free geoip

‘พิธา’ เยือนลำพูน ฟังปัญหาโควิดฉุดพัฒนาการเด็กเล็ก


‘พิธา’ เยือนลำพูน ฟังปัญหาโควิดฉุดพัฒนาการเด็กเล็ก

พิธา เยือนลำพูน ผนึกกำลัง ก้าวไกล – คณะก้าวหน้า ร่วมพัฒนา เทศบาลตำบลเหมืองจี้ ลำพูน เพิ่มทักษะการอ่าน เพิ่มงบประมาณให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชี้ วัคซีนคือปัจจัยสำคัญต่อการดูแลเด็ก ย้ำชัด เริ่มจากการพัฒนานโยบายระดับท้องถิ่น สู่การพัฒนานโยบายระดับประเทศ พร้อมรับหนังสือคัดค้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ฟังปัญหาป่าทับที่

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ณ เทศบาลตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรค, ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต1 และ วิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ว่าที่สมัคร ส.ส.เขต 1 ลำพูน โดยมี พันตรีชนินทร พุฒิเศรษฐ์ นายกเทศมนตรีตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จ.ลำพูน พร้อมด้วย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ร่วมรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้การบริหารงานตามนโยบายของคณะก้าวหน้า

พันตรีชนินทร พุฒิเศรษฐ์ นายกเทศบาลตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จ.ลำพูน กล่าวว่า ตนภูมิใจที่เป็นตัวแทนของพี่น้องชาวตำบลเหมืองจี้ ที่ได้รับการพัฒนาจากคณะก้าวหน้า ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการศึกษาและพัฒนาเด็กเล็ก ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งในด้านงบประมาณต่างๆ ที่จำเป็น อาทิ เรื่องอาหารกลางวันของเด็ก และแนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียนสถานศึกษาในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ เทศบาลตำบลเหมืองจี้ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์ แต่ขาดในงบประมาณที่จัดการดูแลในระยะยาว

ด้าน ศิริกัญญา กล่าวในฐานะรองหัวหน้าพรรคและผู้อำนวยการนโยบายพรรค กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 ทำให้โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องปิดชั่วคราว ซึ่งตัวเลขพัฒนาการของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีของลำพูน พบว่ามีสัดส่วนลดลงเหลือเพียง 30% จากเดิมอยู่ที่ 50% ในการพัฒนาการเด็กสมวัย นี่เป็นสิ่งที่กระทรวงศึกษาต้องฉุกคิดว่า โรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความหมายและมีความสำคัญอย่างมาก เราต้องทำทุกวิถีทางที่ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนเปิดอย่างเร็วที่สุด

“เเม้จะไม่มีโควิด-19 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพัฒนาก็ยังลำบาก เพราะงบประมาณที่ถูกจัดสรรนั้นน้อยนิด และในส่วนงบของบุคคลากรที่ได้รับจัดสรรก็น้อย ในวันนี้ เราจึงอยากมารับฟังข้อเสนอแนะ เพราะเราต้องทำงานร่วมกันทั้งส่วนกลางของนโยบายและท้องถิ่น และเงื่อนไขที่สำคัญคือเรื่องการได้รับวัคซีนของบุคลากรอย่างเร็วที่สุด เนื่องจากเด็กยังไม่ได้รับวัคซีนที่เหมาะสม”

ด้าน กุลธิดา กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ระบุว่า เราจึงหารือว่า งบประมาณเพียงหัวละ 1,700 ต่อปี ยังไงก็ไม่พอ เราจะบริหารจัดอย่างไร ที่รัฐให้มาไม่ได้เพียงพอต่อการบริหารจัดการ ซึ่งต้องหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแก้ไขและการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดย คณะก้าวหน้า เตรียมโครงการที่จะใช้พัฒนาเด็กเล็ก ในเรื่องทักษะการเรียนรู้ภาษา อย่างเช่น เรื่องนิทาน และในเรื่องของบประมาณในเรื่องอาหารหลางวัน ที่จะหาทางออกที่เหมาะสมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ขณะที่ตัวเเทนครู ศูนย์เด็กเล็กบ้านครูเส้า กล่าวว่า ศูนย์เด็กเล็กบ้านครูเส้า จัดอยู่ในเทศบาลตำบลเหมืองจี้ ในช่วงที่เกิดโควิด-19 ได้จัดการเรียนการสอนแบบ on hand ผ่านใบงาน ติดตามปัญหาผู้ปกครองผ่านไลน์ และปัญหาที่พบคือ เด็กส่วนใหญ่จะอยู่กับคุณตาคุณยาย ส่วนอาหารกลางก็ต้องการให้เพิ่มงบประมาณ ผู้ปกครองดูแลเด็กได้อย่างไม่เต็มที่ อยากให้ศูนย์ดูแลเด็กให้อย่างทั่วถึง และในด้านของอุปกรณ์การเรียนที่ต้องให้เด็กได้รับจัดสรรในทุกระดับ

ศิริกัญญา ระบุว่า จะรับเรื่องไปหารือต่อในเชิงนโยบาย โดยเฉพาะการแก้ไขระเบียบจากการคำนวณงบประมาณรายหัว ต้องมาดูว่าในส่วนหน้าที่หรือการพัฒนาของเด็กก่อนปฐมวัยจะต้องมาเป็นหน้าที่ของใครที่เป็นเจ้าภาพหลัก ในดูแลและจัดสรรงบประมาณ ซี่งในส่วนของท้องถิ่นกุลธิดา จะรับไป และในปัญหาระดับประเทศ ตนจะรับปัญหาไปผลักดันในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้บุตรหลานของท่านได้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป

