free geoip

“เมื่อผมถูกทรมาน…ผมจึงมาตามหาความยุติธรรม”


หยุดความเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ! เปิด 4 ประเด็นสำคัญ สนับสนุนร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามทรมาน – อุ้มหาย

โดย พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ

เจ้าหน้าที่รัฐ เอาผู้ถูกจับกุมขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินขึ้นฟ้าแล้วถีบลงมา

เจ้าหน้าที่รัฐ เอาถุงดำคลุมปิดตา แล้วหมุนลูกโม่ปืนดังๆ บังคับให้ผู้ถูกจับเหนี่ยวไกปืนใส่ตัวเอง

เจ้าหน้าที่รัฐ บังคับให้ผู้ถูกจับนอนกอดก้อนน้ำแข็ง

ฯลฯ



เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการทรมานผู้ต้องหา ยังมีที่รู้จักกันดีอย่างตอกเล็บ บีบขมับ ซึ่งในจารีตนครบาลที่แม้จะยกเลิกไปนานแล้ว แต่ก็ยังมีวิถีการป่าเถื่อนอีกมากมายที่เจ้าหน้าที่รัฐจดจำและเอามาใช้จนปัจจุบัน โดยที่ตัวของผู้บังคับบัญชาเองก็มีส่วนรู้เห็น

นี่จึงเป็นข้อเสนอของผม เกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … ว่า ต้องเอาผิดผู้บังคับบัญชา ด้วย !

ในการอภิปราย ก่อนเข้าเนื้อหาผมได้หยิบหนังสือเล่มนี้คือ “เมื่อผมถูกทรมาน…ผมจึงมาตามหาความยุติธรรม” ขึ้นมาพูดถึง กับเรื่องราวของชายที่ต้องเป็นเหยื่อความรุนแรง ถูกทรมานให้รับสารภาพในคดีวิ่งราวทรัพย์ การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมของเขา ยาวนานถึง 12 ปี (หากสนใจสั่งซื้อคลิกที่นี่เลย)

“แพะรับบาปไม่ใช่นิยาย แต่ขึ้นอยู่กับใครจะโชคร้ายกลายเป็นแพะ” คือคำที่ผู้เสียหายระบุไว้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งผมเชื่อว่า ไม่มีแพะตัวสุดท้ายอย่างแน่นอน มีแต่แพะตัวต่อไปเมื่อใดเท่านั้น ดังนั้น การทรมานให้รับสารภาพ ต้องยกเลิก ต้องไม่เกิด ไม่ว่าจะในกรณีใดๆ สถานการณ์ใดๆ ก็ตาม


ในการอภิปรายร่างกฎหมายฉบับนี้ ผมนำเสนอใน 4 ประเด็นสำคัญ ขอสรุปให้เข้าใจง่ายดังนี้

1. ฐานความผิด ในส่วนของผู้เสียหาย ต้องไม่ใช่เพียงแค่บิดา ภรรยา บุตร หรือผู้สืบสันดานเท่านั้น หากเกิดกรณีไม่ปรากฏผู้เสียหาย ก็ควรที่จะให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม.เป็นผู้เสียหายได้ ซึ่งเรื่องนี้รัฐธรรมนูญก็ให้การรับรองไว้ด้วย

2. มาตรการป้องกันและปราบปราม ไม่ใช่เฉพาะกรณีของตำรวจเท่านั้นที่กระทำการ แต่ยังมีเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจ เช่น เจ้าหน้ากรมราชทัณฑ์, เจ้าหน้าที่กรมอุทยาน เป็นต้น ดังนั้น การจับกุมผู้ต้องหาไม่ว่าจะกรณีของเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานใดก็ตาม ต้องมีความโปร่งใส เปิดให้ประชาชนมีส่วนรับรู้ด้วย

3. มาตรการเยียวยาว คดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทรมาน บังคับสูญหายนั้น ศาลต้องพิจารณาอย่างรวดเร็ว และต้องมีกองทุนสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ด้วย เพื่อสำหรับดูแลผู้ที่ให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการคุ้มครองพยาน เปลี่ยนสถานที่อยู่อาศัยเพื่อความปลอดภัย รวมถึงการชดเชยเยียวยาตามสมควร

4. มาตรการอื่นๆ เช่น คดีนี้ต้องไม่มีอายุความ คดีที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้สามารถย้อนกลับไปเริ่มต้นคดีได้ และนอกจากนี้ บรรดาคดีความที่เป็นสาเหตุให้เกิดกรณีการทรมาน อุ้มหายที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้น ต้องโอนย้ายไปกรมสอบสวนคดีคดี หรือ DSI ให้หมด


พวกเราพรรคก้าวไกล จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้และทำออกมาให้ดีที่สุดเพื่อคุ้มครองคนไทย และเรียกร้องสิทธิที่เสียไปในอดีตให้ได้คืนมาโดยเร็ว


การทรมาน บังคับสูญหาย ต้องหมดไปจากประเทศนี้…
เพื่อความเป็นอารยะไม่ใช่อนารยะหรือป่าเถื่อน ครับ !






มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดให้บุคคลที่สนใจ ลงทะเบียนแสดงความประสงค์ในการสั่งซื้อหนังสือ “เมื่อผมถูกทรมาน…ผมจึงมาตามหาความยุติธรรม” ตีพิมพ์ครั้งแรก ในราคา 200 บาท หากท่านสนใจสามารถกรอกรายละเอียดเพื่อดำเนินการชำระเงินสั่งซื้อผ่านทาง https://forms.gle/zb9hXYPy2QrKo5GE6

หมายเหตุ: หนังสือเล่มนี้มีขายที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเท่านั้น ไม่สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางอื่นได้


(ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/photos/a.417098988337393/4287922811254972/?type=3&source=48)

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า