free geoip

จะให้คนเพศหลากหลายเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ไหน?


#ศาลรัฐธรรมนูญเหยียดเพศ ผลงานสะท้อนสำนึก ‘คนไม่เท่าเทียม’ ในคำวินิจฉัย

“ในคำวินิจฉัยบอกเปรียบว่า คนที่มีความหลากหลายทางเพศนั้น ‘ผิดธรรมชาติ’ เหมือนกับสัตว์ที่มีพฤติกรรมแปลกแยกจากปกติ และดันให้กลุ่มคนเหล่านี้ไปใช้กฎหมายแยกต่างหากอย่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตฯ ไม่ให้ใช้ร่วมกับชายหญิงปกติ

“แล้วท่านจะวินิจฉัยให้ผมเป็นสัตว์สายพันธุ์ไหนครับ?”

ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวในการอภิปรายรายงานประจำปีศาลรัฐธรรมนูญ


ในรายงานประจำปีของศาลรัฐธรรมนูญที่เข้าสู่การพิจารณารับทราบของสภา มีการใช้คำว่า “สากล” และ “สิทธิเสรีภาพ” อยู่หลายจุด แต่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญหลายครั้งกลับถูกตั้งคำถามว่าเป็นไปตามหลักสากลและรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมถึงกรณีล่าสุดคือ เรื่องการสมรสเท่าเทียม จนแฮชแท็ก #ศาลรัฐธรรมนูญเหยียดเพศ ขึ้นเทรนด์ในโซเชียลมีเดีย เนื่องจากมีการใช้ถ้อยคำที่มีปัญหาเหล่านี้ในคำวินิจฉัย ยกตัวอย่างเช่น

  • “การสมรสเป็นไปเพื่อสืบพันธุ์” เท่ากับการมองมนุษย์เป็นเพียงเครื่องจักรผลิตลูก ในขณะที่ศาลสูงสหรัฐอเมริกา ให้คำนิยามว่า “การสมรสเกิดจากความรัก ความผูกพัน และความต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน” ไม่มีเนื้อหาเรื่องการสืบพันธุ์
  • “การสมรสเพศเดียวกัน ขัดต่อศีลธรรมอันดี และจารีตประเพณีของสังคม” ขัดกับความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศในปัจจุบัน โดยศาลยังคงยึดติดกับวิธีคิดเมื่อครั้งร่างประมวลกฎหมายแพ่งที่ยังไม่มีการพูดถึงความหลากหลายทางเพศมากนัก ซึ่งในปัจจุบันมีความเข้าใจและยอมรับเป็นการทั่วไปแล้วว่า ความรัก ไม่ว่าเพศใดต่างเป็นความรักที่มนุษย์ให้ต่อกัน ไม่ใช่ความรักของสัตว์ที่มีพฤติกรรมแปลกแยก


นอกจากนี้ ในการอภิปรายของ ณัฐวุฒิ บัวประทุม ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางทัศนคติและจริยธรรมของตุลาการรัฐธรรมนูญบางท่าน ที่เคยใช้ถ้อยคำในบทความของตนเองอย่างไม่เหมาะสม โดยบทความนี้มีชื่อว่า “กระทำชำเรา อย่างไรให้ไม่ผิดกฎหมาย” เขียนโดย ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ เมื่อครั้งเป็นนักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นั่นจึงเป็นคำถามต่อไปว่า เมื่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนดจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลักเอาไว้ว่า ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพประชาชน ต้องไม่ให้เกิดความเสียหายในการปฏิบัติหน้าที่ จริยธรรมทั่วไป ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว เสมอภาค ถูกต้อง โปร่งใส ปราศจากอคติ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

“แต่หากศาลเองไม่ประพฤติตามแนวทางนี้ และถ้าประชาชนอยากร้องว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผิดประมวลจริยธรรมศาลรัฐธรรมนูญ ขั้นตอนการร้องจะเป็นอย่างไร และพิจารณาว่าผิดอย่างไร นี่คือสิ่งที่อยากเห็นในรายงานประจำปีของศาลรัฐธรรมนูญ”

ณัฐวุฒิระบุ

Login

สินค้าลอตใหม่จะทยอยเข้าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สามารถสอบถามก่อนได้ที่โทร 02 8215874 (10.00-18.00 น. จ-ศ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า