free geoip

ระบบเลือกตั้งแบบไหนที่สะท้อนเสียงประชาชนอย่างแท้จริง

บทอภิปรายวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดย ส.ส. ‘เท้ง’ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
ส.ส. เขตบางแค กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล

ท่านประธานครับ เนื่องจากเราได้พิจารณาผ่านมาตรา 3 แก้ไข เพิ่มเติมมาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมา แล้ว ว่าเราจะกลับไปใช้สัดส่วนจำนวนส.ส. แบบแบ่งเขต กับ แบบบัญชีรายชื่อเป็นแบบ 400/100 เหมือน กับ รธน.40 ซึ่งเป็น ระบบเลือกตั้งที่ได้พิสูจน์ให้พวกเราเห็นในหน้าประวัติศาสตร์ ทางการเมืองที่ผ่านมาแล้วว่า ยังเป็นระบบที่มีช่องโหว่อยู่พอ สมควรครับ อาทิ การเกิดกรณี “ผู้ชนะกินรวบประเทศ” (Winner Takes All) เป็นระบบเลือกตั้งที่ “ไม่เปิดโอกาสให้กับผู้เล่นหน้าใหม่” และ เป็นระบบเลือกตั้งที่ “บิดเบือนเจตจำนง ไม่สะท้อนเสียงของพี่น้องประชาชน”




ในฐานะผู้แปรญัตติที่ได้สงวนคำแปรญัตติ ในมาตราที่ 4 เพื่อ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผมต้องการอภิปรายเพื่อย้ำเตือนเพื่อนสมาชิกทุกท่านอีกครั้ง ครับว่า มาตรานี้ คือปราการด่านสุดท้าย ที่พวกเราจะสามารถ กอบกู้และป้องกัน ไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำร้อยแบบที่เกิดขึ้น ในระบบเลือกตั้งของ รธน.40

ซึ่งระบบที่ดีที่พวกเราต้องช่วยกัน สถิตย์ไว้ในมาตรานี้ก็คือ ระบบเลือกตั้งที่ต้อง 


(1) “ป้องกันผู้ชนะ กินรวบประเทศ” 

(2) “เปิดโอกาสให้คนตัวเล็กตัวน้อย ตัวแทน ของคนทุกกลุ่ม สามารถมีที่นั่งในสภาได้” และ 

(3) ต้องเป็น ระบบเลือกตั้งที่ “แสดงเจตจำนง จำนวน ส.ส. ที่นั่งในสภาสะท้อนเสียงของพี่น้องประชาชน”

การอภิปรายของผมต่อจากนี้ จะใช้วิธีการยกตัวอย่างการคำนวณผลการเลือกตั้งเปรียบเทียบ ระหว่างระบบ คู่ขนาน (ตามร่างที่ กมธ. เสนอเข้าสู่สภา) กับระบบแบบก้าวไกล ที่ผมและเพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกลได้สงวนคำแปรญัตติไว้






สไลด์หน้านี้ แสดงอย่างโจทย์ผลคะแนนเสียงการเลือกตั้งที่ เหมือนกัน เพื่อใช้เปรียบเทียบ ว่าผลลัพธ์จากการเลือกตั้ง หรือ จำนวนที่นั่ง ส.ส. ในสภาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ระบบทั้ง 2 ระบบ นั้น จะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ

ในตัวอย่างนี้ มีจำนวนพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 5 พรรค ประกอบไปด้วยพรรค A, B, C, D และ E ตามลำดับ มีจำนวน ส.ส. เขต ที่ชนะการเลือกตั้ง และจำนวนคะแนนของ บัตรเลือกตั้งใบที่ 2 (หรือ บัตรที่ใช้ลงคะแนนเลือกพรรค หรือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ) ตามที่ปรากฏในตารางครับ

ในสไลด์หน้านี้ก็คือ

  • พรรค A เป็นตัว แทนพรรคใหญ่ ที่ชนะ ส.ส.เขตอย่างล้นหลาม นั่นก็คือ ได้ที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตทั้งสิ้น 190 เก้าอี้ 
  • พรรค B เป็นตัว แทนพรรคใหญ่เช่นกัน มีสัดส่วนคะแนนบัตรเลือกตั้งใบที่ 2 เท่า กับพรรค A ที่ 33.33% เท่ากัน แต่พรรค B ชนะส.ส.เขตได้น้อย กว่าพรรค A นั่นก็คือ ได้ที่นั่ง 150 เก้าอี้ 
  • ส่วนพรรค C, D และ E ก็เป็นตัวแทนพรรคขนาดกลาง-เล็กลงมาตามลำดับ โดยที่พรรค E ไม่สามารถเอาชนะเก้าอี้ ส.ส.แบบแบ่งเขตได้เลย แต่ได้รับคะแนนเสียงโหวตจากบัตรเลือกตั้งใบที่ 2 อยู่ 2.67%


