free geoip

ประเพณี ‘นับคะแนนใหม่’ สุดเพี้ยน ได้ไปต่อ


กติกา ‘นับคะแนนใหม่’ สุดเพี้ยนไปต่อ สภาปัดตก ร่างแก้ข้อบังคับประชุมสภาของก้าวไกล 2 ฉบับ

ข้อบังคับการประชุมสภา มักถูกมองเป็นเรื่องทั่วไป เพื่อให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างราบรื่นเท่านั้น แต่ความจริงแล้วมีความสำคัญมาก เพราะหลายครั้งด้วยข้อบังคับเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการลงมติและส่งกระทบต่อประโยชน์ของประชาชนได้มากกว่าที่คิด

ย้อนกลับไป วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 หากจำกันได้ วันนั้นมีวาระพิจารณาญัตติขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ เพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศ และคำสั่ง คสช. ผลการลงมติ ปรากฏว่า ฝ่ายค้านชนะโหวต 4 คะแนน ซึ่งเรื่องที่ควรจบลงด้วยการตั้ง กมธ. เพื่อนำไปสู่การตรวจสอบคำสั่งที่สร้างความเสียหายต่อประชาชนแล้วลบล้างผลพวงเหล่านั้นออกไป แต่เรื่องกลับกลายเป็นว่า รัฐบาลที่ ‘แพ้ไม่เป็น’ หยิบยกข้อบังคับการประชุมมาเป็นเครื่องมือ พลิกผลโหวต

ในวันนั้น ฝ่ายรัฐบาลได้ยกเอาข้อบังคับการประชุมมาตรา 85 ขอให้มีการ ‘นับคะแนนใหม่’ ด้วยการขานชื่อ ซึ่งในทางปฏิบัติคือ การ ‘ลงคะแนนใหม่’ เนื่องจากไม่ใช่การนับผลคะแนนอีกครั้ง เพื่อตรวจทานความผิดพลาดจาก ‘องค์ประชุมเดิม’ อย่างที่ควรเป็น แต่เป็นการเรียกให้สมาชิกเข้ามาโหวตเพื่อเป็น ‘องค์ประชุมใหม่’ แล้วนับด้วยการขานชื่อ ส่งผลให้รัฐบาลเรียกระดมจำนวนสมาชิกมาเพิ่มจนสามารถกลับมติที่ฝ่ายค้านชนะไปแล้วได้

การ ‘นับคะแนนใหม่’ ที่สุดเพี้ยนจนกลายเป็น ‘ลงคะแนนใหม่’ ในครั้งนั้น เคยเป็นข้อถกเถียงร้อนแรงที่สุดเรื่องหนึ่งในสภา หนึ่งในคู่กรณีคือ ชวน หลีกภัย ประธานสภา ที่ยืนยันว่า การนับคะแนนแบบนี้เป็นเรื่องถูกต้องตามข้อบังคับ และมีแนวประเพณีปฏิบัติที่วินิจฉัยกันมาเช่นนี้ หากต้องการให้มีความถูกต้องสมเหตุสมผล ก็ให้ไปแก้ไขข้อบังคับการประชุมเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนก่อน

จากวันนั้นสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ล่าสุด ที่ประชุมสภามีการพิจารณา ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่…) พ.ศ…. โดยมีการเสนอแก้ไขเข้ามาทั้งสิ้น 7 ฉบับ หนึ่งในนั้น คือร่างของ ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่มุ่งใช้โอกาสนี้แก้ไขความผิดเพี้ยนนี้โดยตรง โดยหวังให้มีการวางหลักใหม่ในการประชุมสภา ที่ลดการใช้ดุลพินิจของประธานสภาในการตีความไปตาม ‘ประเพณี’ ซึ่งอาจกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ฝ่ายรัฐบาลใช้เสียงข้างมากใช้กลับมติที่ฝ่ายค้านชนะได้ตลอดเวลา

ร่างข้อบังคับการประชุมสภาของ ธีรัจชัย มีสาระสำคัญ คือ การ ‘นับคะแนนใหม่’ จะต้องเป็นการใช้องค์ประชุมชุดเดิม และเป็นการนับใหม่จากผลการลงมติไปแล้วเท่านั้น ปัจจุบัน ยิ่งสามารถตรวจสอบได้ง่ายด้วยเครื่องบันทึกประมวลผลการลงคะแนน และที่สำคัญ การเสนอนับคะแนนใหม่ต้องมีเหตุที่ชัดเจนใน เช่น มีการนับคะแนนผิดเกิดขึ้นจริง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดสภาลงมติ 239 : 96 ไม่รับหลักการร่างแก้ข้อบังคับประชุมสภา ส่งผลให้สภาแห่งนี้ยังคงประเพณี ‘นับคะแนนใหม่’ ที่เป็นลงคะแนนใหม่สุดประหลาดต่อไป แม้รู้ดีว่าจะตรรกะที่ใช้นั้นจะพังพินาศแค่ไหนก็ตาม ดังที่ ส.ส.วีระกร คำประกอบ จากพรรคพลังประชารัฐ ยอมรับอย่างน่าชื่นตาบานระหว่างอภิปรายญัตติครั้งนี้ว่า

“ประเพณีเดิมเขาทำกันมาแบบนี้ตลอด ฝ่ายรัฐบาลก็มีเหมือนกันที่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องเล่นการเมืองอย่างนี้ไป แต่ไม่ว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับและรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน อย่าไปถือว่าฝ่ายรัฐบาลได้เปรียบ มันเป็นเทคนิค เหมือนฝ่ายค้านมีเทคนิคเรื่องนับองค์ประชุม ถือว่าเจ๊ากันไป”


นอกจากนี้ ในวาระพิจารณานี้ ยังมีร่างแก้ไขข้อบังคับการประชุม ข้อ 23 เพื่อให้สภาพิจารณากฎหมายที่เสนอโดยประชาชนชนก่อนญัตติอื่น ร่างนี้เสนอโดย ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส. เขตบางเเค ซึ่งมีจุดดประสงค์หลัก คือ ให้สภาแยกการพิจารณาร่างกฎหมายของประชาชน และ ส.ส. ออกมาจากญัตติอื่น เพื่อให้สภาสามารถพิจารณากฎหมายได้อย่างมีประสิทธิมากขึ้น เพราะจนถึงปัจจุบัน ร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาได้อย่างล่าช้า ขณะที่ร่างกฎหมายที่เสนอโดย ส.ส. ยิ่งไม่เคยถูกบรรจุเข้าสู่วาระพิจารณาของสภานี้แม้แต่ฉบับเดียวตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แต่ญัตตินี้เป็นอีกฉบับที่ถูกตีตกไปด้วยคะแนนเห็นด้วย 94 : 241 เสียง
.

Login

พรรคก้าวไกล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า