วิกฤตภูมิอากาศเป็นปัญหาสำคัญของมนุษยชาติที่ทุกพรรคการเมืองต้องช่วยกันเสนอนโยบาย ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้
วันนี้ในการเปิดนโยบายสิ่งแวดล้อม ผมได้เลือกพื้นที่ชุมชนปากคลองรังสิต อ.เมือง จ.ปทุมธานี เพราะเราได้รับข้อมูลจากผู้สมัคร ส.ส.เขตว่า ชุมชนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองของจังหวัดปทุมธานีแห่งนี้ คือหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ในอดีต คนในชุมชนแห่งนี้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับสายน้ำบอกว่าแต่ละปีจะมีน้ำท่วม 2-3 เดือนต่อปี แต่ปัจจุบันน้ำท่วมทวีความรุนแรง บางปีแล้ง แต่บางปีน้ำท่วมถึง 5-6 เดือนต่อปี
เมื่อ พ.ศ. 2549 ประเทศไทยเคยมีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 10 ล้านไร่ ตอนนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเป็น 27 ล้านไร่ สอดคล้องกับรายงานของธนาคารโลกที่ระบุว่าปี 2011-2045 (พ.ศ. 2554-2588) โลกร้อนจะสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยราว 3 ล้านล้านบาท ผลิตพืชต่างๆ ได้น้อยลง เช่น ข้าวน้อยลง 13% มันลดลง 21% อ้อยลดลง 35%
รัฐบาลอาจบอกว่าเราสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับสหประชาชาติ แต่ตัวเลขเหล่านั้น เราเก็บเอง เขียนรายงานเอง ต่างจากข้อมูลที่ประเมินโดยองค์กรระหว่างประเทศ ที่บอกว่าการรับมือในเรื่องนี้ของไทยอยู่ในระดับ “ไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ” (Critically Insufficient)
และหากทำตามนโยบายปัจจุบันของรัฐบาลต่อไป จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 4 องศา ในขณะที่ความพยายามของทั้งโลก ต้องการให้ต่ำกว่า 2 องศา
ปัญหาโลกร้อนเป็นภัยความมั่นคงของยุคปัจจุบัน นี่คือศัตรูตัวจริงของรัฐบาล ไม่ใช่ความมั่นคงทางทหารแบบเดิมอีกต่อไป ดังนั้น พรรคก้าวไกลต้องการประกาศศึกกับภาวะโลกร้อน โดยมีนโยบายที่ชัดเจน ทั้งในเชิง ‘รับ’ เพื่อรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และในเชิง ‘รุก’ ที่รุกไปที่ต้นตอของปัญหา เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้จริง ควบคู่กับสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
ผมเข้าใจดีครับว่านโยบายนี้ อาจไม่ใช่นโยบายหลักที่ทำให้พรรคของเราได้คะแนนเสียงมากเป็นกอบเป็นกำ แต่นี่คือความอยู่รอดของมนุษยชาติไม่ใช่แค่คนไทยแต่คือคนทั้งโลก ผมจึงอยากให้ทุกพรรคการเมืองช่วยกันแข่งขันกันเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อม และช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรเราถึงจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้ได้ เพื่อประเทศไทย และเพื่อโลกของเราครับ
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ย้อนชมการแถลงและการล้อมวงคุยเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมพรรคก้าวไกล
สำหรับชุดนโยบาย “สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า” ของพรรคก้าวไกล ต้องการเอาจริงกับปัญหาโลกร้อน ผ่านนโยบายเชิงรุกและเชิงรับ ต่อไปนี้ (คลิกแต่ละหัวข้อย่อยเพื่อข้ามไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หากต้องการกลับมาที่สารบัญนี้ สามารถกดปุ่มย้อนกลับในบราวเซอร์ของท่านได้เลย)
A. เชิงรุก: เร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)
ด้านการผลิตไฟฟ้า = เปิดตลาดเสรี ส่งเสริมไฟฟ้าสะอาดพลังงาน:
- “หลังคาสร้างรายได้” เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ครัวเรือน
