แม้ว่ากรมการแพทย์จะประกาศสถานการณ์เลวร้ายของ โรคมะเร็งปอด ที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในภาคเหนือ ตามสถิติที่น่าตกใจ
ผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ ปีละ 2,487 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 7 ราย
ผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอด ปีละ 1,800 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 5 ราย
แต่อันตรายต่อสุขภาพคนไทยจากฝุ่นพิษไม่ได้มีแค่นั้น
หากไม่นับผลระยะสั้น อย่างเช่นการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ อาการแพ้ของดวงตา ผิว ภูมิแพ้ กระตุ้นไมเกรน ฯลฯ ยังมีความน่าสะพรึงของพิษร้ายที่ทำลายสุขภาพของคนไทยอีกมากมายหลายโรค
จากข่าวร้ายของใครสักคนที่ดูไกลตัว สักวันมันอาจคืบคลานมาจนถึงตัวเราและคนที่เรารัก
ไม่จบแค่ปอด
PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม 20-30 เท่า สามารถแทรกซึมเข้าสู่เส้นเลือด เข้าสู่อวัยวะภายใน ผ่านเข้าสู่เส้นประสาทรับกลิ่นในโพรงจมูก และยังสามารถผ่านเข้าไปจนถึงสมองได้โดยตรง
สมอง ทำให้เกิดการอักเสบ เซลล์สมองบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมก่อนวัย เกิดการก่อตัวของก้อนโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง คล้ายกับคนที่เป็นอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน ในเด็กยังมีงานวิจัยถึงการพัฒนาที่ผิดปกติด้านสติปัญญา พัฒนาการช้า ฯลฯ ยิ่งเด็กอายุน้อย ยิ่งเสี่ยงมาก
เส้นเลือดและกระแสเลือด ทำให้เลือดมีความข้นหนืด เพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดในสมอง ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิต
หัวใจ เมื่อสูดฝุ่นพิษสะสม อาจเกิดการตกตะกอนในหลอดเลือด ทำให้หัวใจวาย หรือเกิดความผิดปกติกับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจนำไปสู่หัวใจวายเฉียบพลัน
สถานการณ์ PM 2.5 ตั้งแต่กุมภาพันธ์ – เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
แม้ว่าฝุ่นจิ๋วเกิดจากสาเหตุมากมาย ตั้งแต่การก่อสร้าง การเผาไหม้ในโรงงาน เครื่องยนต์สันดาปโดยเฉพาะเมืองที่มีการจราจรติดขัดอยู่เสมอแบบกรุงเทพและเมืองใหญ่ๆ ทั้งประเทศ ฯลฯ และฝุ่นพิษนี้จะเพิ่มสูงสะสมได้มากยิ่งขึ้น ด้วยอากาศในฤดูแล้งที่แห้งและนิ่ง สภาพเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูง หรือสภาพเมืองที่เป็นหุบเขา ทั้งสองแบบจะปิดกั้นทางลม ฝุ่นอยู่ในอากาศนิ่งและเพิ่มปริมาณมากขึ้นๆ แบบสะสม
แต่สาเหตุสำคัญคุกคามหนัก โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน คือ ไฟป่า ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งจากสาเหตุธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ โดบเฉพาะในยุคสมัยการทำการเกษตรทุนใหญ่
สำหรับการรับมือ ความจำเป็นอย่างยิ่ง คือ ต้องมีมาตรการที่เพียงพอและทันการณ์กับการลดการเผาในพื้นที่เกษตร เพราะจากข้อเท็จจริง ต้นฤดูจนถึง 7 มีนาคม 2567 ที่เพิ่งผ่านมา จำนวนอ้อยไฟไหม้ที่เข้าสู่โรงงานทั้งหมด มีมากถึง 23.5 ล้านตัน หรือ = 30% ของอ้อยที่เข้าโรงงานทั้งหมด
ร่าง พ.ร.บ.ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดนของพรรคก้าวไกล ยื่นเข้าสู่สภาแล้วและอยู่ในช่วงการดำเนินการ
2568 ที่กำลังจะมาถึง
- งบดูแลป่าสงวนต้องมากขึ้น รวดเร็วขึ้น
- กำหนดมาตรการฉับไวขึ้น
- อาสาสมัครคือหัวใจที่สำคัญที่สุด ต้องอบรมทักษะ | อุปกรณ์พร้อม | สวัสดิการที่ดี
- เทคโนโลยีอย่างโดรนตรวจจับความร้อน ช่วยได้มากในการสำรวจจุดและแนวเคลื่อนที่ของไฟ
- และ ต้องจริงจังกับปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดน