free geoip

เคาะใช้ ‘งบกลาง’ 105 ล้านบาท จ้างดาราทำสื่อสู้โควิด


ก้าวไกลค้าน! รัฐบาลเล็งใช้ 569 ล้านบาท จ้างดาราทำสื่อสู้โควิด เคาะใช้งบกลางแล้วกว่า 105 ล้านบาท

กรมประชาสัมพันธ์เตรียมของบกลางจำนวน 569 ล้านบาทให้แก่ ‘โครงการเอาชนะโควิดด้วยวิถีประชา’ เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การแก้ไขปัญหาโควิด-19 ระหว่างเดือน กันยายน 2564 – มีนาคม 2565

เอกสารนี้เปิดเผยรายละเอียดโครงการทั้งหมดไว้ว่า ข้อความสำคัญที่ต้องการให้ออกไปสู่ประชาชนก็คือ “ลดการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว แก้โควิด-19 ที่ต้นเหตุ” โดยจะมีการสร้างความรู้และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19, มาตรการและการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ และวิธีปฏิบัติตัวที่จะไม่ไปรับเชื้อหรือแพร่เชื้อต่อ ดังนั้น มาดูรายละเอียดในเอกสารกันว่า กิจกรรมในโครงการนี้จะเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างไรบ้าง


โครงการนี้มีกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่

1.สปอตทางวิทยุและโทรทัศน์ (100 ล้านบาท)
-ผลิตสปอตโทรทัศน์ 2 สปอต ความยาว 30 วินาที เผยแพร่ผ่านช่องโทรทัศน์ดิจิทัล 9 ช่อง รวม 250 ครั้ง
-ผลิตให้พูดแทรก (tie-in) ในรายการโทรทัศน์ 14 ช่อง รวม 102 ครั้ง
-ผลิตสปอตวิทยุ 12 สปอต ความยาว 30 วินาที เผยแพร่ผ่าน 7 สถานีวิทยุ รวม 2,380 ครั้ง

2.คอนเทนต์ผ่านสื่อออนไลน์ (100 ล้านบาท)
-ผลิตวิดีโอคลิป 12 เรื่อง (ความยาว 30 วินาที) เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ 59 ช่องทาง
-ผลิตสติ๊กเกอร์ไลน์

3.เพลงและสื่อโซเชียลมีเดีย (99 ล้านบาท)
-จ้างศิลปิน ดารา และผู้มีอิทธิพลทางความคิดผลิตและเผยแพร่คนเทนต์ โดยแบ่งอินฟลูเอนเซอร์เป็นระดับ mega macro และ micro
-จ้างศิลปินนักร้องชั้นนำผลิต MV รณรงค์เอาชนะโควิด-19 จำนวน 1 ชิ้น เผยแพร่สถานีโทรทัศน์ 9 ช่อง รวม 320 ครั้ง

4.สื่อนอกบ้านและสื่อผ่านระบบแอปพลิเคชั่นและอี-คอมเมิร์ซ (65 ล้านบาท)
-จอ LED, ป้ายบิลบอร์ด, สื่อบนรถโดยสารสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ รวม 10,350 จุด
-ป๊อปอัพบนแอปพลิเคชั่นธนาคารหรือช็อปปิ้งออนไลน์

5.กิจกรรมรณรงค์ในกลุ่มเป้าหมายโดยตรง (200 ล้านบาท)
-กิจกรรมทั้งหมด 8 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมครั้งละไม่ต่ำกว่า 5,000 จากอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งโรงงาน บริษัท แคมป์คนงานและตลาด

6.รายงานผลการประเมินโครงการโดยรวม (5 ล้านบาท)


โดยไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลางของปีงบประมาณ 2564 จำนวน 105.592 ล้านบาทภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อดำเนินโครงการนี้ในส่วนที่เป็นกิจกรรมเร่งด่วน เช่น การปราบปรามข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับโควิด-19 โดยเป็นการผลิตสปอตวิทยุและโทรทัศน์ 51.592 ล้านบาท และผลิตสื่อโฆษณาออนไลน์ 54 ล้านบาท ส่วนอื่นจะต้องรอเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ

เมื่อเห็นรายละเอียดของโครงการแล้ว เรากลับพบว่า เงินจำนวนหลายร้อยล้านบาทถูกนำไปใช้จ้างดาราและอินฟลูเอ็นเซอร์ ‘เพื่อสู้โควิด-19’ โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตสื่อที่ประชาชนแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะปัจจุบัน ประชาชนต่างตระหนักดีถึงปัญหาโควิด-19 เพราะประชาชนคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และประชาชนก็พยายามจะดูแลรักษาตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ โดยที่ไม่ต้องให้นักร้องมาร้องเพลงให้ฟังทุกคนต้องร่วมใจกันป้องกันโควิด-19

สิ่งที่ประชาชนต้องการรับรู้ก็คือ ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาจากรัฐบาล ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อว่า รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาวิกฤตได้ดีอย่างไร ประชาชนต้องการข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาว่า รัฐบาลจะจัดการเรื่องการจัดซื้อวัคซีนที่มีคุณภาพ และฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงได้เมื่อไหร่ ประชาชนต้องการข้อมูลว่า รัฐบาลจะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และการปิดเมือง และที่สำคัญคือ รัฐบาลบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรไม่ให้มีการปิดเมืองอีก เพราะทุกครั้งพิสูจน์ชัดแล้วว่ารัฐบาลไม่สามารถเยียวยาประชาชนได้ดีพอ

นี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างที่ทำให้เราเป็นถึงปัญหาการบริหารจัดการงบกลาง มีการใช้จ่ายงบประมาณส่วนนี้อย่างไม่มีระเบียบวินัย ไม่คุ้มค่า ไม่มีประสิทธิภาพ ซ้ำร้ายยังไม่มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ยาก เพราะเป็นงบประมาณที่นายกรัฐมนตรี ที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอำนาจในการบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 พรรคก้าวไกลเคยลงมติไม่ให้โอนงบที่ตัดลดได้จากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาทไปใส่ในงบกลาง เพราะไม่ไว้วางใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถนำงบกลางส่วนนี้ไปใช้ให้เกิด

ส่วนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 พรรคก้าวไกลเคยลงมติไม่ให้โอนงบที่ตัดลดได้จากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาทไปใส่ในงบกลาง เพราะไม่ไว้วางใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถนำงบกลางส่วนนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ในทางตรงข้าม ควรโอนเงินส่วนนี้ไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสวัสดิการประชาชนโดยตรง เช่นหน่วยรับงบประมาณอย่าง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ, กองทุนเพื่อคความเสมอภาคทางารศึกษา, กองทุนประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะสามารถนำงบประมาณไปจัดการกับวิกฤตโควิด-19 โดยตรงได้ แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายแล้ว ผลโหวตแปรญัตติคือส่งจำนวนนี้ไปยัง “งบกลาง”

สิ่งที่พรรคก้าวไกลและประชาชนผู้เสียภาษีทั้งหลายทำได้หลังจากนี้ก็คือ การจับตาการใช้งบประมาณของ พล.อ.ประยุทธ์และรัฐบาลชุดนี้ว่าจะเป็นไปอย่างชาญฉลาด คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนหรือไม่ และจะถูกนำไปใช้ ‘สู้โควิด-19’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง หรือจะนำมา ‘สู้’ กับประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล







Proposal ข้อเสนอและแผนโครงการที่มีการนำเสนอ







เอกสารโครงการ



Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า