free geoip

สถิติการฆ่าตัวตายในประเทศไทย

จากข้อมูลในรายงานอัตราการฆ่าตัวตายประเทศไทย 2562 โดย ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ สาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยฆ่าตัวตายหรือทำอัตวินิบาตกรรม ให้ข้อมูลว่าคนไทยฆ่าตัวตายเฉลี่ยวัน 10-12 ราย ชายมากกว่าหญิง 4 เท่า 

ปัจจัยของการฆ่าตัวตายสำเร็จมาจากปัญหา 3 ด้านหลัก 

ด้านแรก ปัญหาด้านความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการฆ่าตัวตาย

ร้อยละ 48.7 เกิดจากความน้อยใจ ถูกดุด่าตำหนิ การทะเลาะกับคนใกล้ชิด

ร้อยละ 22.9% เกิดจากความรัก ความหึงหวง

ร้อยละ 8.36 เกิดจากการต้องการคนใส่ใจ

ด้านที่สอง ปัญหาด้านการใช้สุราและยาเสพติด พบว่า 

ร้อยละ 19.6 มีปัญหาการดื่มสุรา 

ร้อยละ 6 มีอาการมึนเมาระหว่างทำร้ายตนเอง

ด้านที่สาม ปัญหาด้านการเจ็บป่วยทางจิต พบว่า 

ร้อยละ 7.45 เกิดจากภาวะโรคจิต 

ร้อยละ 6.54 เกิดจากโรคซึมเศร้า

และร้อยละ 12 มีประวัติการทำร้ายตนเองซ้ำ 

Top 10 จังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด
1. น่าน มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 12.54
2. แพร่ มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 12.45
3. ลำพูน มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 11.84
4. พัทลุง มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 11.81
5. ลำปาง มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 11.37
6. แม่ฮ่องสอน มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 11.26
7. เชียงใหม่ มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 11.18
8. จันทบุรี มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 10.04
9. ตรัง มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 9.97
10. ชุมพร มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 9.58

จะเห็นว่า ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการฆ่าตัวตายมากที่สุด ใน 10 จังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายมากที่สุด มีถึง 6 จังหวัดตั้งอยู่ในภาคเหนือ

ในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 พรรคก้าวไกลยกประเด็นที่รัฐบาลตัดงบกรมสุขภาพจิต จาก 4.4 ล้านที่กระทรวงสาธารณสุขขอไป เหลือเพียง 3,036 ล้านบาท หรือคิดเป็นแค่ 1.8% ของงบกระทรวง จากงบที่คาดว่าจะครอบคลุมปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยจำนวนมาก กลายเป็นเพียงแค่มีเอาไว้เพื่อจะได้บอกว่ามี ยกตัวอย่างเช่น โครงการสร้างเสริมสุขภาพจิตคนวัยทำงาน มีงบเพียง 4 ล้านบาทสำหรับดูแลคนล้านกว่าคน หรือค่าเฉลี่ยต่อหัวคนละราว 3 บาท 

งบยังถูกตัดรวมไปถึง

โครงการระยะต้น ที่จะช่วยให้สุขภาพจิตคนไทยเข้มแข็งขึ้น อย่างเช่น โครงการแก้ปัญหาครอบครัวที่พ่อแม่ขาดความรู้ในการเลี้ยงลูกโดยไม่ใช้ความรุนแรง โครงการดูแลปัญหาคนเมืองที่มีภาวะเครียด ซึมเศร้า เสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเวช หรือภาวะเสี่ยงซึมเศร้าที่จะนำไปสู่การฆ่าตัวตายของวัยเรียน 

โครงการระยะกลาง ปัจจุบันมีผู้ป่วยจิตเวชเข้าสู่ระบบมากขึ้นขณะที่หมอมีจำนวนเท่าเดิม การประเมินผู้ป่วยมีเวลาเพียงเล็กน้อยอาจกระทบถึงการวินิจฉัย รวมทั้งมีเพียงโรงพยาบาลรัฐที่รองรับ ความหนาแน่น คิวที่อาจต้องรอเป็นเวลาหลายเดือนกระทบถึงผู้ป่วยที่อาจหยุดยาเอง ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่อาการดิ่ง รับสภาพไม่ไหว ตัดสินใจลาโลก ไปจนถึงในกรณีที่อาการของผู้ป่วยอยู่ที่การใช้ความรุนแรง แนวโน้มอันตรายในสังคมก็จะเพิ่มสูงขึ้นจากการเข้าไม่ถึงการรักษา 

งบผลิตบุคลากรทางการแพทย์ 686 ล้านบาทที่ต้องใช้ใน 5 ปี คงได้ผลผลิตไม่ถึง 600 คน ในขณะที่กรมสุขภาพจิตเปิดข้อมูลผู้ป่วยไทยที่สูงถึง 10 ล้านคน และอยู่ในระบบการรักษาเพียง 3 ล้านคน รวมทั้งยาที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพดีอีกหลายตัวยังไม่อยู่ในบัญชียาหลัก

โครงการระยะยาว สังคมที่ทำให้คนไทยมีสุขภาพจิตดีอย่างยั่งยืน การเข้าถึงบริการ เพิ่มความตระหนักรู้ 

ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยซึมเศร้า ไม่มีใครที่อยากตื่นขึ้นมาในแต่ละวันด้วยภาวะสิ้นยินดี คือไม่ทั้งยินดีและยินร้าย ทุกคนอยากเป็นคนมีค่า อยากรักตัวเองให้ได้ อยากมีความสุขกับการมีตัวตนบนโลกใบนี้ 

Login

จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคก้าวไกล 7 สิงหาคม 2567 เราขอยุติการรับสมัครสมาชิกพรรคและการรับบริจาค ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้อดีต ส.ส. พรรคก้าวไกลทั้งหมดได้ย้ายไปยังพรรคประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรุณาติดต่อที่ เว็บไซต์พรรคประชาชน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า