free geoip

ย้อนดู ใครเป็นใครในองค์การเภสัชกรรม สรุปมีตั๋วหรือไม่ ?


ย้อนดูใครเป็นใครในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม สรุปแล้วมีตั๋วหรือไม่ ???

หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ อนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุขบริหารราชการแผ่นดินเกิดความล้มเหลว ผิดพลาด บกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรงในทุกด้าน และหากินบนความเดือดร้อนของประชาชนหรือไม่ ผ่านการใช้อำนาจในการกำกับดูแลและส่งคนเข้าไปนั่งในตำแหน่งต่างๆ

ย้อนอ่านบทความ “เครือข่าย วปอ.” https://www.moveforwardparty.org/parliament/5478/

ย้อนชมคลิปการอภิปรายเต็ม https://youtu.be/XYld2PBPfEc



โดยช่วงที่ผ่านมามีประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์บางส่วนตั้งข้อสงสัยถึงความโปร่งใสและการทำงานของหน่วยงานรัฐอย่างองค์การเภสัชกรรม ในการจัดหาชุดตรวจโควิด-19 หรือ Antigen rapid test kit (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชิ้น รวมไปถึงการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคว่ามีนอกมีในหรือไม่ แล้วทำไมองค์การเภสัชกรรมในฐานะหน่วยงานของรัฐ ถึงเป็นตัวแทนการขายให้กับวัคซีนซิโนแวค ทั้งๆ ที่วัคซีนยี่ห้ออื่นมีบริษัทเอกชนเป็นผู้แทนจำหน่ายเอง ไม่ได้มีหน่วยงานรัฐเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่อย่างใด

และเมื่อตรวจสอบรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนของคณะกรรมการเภสัชกรรม ก็พบว่ามีรูปแบบความสัมพันธ์ ไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจ จนอดสงสัยไม่ได้ว่า ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกันนั้นมาเพื่ออะไร เป็นความต้องการของใคร และเข้ามากันได้อย่างไร ?

ข้อมูลหลังจากนี้ ชี้ให้เห็นว่าเป็นความบังเอิญของกลุ่มก้อนความสัมพันธ์หรือเป็นความตั้งใจของผู้มีอำนาจหรือไม่ อย่างไร ?

เพราะบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการ ถ้าไม่จบโรงเรียนมัธยมกับผู้มีอำนาจในรัฐบาล ก็ต้องเรียน วปอ. เป็นเทคโนแครตข้าราชการ หรือไม่งั้นก็ต้องเกี่ยวข้องกับบริษัทรับเหมารายใหญ่เกี่ยวข้องกับพรรครัฐบาล หรือเคยเป็นลูกน้องเจ้าสัว รวมไปถึงเป็นเครือญาติกับรัฐมนตรีในรัฐบาล

คนแรกเป็นพี่ชายของรัฐมนตรีและเป็นน้องชายของผู้ยิ่งใหญ่ดินแดนอีสานใต้ และจบโรงเรียนมัธยมเดียวกันทั้งบ้าน

อีกคนหนึ่งเป็นรุ่นน้องโรงเรียนมัธยมเดียวกับคนที่แล้ว และยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนมัธยมเดียวกับ ส.ส. จากพรรคการเมืองของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง รวมทั้งยังเคยเป็นคณะทำงานให้กับ ส.ส. ท่านนี้ เมื่อครั้งตอนเป็นรัฐมนตรีด้วย

คนต่อมาเป็นนักธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และบริษัทของเขามักเกี่ยวข้องกับสัมปทานภาครัฐ โดยเคยเป็นทั้งกรรมการการบินไทยที่รัฐมนตรีจากโควต้าของพรรคการเมืองเดียวกันเป็นคนแต่งตั้งและตอนนี้เป็นกรรมการหรือบอร์ดองค์การเภสัชกรรม หน่วยงานที่ขึ้นตรงกับกระทรวงที่รัฐมนตรีมาจากพรรคเดียวกันเป็นคนแต่งตั้ง นอกจากนี้ความเหนียวแน่นระหว่างกรรมการคนนี้กับรัฐมนตรีนั้น ถึงขนาดยังเคยให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงยืมเครื่องบินกันด้วย