“ผมเข้ามาทำงานการเมืองในแบบพ่อคน เรารู้ว่าการศึกษาของเรามันแย่แค่ไหน มันจะปลอดภัยแค่ไหนสำหรับลูกเรา” เด็กไทยมีหนังสือเกิน 3 เล่ม เพียง 39% ซึ่งถือว่าต่ำมาก สะท้อนให้เห็นว่าไทยไม่ใส่ใจเรื่องทรัพยากรมนุษย์”

พิธา กล่าว

สำหรับ เทศบาลตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จ.ลำพูน อยู่ในการบริหารจัดการของเทศบาลคณะก้าวหน้า ในระดับท้องถิ่น มีนโยบายที่พร้อมจะส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งพัฒนาในระดับท้องถิ่น และที่สำคัญในส่วนการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็ก ที่เปรียบเสมือนอนาคตของประเทศ ถือเป็นตัวอย่างในการทำงานร่วมกันของระดับท้องถิ่น และระดับนโยบายของพรรคก้าวไกล เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ




‘พิธา’ รับหนังสือคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ – ฟังปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ป่า

พิธา พร้อมคณะทำงานพรรคก้าวไกลร่วมรับหนังสือจากชาวบ้านที่คัดค้านต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะดอยขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โดยกล่าวว่า การคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะที่ประเทศไทย จากธุรกิจสีเขียวเป็นธุรกิจสีเทา มันเกิดขึ้นในช่วงรัฐประหารทำให้เจตนารมณ์บิดเบี้ยว ซึ่งมันต้องเเก้ผังเมือง

“นี่คือราคาที่ต้องจ่ายเมื่อเกิดรัฐประหารในประเทศไทย จากการใช้มาตรา 44 เป็นเรื่องที่ทำให้ธุรกิจสีเขียวเป็นธุรกิจสีเทา ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นขยะของเอเชียและของโลก ซึ่งเรามีเจตนารมณ์ในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้น เปลี่ยนลำพูนให้ดี และเราสัญญาว่า เราจะกลับมาลำพูนอีกครั้ง พร้อมขอฝาก วิทวิสิทธิ์ ว่าที่ผู้สมัครลำพูน เขต1 เข้าไปเป็นปากเป็นเสียง เป็นผู้เเทนราษฎรแทนพี่น้องชาวลำพูนเพื่อเข้าไปร่วมเปลี่ยนแปลงลำพูนร่วมกัน” พิธากล่าว

ต่อมา พิธา พร้อมทีมงาน ลงพื้นที่ตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เพื่อรับฟังปัญหาจากและรับหนังสือของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า การเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของคนในพื้นที่ป่า รวมถึงปัญหาการขาดรายได้จากราคาที่ตกลงของลำไยและไม้แกะสลัก

พิธา กล่าวว่า พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ที่พรรคก้าวไกลเสนอ อยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็นของสภาผู้แทนราษฎร และขอเเสดงความเห็นใจกับทีมงานที่ต้องปฏิบัติงานโดยไม่มีความชัดเจนในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ปัญหาต่างๆ เกิด

จากนโยบายส่วนกลางที่มันไม่มีการกระจายอำนาจลงมา ทำไมเราต้องติดกระดุมเม็ดเเรกผิดที่จะต้องแก้ปัญหาป่าไม้มาเรื่อยๆ ตนจะนำเจตจำนงและความทุกข์ร้อนของประชาชนทั่วไปประเทศไปผลักดันเป็นนโยบายของพรรคการเมือง

“อย่างพรรคผม พรรคการเมืองฝ่ายค้านอันดับสองของประเทศ และหากมีการยุบสภา ผมคือแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ซึ่งถ้าเราได้เป็นรัฐบาล เราจะนำปัญหา เสียงของพี่น้องชาติพันธุ์ไปขับเคลื่อน ไปทำหน้าฝ่ายนิติบัญญัติ ไปขับเคลื่อนในสภาผู้แทนราษฎร”

“มันเป็นนโยบายที่ห้ามพัฒนา ไม่มีการกระจายอำนาจรัฐรวมศูนย์ เหมือนไม้ซีกงัดไม้ซุง ในวันนี้เราอยู่ในการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยแบบปกติ ซึ่งทำให้เห็นว่า หากมีไม้ซีกหลายๆ อัน เราสามารถงัดไม้ซุงได้ ต้องฝากทุกท่านช่วยประชาชนไปก่อน เมื่อไหร่ที่อยู่ในอำนาจของผม ผมจะนำปัญหาของท่านไปผลักดันในฐานะผู้แทนของประชาชน ผมไม่ลืมพวกท่านแน่นอน”

พิธา กล่าว

ด้าน มานพ คีรีภูวดล ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ สัดส่วนกลุ่มคนชาติพันธุ์ กล่าวว่า ตกลงคนรุกป่า หรือกฎหมายรุกคน นี่คือปัญหาที่แก้ไม่ตก เราจำเป็นจะต้องรื้อระบบโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม ในการบริหารจัดการ หากเราทำได้การพัฒนาและการแก้ไขก็จะเกิดขึ้น ซึ่งตนในฐานะกลุ่มคนชาติพันธุ์ที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในสภาผู้แทนราษฎรจะนำประเด็นดังกล่าวไปผลักดันต่อไป

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า