นี่คือผลลัพธ์จากการใช้ระบบเลือกตั้งต่างกัน ภายใต้ผลการออกเสียงลงคะแนนจากพี่น้องประชาชนที่เหมือนกัน นั่นก็คือ ความแตกต่างของจำนวนเก้าอี้ ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งใน สภาระหว่างระบบคู่ขนาน (ตามที่ กมธ. เสนอมา) กับระบบแบบก้าวไกล (ตามที่พวกเราขอแปรญัตติมา)




ข้อสังเกต ก็คือ พรรค A ชนะการเลือกตั้ง ส.ส.เขต เกินกว่าจำนวน ส.ส.พึงมี ตามสัดส่วนที่คำนวณจากคะแนนบัตร เลือกตั้งใบที่ 2 จะไม่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมอีก โดยที่จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จะถูกนำไปเฉลี่ยลงให้กับพรรคอื่น ที่มีจำนวน ส.ส.เขต ที่ได้รับเลือกตั้งน้อยกว่า จำนวน ส.ส.พึงมี ตามสัดส่วนคะแนนเสียงของบัตรเลือกตั้งใบที่ 2 ซึ่งจะช่วยให้เกิด ความเป็นธรรม และมีจำนวน ส.ส. ในสภาที่สะท้อนเสียงความต้องการของพี่น้องประชาชน




ข้อเปรียบเทียบ เพื่อแสดงให้เห็นค่าความ คลาดเคลื่อนจากทั้งสองระบบครับ โดยการคำนวณหาค่า “จุด ร้อยละ” หรือ Percentage Point ที่แตกต่างกันระหว่างสัดส่วน จำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งในสภา กับสัดส่วนคะแนนเสียงที่ ประชาชนลงคะแนนเสียงให้กับแต่ละพรรคครับ

ค่าความคลาดเคลื่อน ที่แสดงในหน่วย percentage point นี้ จะช่วยแสดงให้เห็นถึง “ความบิดเบี้ยวของระบบ” ยิ่งระบบเลือกตั้งมีค่าความคลาดเคลื่อนสูง ยิ่งหมายถึงจำนวนเก้าอี้ ส.ส. ใน สภา ผิดเพี้ยนไปจากความต้องการของพี่น้องประชาชนมาก น้อยเพียงใด 

ซึ่งทุกท่านคงเห็นแล้วว่า ค่าผลรวมความคลาด เคลื่อนของระบบคู่ขนานตามที่ กมธ. เสนอมานี้ มีค่าความคลาดเคลื่อนสูงกว่าระบบแบบก้าวไกลถึง 3 เท่าตัวเลยทีเดียว 

“นั่นก็คือ ระบบคู่ขนาน มีค่าความคาดเคลื่อนรวมอยู่ที่ประ- มาณ 29.08 pps และ ระบบแบบก้าวไกล มีค่าความคลาด- เคลื่อนอยู่แค่เพียงประมาณ 9.34 pps เท่านั้น”




หากทุกท่านติดตามการอภิปรายของผมมาจน ถึงสไลด์หน้านี้ ผมเชื่อว่าผมได้พิสูจน์ให้ทุกท่านเห็นแล้วว่า ระบบคู่ขนานแบบที่ กมธ. พิจารณายกร่างมา ยังมีจุดอ่อนที่ สำคัญเพียงใด และด้วยระบบการคำนวณแบบก้าวไกล ตามที่ ผมและเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลได้ขอแปรญัตติมานี้ จะช่วยให้ปวงชนชาวไทย มีระบบเลือกตั้งที่ 


1) ป้องกันพรรคใหญ่ พรรคนายทุน เข้ามากินรวบประเทศ 

2) มีระบบเลือกตั้ง ที่เป็นธรรม เปิดโอกาสให้กลุ่มคนทุกกลุ่ม อาทิ กลุ่มผู้ใช้แรง- งาน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้มีความหลากหลาย ที่ กระจายตัวกันอยู่ทั่วทั้งประเทศ ไม่ได้รวมตัว หรือกระจุกตัวกัน อยู่ในเขตเลือกตั้งใด เขตเลือกตั้งหนึ่ง สามารถเข้ามามีที่นั่ง มีปากมีเสียงในสภาได้ 

3) เป็นระบบที่จำนวน ส.ส. ในสภา แสดงเจตจำนง และสะท้อนเสียงความต้องการของประชาชน และ อันเป็นการอุดช่องโหว่ของทั้งระบบเลือกตั้งปี 40 ที่ผู้ชนะ กินรวบประเทศ และเป็นการปิดสวิตช์ระบบบัตรใบเดียว ที่เป็น บ่อเกิดของการคำนวณสูตรพิสดารของรธน.60

ด้วยเหตุและผลทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมจึงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญของ กมธ. และอยากให้ผลักระบบเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล เพื่อให้พวกเรามีระบบเลือกตั้ง ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ 



“เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ใช่ ในสัดส่วนที่ถูกต้อง”

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า