- “ปลดล็อกระเบียบ” สร้างตลาดซื้อ-ขายไฟฟ้าเสรีของประชาชน
- “ประกันราคา” ไฟฟ้าพลังงานสะอาด สำหรับครัวเรือน
- “ปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด” ภายใน 2580
ด้านการเกษตร = ป้องกันการเผา เปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกเป็นรายได้:
- กำจัดการเผาภายใน 3 ปี งบปรับตัวตำบลละ 3 ล้านบาท 1,000 ตำบล
- เปลี่ยนการเผาเป็นเงินในกระเป๋าเกษตรกร งบอุดหนุนปลูกข้าว “เปียกสลับแห้ง” แทนการเผา สร้างอุตสาหกรรมแปรรูปฟางข้าว-ซังข้าวโพดแทนการเผา
- 1 ฟาร์มปศุสัตว์ 1 บ่อหมักก๊าซชีวภาพ (เป็นอย่างน้อย) เปลี่ยนมีเทนเหลือทิ้งให้เป็นพลังงาน
ด้านอุตสาหกรรม = จำกัดการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรม:
- กำหนดเพดานและเปิดตลาด (Cap & Trade) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม เปิดตลาดค้าขายแลกเปลี่ยนโควตา
- PRTR – กฎหมายเปิดข้อมูล บังคับให้ทุกโรงงานเปิดข้อมูล สารพิษอันตรายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ด้านการขนส่ง = ปรับปรุงการขนส่งให้สะอาดที่สุด:
- รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด ภายใน 7 ปี
- “วันขนส่งฟรี” รณรงค์ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว
- เปลี่ยนรถไฟดีเซลเก่าเป็นไฟฟ้า
- ตรวจสภาพรถยนต์ฟรี! ปีละครั้ง
- ควบคุมปริมาณรถบรรทุกในเขตเมือง
ด้านขยะอาหาร = Zero Food Waste กำจัดขยะอาหารเหลือทิ้ง:
- เพิ่มค่าขยะอาหารในห้างใหญ่ บังคับแยกขยะ-เก็บข้อมูล-ทำบัญชีขยะอาหาร
- อาหารเหลือทิ้งแลกสินค้าเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมให้ชุมชนทำปุ๋ยจากอาหารเหลือทิ้ง เพื่อเป็นคูปองซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ ขยะเหลือทิ้ง 1 กิโล แลกได้ 1 บาท
ด้านพื้นที่สีเขียว = ป่าแลกเงิน เพิ่มพื้นที่สีเขียว:
- ต้นไม้ปลดหนี้ รัฐจ่ายหนี้ค้างให้เกษตรกร ในฐานะค่าเช่า แลกกับใช้ที่ดินของเกษตรกรปลูกไม้ยืนต้น
- ต้นไม้บำนาญ คนปลูกได้รับรายได้เป็นรายเดือน 1,200 บาท/ไร่/เดือน เป็นเวลา 20 ปี
- ต้นไม้ทุนรัฐบาล อุดหนุนงบเกษตรกรปลูกป่า 4,000 บาท/ไร่ ในช่วงเวลา 3 ปี
- ต้นไม้ชุมชน อุดหนุนปลูกป่าชุมชน 4,000 บาท/ไร่/ปี จำนวน 1,000 ชุมชน
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ด้วยการเพิ่มงบท้องถิ่น ผ่านนโยบายทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า
B. เชิงรับ: ช่วยประชาชนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นแล้ว
- กองทุนปรับตัวรับมือภัยพิบัติ-น้ำท่วม
- เตือนภัยทั่วถึง ครอบคลุมทุกท้องถิ่น
- ท้องถิ่นประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติได้
- ทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งหมดรายลุ่มน้ำ
- ศูนย์พักพิง-อพยพมีมาตรฐาน ท้องถิ่นมีอำนาจและงบประมาณ
- ชดเชยเป็นธรรมและทันควัน
- ประกันภัยพืชผล ฟรี ในทุกพื้นที่รับน้ำ
นอกเหนือจากนโยบายด้านโลกร้อน พรรคก้าวไกลยังมีนโยบายสิ่งแวดล้อมในมิติอื่นๆ ที่จะเปิดต่อเนื่องหลังจากนี้ เช่น การจัดการขยะ ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาช้างป่า ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหามลพิษทางแสง
