free geoip

‘ก้าวไกล’ ฟังเสียงครู ยุบโครงสร้างราชการซ้ำซ้อน คืนอำนาจจัดการให้โรงเรียน


‘ก้าวไกล’ ฟังเสียงครู ยุบโครงสร้างราชการซ้ำซ้อน คืนอำนาจจัดการให้โรงเรียน

พรรคก้าวไกลรับฟังความเห็นของ 300 องค์กรครูทั่วประเทศ เห็นด้วยให้คืนอำนาจ คณะกรรมการบริหารเขตพื้นที่ ด้วย จากที่ร่าง พ.ร.บ. ให้คืนเฉพาะ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

พรรคก้าวไกล ร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นขององค์กรวิชาชีพครู ทั้งหมดกว่า 300 องค์กร ในกิจกรรมเวทีรับฟังความเห็นเรื่อง “กลไกทางกฎหมายกับการปฏิวัติการศึกษา : กรณี ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง หน.คสช.ที่ 19/60” ซึ่งประสานงานโดยสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศ (ส.อ.ท.) ที่มี ไพศาล ปันแดน เป็นประธานสมาพันธ์ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา

ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรค และผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย และ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรค ได้กล่าวนำการเสวนา โดยทั้งสองยืนยันว่า ยังคงดำเนินตามนโยบายปฏิวัติการศึกษาของอดีตพรรคอนาคตใหม่ ต่อเนื่องมายังพรรคก้าวไกลคือ การกระจายอำนาจ สลายรัฐราชการรวมศูนย์ให้อำนาจแก่สถานศึกษา ลงทุนให้ถูกที่ ลดขั้นตอนให้แบนราบ ขั้นตอนการบริหารจัดการและตัดสินใจสั้น อำนาจอยู่ที่กรรมการสถานศึกษา ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดควรจัดตั้งไว้ที่สถานศึกษาหน้างานให้มากที่สุด

ด้าน สุรวาท ทองบุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 ได้กล่าวถึงประเด็นที่ต้องการรับฟังมี 5 ประเด็น ได้แก่

  1. คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ (คปภ.) สมควรยุบหรือคงอยู่ หรือไม่อย่างไร
  2. สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธ.ภ.) สมควรยุบหรือคงอยู่ หรือไม่อย่างไร
  3. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธ.จ.) และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) รวมทั้ง คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (อนุ กศจ.) สมควรยุบหรือคงอยู่ หรือไม่อย่างไร
  4. หลักการคืนอำนาจจาก กศจ. ให้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) อย่างไร เฉพาะ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่) หรือ คณะกรรมการบริหารเขตพื้นที่ (กพท.) ด้วย
  5. หากคืน อ.ก.ค.ศ.สพป./สพม. ควรปรับแก้องค์ประกอบ สัดส่วน จำนวน คุณสมบัติ ที่มาของอนุกรรมการ ดีหรือไม่ อย่างไร


หลังจากการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมกิจกรรมแสดงความเห็น ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยุบ หน่วยงานในข้อ 1-3 ทั้งหมด เนื่องจากมีความซ้ำซ้อน สิ้นเปลือง ล่าช้าไม่ตอบโจทย์คุณภาพการศึกษา ไม่เกิดผลดีต่อครูและผู้เรียนในที่สุด

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ยังเห็นด้วย ว่าให้มีการคืนอำนาจของคณะกรรมการบริหารเขตพื้นที่ (กพท.) จากที่ในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะคืนเพียงอำนาจ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่) เท่านั้น เพื่อให้การบริการงานดำเนินไปได้อย่างมีความสัมพันธ์สอดคล้อง เป็นกระบวนการเดียวกันในการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานทั่วไป งบประมาณ แผนงาน และการเงินการคลังกับการบริหารงานบุคคล ส่วนเรื่องการปรับปรุงการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. ควรปรับตามสมควร เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการทุจริตตามที่มีข้อครหาในอดีต

ทั้งนี้ ไพศาล ปันแดน ได้สรุปความเห็นของผู้ให้ความเห็นทั้งหมด และ สุรวาท ทองบุ ได้สรุปขอบคุณและจะได้นำความเห็นทั้งหมดไปใช้ในการผลักดันให้เกิดการปรับแก้กฎหมายๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป และยืนยันการดำเนินการระยะเปลี่ยนผ่านต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม ไม่กระทบทางลบต่อผู้ปฏิบัติงานและสำคัญที่สุดประโยชน์จะต้องเป็นของผู้เรียน

Login

พรรคก้าวไกล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า