อีกคนหนึ่งเป็นลูกสาวของผู้บริหารในบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐมนตรีเคยเป็นผู้บริหารและเป็นเจ้าของ แม้ว่าเดี๋ยวนี้พ่อของกรรมการคนนี้จะไปเป็นประธานกรรมการให้กับอีกบริษัทหนึ่ง แต่บริษัทนี้ทีแรกเดิมทีชื่อก็ขึ้นต้นเดียวกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ของประเทศแห่งนั้น พร้อมกันนี้ลูกสาวของผู้บริหารท่านนี้ยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการอีก 2 แห่ง ที่ขึ้นตรงกับกระทรวงที่มีรัฐมนตรีจากพรรคเดียวกันคุมอยู่ด้วย

รวมทั้งยังมีคนหนึ่งแม้ว่าจะมีความรู้ด้านสาธารณสุขแต่ก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐมนตรีในรัฐบาล คือมีความสัมพันธ์เป็น สามี-ภรรยา ของรัฐมนตรีของคนในรัฐบาลก็นั่งดำรงตำแหน่งอยู่ด้วย

หรือแม้กระทั่งก็มีคนที่เคยเป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าแต่งตั้งมาเองกับมือ และยังเป็นกรรมการบอร์ดให้กับโรงพยาบาลเอกชนด้วย นอกจากนี้ยังมีกรรมการคนหนึ่งเคยเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชนของเจ้าสัว ที่สนับสนุนอย่างแข็งขันต่อนโยบายประชารัฐ ของรัฐบาล กรรมการคนนี้ยังเคยมีศักดิ์เป็นลูกน้องของลูกเขยของเจ้าสัวด้วย รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบคือดูแลด้านเกี่ยวกับเวชภัณฑ์และยา เกี่ยวข้องกับองค์การเภสัชกรรมโดยตรง น่าสงสัยว่าทำไมคนของเจ้าสัวต้องมานั่งในตำแหน่งกรรมการที่นี้ด้วย จะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) ในการตัดสินใจเอื้อต่อบริษัทของเจ้านายเก่าหรือไม่ ?

อีกทั้งคนที่นั่งในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ยังมีข้าราชการแทคโนแครต ที่หน่วยราชการส่งมานั่ง หรือมาโดยตำแหน่ง รวมไปถึงยังมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งมา โดยกรรมการส่วนใหญ่ได้เคยผ่านการเรียนหลักสูตร วปอ. หรือวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร อีกหลายคนและหลายรุ่น ทั้งรุ่น 51 รุ่น 55 รุ่น 58 รุ่น 59 ด้วย

จึงน่าสนใจและอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า คณะกรรมการหรือบอร์ดขององค์การเภสัชกรรมเข้ามาอยู่ในตำแหน่งได้ด้วยความสามารถ (Meritocracy) ไม่ได้มาด้วยความสนิทชิดเชื้อกับคนในรัฐบาล (Nepotism) จริงหรือ?

และยิ่งในสถานการณ์ที่ประชาชนและประเทศกำลังเผชิญกับมหาวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีประชาชนบาดเจ็บและล้มตายกันเป็นจำนวนมาก การจะจัดการวิกฤตครั้งนี้หนีไม่พ้นที่ต้องใช้วัคซีนคุณภาพดี มีประสิทธิผลในการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ และระหว่างนี้ต้องเร่งแยกระหว่างประชาชนที่ป่วยและไม่ป่วยออกจากกันเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด การตรวจหาเชื้อจึงจำเป็น และเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจหาเชื้อที่จะช่วยกระจายไปถึงมือประชาชนเป็นจำนวนมากและลดคอขวดในการรอตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้เครื่องมืออย่าง Antigen rapid test kit (ATK) เข้ามาช่วย

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จัดหาสิ่งเหล่านี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การตัดสินใจของผู้มีอำนาจจึงต้องตัดสินใจบนผลประโยชน์ของชาติซึ่งก็คือผลประโยชน์ของประชาชนเพื่อนำประเทศออกจากวิกฤติ ต้องไม่ใช่ตัดสินใจบนผลประโยชน์ของพรรคพวก เพื่อนพ้องน้องพี่ หาเศษหาเลยและร่วมกันหากินอิ่มหนำสำราญบนความตายของประชาชน

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า