ปัญหาโลกร้อนเป็นภัยความมั่นคงของยุคปัจจุบัน นี่คือศัตรูตัวจริงของรัฐบาล ไม่ใช่ความมั่นคงทางทหารแบบเดิมอีกต่อไป ดังนั้น พรรคก้าวไกลต้องการประกาศศึกกับภาวะโลกร้อน โดยมีนโยบายที่ชัดเจน ทั้งในเชิง ‘รับ’ เพื่อรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และในเชิง ‘รุก’ ที่รุกไปที่ต้นตอของปัญหา เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้จริง ควบคู่กับสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยเคยมีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากมี 10 ล้านไร่ ตอนนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเป็น 27 ล้านไร่ สอดคล้องกับรายงานของธนาคารโลกที่ระบุว่าปี 2011-2045 (พ.ศ. 2554-2588) โลกร้อนจะสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยราว 3 ล้านล้านบาท ผลิตพืชต่างๆ ได้น้อยลง เช่น ข้าวน้อยลง 13% มันลดลง 21% อ้อยลดลง 35%
รัฐบาลอาจบอกว่าเราสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับสหประชาชาติ แต่ตัวเลขเหล่านั้น เราเก็บเอง เขียนรายงานเอง ต่างจากข้อมูลที่ประเมินโดยองค์กรระหว่างประเทศ ที่บอกว่าการรับมือในเรื่องนี้ของไทยอยู่ในระดับ “ไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ” (Critically Insufficient)
และหากทำตามนโยบายปัจจุบันของรัฐบาลต่อไป จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 4 องศา ในขณะที่ความพยายามของทั้งโลก ต้องการให้ต่ำกว่า 2 องศา
หากเราไม่แก้ปัญหาที่ต้นตอ จำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมีนโยบายจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแหล่งก่อมลพิษ ผมคิดว่าเราไม่สามารถทำให้ประเทศของเราดีกว่านี้ได้
พรรคก้าวไกลจึงเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อม 5 เรื่องหลักต่อไปนี้
การผลิตไฟฟ้า = “เปิดเสรีพลังงานสะอาด” เพื่อให้พลังงานสะอาดเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน (ไม่ใช่นายทุน)
- เปิดตลาดซื้อ-ขายไฟฟ้าเสรี รัฐดูแลระบบสายส่ง
ปลดล็อกให้ประชาชนเลือกซื้อแผนการใช้ไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตหลายราย (เหมือนการเลือกแพ็คเกจโทรศัพท์) โดยการยกเลิกการที่ กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้ารายเดียว และเปิดตลาดแข่งขันเสรี เพื่อลดค่าไฟให้ประชาชน กระตุ้นการใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิต ยกระดับคุณภาพบริการ และ ป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
ปรับบทบาทของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้เหลือแค่การเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศ โดยแยกหน้าที่ของการกำกับดูแลระบบสายส่งให้มาอยู่ภายใต้หน่วยงานใหม่ของรัฐ
- “ค่าไฟแฟร์” ถูกและเป็นธรรมสำหรับประชาชน
ลดค่าไฟให้กับประชาชนได้อย่างน้อย 70 สตางค์/หน่วย (เฉลี่ยบ้านละ 150 บาท) ผ่านการหยุดให้สัมปทานทุนใหญ่พลังงานสร้างโรงไฟฟ้าพร่ำเพรื่อ
ปรับนโยบายเพื่อให้ความสำคัญกับประชาชนก่อนกลุ่มทุน (เช่น การใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยสำหรับการผลิตไฟฟ้าให้ประชาชน ก่อนการเป็นเชื้อเพลิงให้อุตสาหกรรม)
- “หลังคาสร้างรายได้” เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ ประกันราคาซื้อพลังงานสะอาดสำหรับครัวเรือน
ปลดล็อกให้ประชาชนทุกบ้านติดแผงโซลาร์ ด้วยระบบ net metering (หักลบหน่วยขาย/ซื้อ) เพื่อช่วยลดค่าไฟ และเปิดโอกาสให้ขายไฟที่ผลิตเกินใช้ กลับคืนให้รัฐในราคาตลาด
เพิ่มแต้มต่อให้ประชาชนผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยการสนับสนุนให้เกิดการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์และพลังงานหมุนเวียนในราคาสูงกว่าตลาด” และประกันราคารับซื้อไฟฟ้าขั้นต่ำ หากยังไม่มีตลาดที่ 2.2 บาท/หน่วย
- เลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดภายใน 2035
เร่งปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ เพื่อลดการผลิตพลังงานโดยโรงไฟฟ้าถ่านหิ่น 70% ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) เลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดในปี 2035 (พ.ศ. 2578)
ด้านการเกษตร = ป้องกันการเผา เปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกเป็นรายได้
- กำจัดการเผาภายใน 3 ปี พร้อมงบปรับตัว 3 ล้านบาทต่อตำบล (1,000 ตำบลเสี่ยง)
อุดหนุนงบประมาณให้ 1,000 ตำบลเสี่ยง เพื่อลดการเผาในภาคเกษตร (เช่น ส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องจักรหรือรถไถสำหรับไถกลบตอซังข้าวแทนการเผา)
จัดทำแนวกันไฟ และทีมเฝ้าระวังไฟในพื้นที่ป่าชุมชนและพื้นที่ป่าใกล้เคียงของชุมชน
เชื่อมโยงข้อมูลทั้งจากบนฟ้า (ดาวเทียม) และจากภาคพื้น (โดรน และการสำรวจรอยเผา)
- ส่งเสริมแปรรูปฟางข้าวหรือซังข้าวโพด เกษตรกรขายแทนเผา
ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในการนำฟางข้าวซังข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวไปแปรรูป เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเก็บผลพลอยได้เหล่านี้ไปขายแทนการเผา (เช่น ใช้สำหรับทำอาหารสัตว์ สำหรับเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือสำหรับวัสดุสำหรับการก่อสร้าง เช่น กระดาน/ฉนวนจากฟางข้าว)
- ปลูกข้าว “เปียกสลับแห้ง” ได้ครบวงจร
สนับสนุนการปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อยเช่น การปลูกแบบเปียกสลับแห้ง แบบครบวงจร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (โดยเฉพาะก๊าซมีเทน) ตั้งแต่การลงทุนเพื่อปรับระดับพื้นที่ การจัดหา/จัดการน้ำในไร่นา ไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่มั่นคง และพร้อมสำหรับการปรับตัว
- เพิ่มบ่อหมักก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มปศุสัตว์
สนับสนุนการพัฒนาระบบบ่อก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ เพื่อให้ภาคปศุสัตว์ของไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด โดยจะสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการรับซื้อไฟฟ้าจากบ่อก๊าซชีวภาพในราคาสูงผ่านตลาดไฟฟ้าสีเขียวและ/หรือตลาดคาร์บอนเครดิต (หมายเหตุ ตลาดไฟฟ้าสีเขียว = ตลาดไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ)
ด้านอุตสาหกรรม = จำกัดการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรม
- กำหนดเพดานปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม เปิดตลาดค้าขายแลกเปลี่ยน (cap & trade)
- กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมที่สำคัญ (เช่น ซีเมนต์ ปิโตรเคมี เหล็ก/โลหะ กระดาษ) โดยรัฐ
- เปิดตลาดสำหรับการค้าขายแลกเปลี่ยนโควต้าหรือเครดิตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กรอบเพดานปริมาณที่รัฐกำหนด
- เปิดเผยข้อมูลมลพิษ (PRTR)
ออกกฎหมายปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers หรือ PRTR) ที่กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งต้องเปิดเผยข้อมูลการปล่อยมลพิษและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ประชาชนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
ด้านการขนส่ง = ปรับปรุงการขนส่งให้สะอาดที่สุด
- รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด ไฟฟ้า 100% ภายใน 7 ปี
- อุดหนุนงบประมาณ 10,000 ล้านบาท ให้ท้องถิ่นในการเพิ่มปริมาณของบริการขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
- พัฒนาและควบคุมมาตรฐานการบริการขนส่งสาธารณะทั่วประเทศอย่างเข้มงวด
- ส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น รถเมล์ไฟฟ้า) ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจ้างงานในประเทศ ลดความผันผวนของราคาเชื้อเพลิง และลดมลพิษในแต่ละเมือง
- ออกกฎหมายกำหนดให้รถโดยสารประจำทางทั่วประเทศไทยต้องใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนแทนที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน ในระยะเวลา 7 ปี
- “วันขนส่งฟรี” รณรงค์ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว
ทดลองนำร่องการทำ “วันรณรงค์ลดการใช้รถส่วนบุคคล” (Car Free Day) หรือ 1 วันที่รัฐบาลจะรณรงค์ให้คนในเมืองลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว โดยการทำให้ค่าเดินทางขนส่งสาธารณะ (รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ รวมถึงค่าที่จอดรถบริเวณจุดเชื่อมต่อ) ฟรีทั้งหมด
- เปลี่ยนรถไฟดีเซลเป็นรถไฟไฟฟ้า
สนับสนุนการใช้รถไฟไฟฟ้าแทนรถไฟดีเซลในเส้นทางที่มีความพร้อม เช่น กรุงเทพ-นครราชสีมา หาดใหญ่-ปีนัง อุดรธานี-เวียงจันทน์
- ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ส่วนตัวฟรีปีละ 3 เดือน
เปิดให้ประชาชนนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาตรวจเช็คสภาพรถฟรีทุก 3 เดือน สุดท้ายของปี (ตุลาคม-ธันวาคม) เพื่อตรวจเช็คว่ารถของตนเองมีการเผาไหม้สมบูรณ์หรือไม่ เพื่อรับสติ๊กเกอร์รับรองหากผ่านมาตรฐาน และดำเนินการแก้ไขอย่างถูกจุดหากไม่ผ่านมาตรฐาน
- ควบคุมปริมาณรถบรรทุกที่เข้ามาในเขตเมือง
ควบคุมปริมาณรถบรรทุกและรถบัสที่จะเข้ามาในเขตเมืองให้เข้มข้นขึ้นในช่วงที่ PM 2.5 อยู่ในระดับวิกฤต เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมปัญหามลพิษในเขตเมือง
ด้านขยะอาหาร = ขยะอาหารเหลือทิ้งและขยะที่รีไซเคิลไม่ได้เป็น 0
- เพิ่มค่าบริการขยะอาหารสำหรับห้างใหญ่ บังคับแยกขยะ-เก็บข้อมูล-ทำบัญชีขยะอาหาร
- เพิ่มค่าบริการสำหรับห้างใหญ่และแหล่งกำเนิดขยะอาหารขนาดใหญ่
- บังคับห้างใหญ่และแหล่งกำเนิดขยะอาหารขนาดใหญ่ให้ แยกขยะ-เก็บข้อมูล-ทำบัญชีขยะ
- เปลี่ยนอาหารเหลือทิ้งเป็นเงิน – ลด 1 กิโล ได้ 1 บาท แถมคูปองอาหารอินทรีย์
เปลี่ยนอาหารเหลือทิ้งเป็นเงิน (ลด 1 กิโล ได้ 1 บาท) ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพ (เช่น การผลิตก๊าซชีวภาพ และปุ๋ยหมัก) แถมคูปองแลกอาหารอินทรีย์สำหรับบ้านเรือน
- แบนโฟม-หลอดพลาสติก-แก้วพลาสติด-ถุงพลาสติก ที่ใช้ได้ครั้งเดียว
แบนโฟม หลอดพลาสติก แก้วพลาสติก และถุงพลาสติก ที่ไม่สามารถย่อยสลาย-หมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้ (single-use plastic)
- เก็บภาษีถุงพลาสติกเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม
เก็บภาษีถุงพลาสติกเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม (แทนที่จะเป็นรายได้ของร้านสะดวกซื้อ)
- ยกเลิกคำสั่ง คสช. ให้อำนาจท้องถิ่นปิดโรงงานชั่วคราว
- ยกเลิกคำสั่ง คสช. เรื่องการอนุญาตให้ตั้งโรงงานโดยไม่ต้องทำตามกฎหมายผังเมือง
- ต้องมีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนดำเนินการตั้งโรงงาน
- ให้อำนาจท้องถิ่นปิดโรงงานหากตั้งนอกพื้นที่ผังเมืองอนุญาต
- ให้กรมควบคุมมลพิษสั่งปิดโรงงานขยะที่เปิดดำเนินการไม่ถูกต้องทั้งหมด ทันที!
- ยกเลิกการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ
ยกเลิกการนำเข้าขยะพลาสติก ขยะอีเลคโทรนิค และขยะอื่นