free geoip

หลายประเทศปรับตัวแล้ว แต่กฎหมายไทยยังจำกัดกรอบ 2 เพศ


หลายประเทศโอบรับความหลากหลาย แต่กฎหมายไทยยังอยู่ในระบบ 2 เพศ

ปัจจุบัน กฎหมายของหลายประเทศทั่วโลกสามารถก้าวหน้าไปไกลกว่าการมองเรื่อง ‘เพศ’ เป็นเพียงเรื่องเพศสรีระ มีเพศชาย เพศหญิงเท่านั้น ซึ่งเปิดทางไปสู่การผลักดันสิทธิเท่าเทียมสำหรับกลุ่มหลากหลายทางเพศ แต่น่าผิดหวังที่กฎหมายไทยยังมีหลักคิดอยู่ในกรอบ 2 เพศเท่านั้น ทั้งที่มีความพยายามจะผลักดันกฎหมายสำหรับกลุ่มหลากหลายทางเพศ เช่น การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ และการสมรสเท่าเทียม แต่ดูเหมือนว่ารัฐไทยจะมองเรื่องเหล่านี้ว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญเร่งด่วนอะไร

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เรื่องสิทธิมนุษยชนได้รับความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศระหว่างเพศชายและหญิง จนในปี 2549 นักกฎหมายกลุ่มหนึ่งได้พบว่ามีบางอย่างที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จึงเกิดหลักการยอร์กยากาตาร์ที่พูดถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อเป็นเเนวทางในการพิจารณาและการออกกฎหมายทั่วโลก

เมื่อพูดเรื่อง ‘เพศ’ ปัจจุบัน เราจะพูด SOGIESC หรือมุมมองด้านเพศแบบ 4 ด้าน ได้แก่ 1. รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation: SO) คืออารมณ์ ความรู้สึก ความดึงดูดทางเพศ 2. อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity: GI) คือ สำนึกถึงตัวตนทางเพศ 3. การแสดงออกทางเพศ (Gender Expression: GE) การแสดงออกทางเพศ กิริยาท่าทาง การแต่งตัว 4. เพศสรีระ (Sex Characteristic: SC) คือลักษณะทางเพศที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

เราจะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยยังคงมองเรื่อง ‘เพศ’ ในมุมมองของเพศสรีระเท่านั้น จึงทำให้กฎหมายทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของเพศชายและหญิงเท่านั้น และละเลย ‘เพศ’ ในมุมมองอื่นๆ ไปอย่างสิ้นเชิง

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จึงทวงถามความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ จาก จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่า มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเรียกว่า Gender X Recognition แต่ของไทยมีการยื่นร่างกฎหมายนี้ไป 2 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่มีวี่แววความคืบหน้าเลยแม้แต่น้อย

“ขณะนี้ประเด็น Gender X หรือเพศที่ไม่ต้องการนิยามทางเพศว่าเป็นชายหรือหญิง ในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย รวมถึงอินเดียมีการรับรองกฎหมายนี้แล้ว ญี่ปุ่นเองกำลังผลักดันประเด็นดังกล่าว ในสหรัฐอเมริกาก็มีการกำหนดเพศดังกล่าวในเอกสารราชการและหนังสือเดินทาง จึงขอทวงถามความคืบหน้าประเด็นดังกล่าวต่อท่านรัฐมนตรี”

“การจำกัดความให้คนที่มีเพศวิถีหรือเพศสภาพที่หลากหลายอยู่ในระบบ 2 เพศ จึงเปรียบเหมือนกับการไม่มีเสรีภาพ หรือมีเสรีภาพเพียงเเค่ครึ่งๆ กลางๆ ไม่สามารถสมรสกับคนที่มีรสนิยมทางเพศที่เป็นเพศเดียวกัน หรืออัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างกัน นี่เป็นที่มาที่ประชาชนตอนนี้ขับเคลื่อนในประเด็น #สมรสเท่าเทียม ขณะนี้ ”

ธัญวัจน์กล่าว

ทั้งนี้ จุติ ตอบคำถามว่า เป็นความตั้งใจและนโยบายของรัฐบาลให้ส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนทุกมิติ และไม่ได้นิ่งนอนใจ ในปี 2563 ได้มีการประชุมหารือถึง 5 ครั้ง แต่ในกลุ่มเพศสภาพอัตลักษณ์วิถีมีประมาณ 28 กลุ่ม ความยากคือการให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจตรงกัน รัฐบาลมีความตั้งใจพยายามไม่ลดละและต้องการให้ร่างกฎหมายเสร็จโดยเร็ว หากท่านสามารถเป็นตัวกลางในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ตนก็ยินดี

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า