต์ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าจัดอบรม จัดนิทรรศการ
  • 37 ล้าน เป็นเงินค่าวัสดุการเกษตร เช่น รถแทรกเตอร์ รถไถ ที่ใช้สำหรับแปลงปลูกหม่อนของกรม เป็นงบโครงการในพระราชดำริ 15 ล้าน
  • อีกประมาณ 40 ล้าน จึงค่อยเป็นงบที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินคุณภาพผ้าไหม และเป็นงบจัดซื้อท่อนพันธุ์หม่อนสำหรับแจกจ่ายให้กับเกษตรกร



เรายังเห็นโครงการที่น่าตั้งคำถาม เช่น โครงการการตลาดนำการผลิตด้านสินค้าหม่อนไหม ใช้เงินทำโครงการ 3.75 ล้านบาท แต่ตัวชี้วัดของโครงการคือมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หม่อนไหมภายใต้โครงการนี้ 2.5 ล้านบาท




สรุป

ย้ำอีกครั้งว่า “เราไม่ได้เสนอให้เลิกสนับสนุนกิจการหม่อนไหม” แต่เราต้องการปรับปรุงให้หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมหม่อนไหมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น

  • ปรับสถานะเป็นสำนักสังกัดภายใต้กรมอื่น เพื่อลดงบประมาณด้านธุรการเอกสารหรืออาคารสำนักงานที่ซ้ำซ้อนไม่จำเป็นลง และสามารถนำเงินส่วนนั้นไปใช้พัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมให้ดียิ่งขึ้น
  • พัฒนากิจการหม่อนไหมของไทยในด้านของการลดต้นทุนการผลิต และการหาตลาดให้กับสินค้าหม่อนไหม มากกว่าที่จะไปสอนคนให้ทอผ้า
  • สนับสนุนด้านงานวิจัยและเทคโนโลยี เช่น การวิจัยเพื่อผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับหนอนไหม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม กระตุ้นให้หนอนไหมผลิตใยไหมที่มีคุณภาพ ดีกว่าให้ชาวบ้านปลูกต้นหม่อน แล้วค่อยเอาใบหม่อนมาเลี้ยงไหมอีกต่อหนึ่ง
  • ป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับหนอนไหม ที่ทำให้หนอนไหมตาย หรือไม่สามารถผลิตใยไหมที่มีคุณภาพออกมาได้



แต่ในปัจจุบัน เราไม่เห็นงบประมาณสำหรับใช้แก้ไขปัญหาในส่วนนี้เลย ว่าภายใต้งบประมาณ 506 ล้านบาท ของกรมหม่อนไหม จะช่วยพัฒนาสิ่งเหล่านี้อย่างไร…

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า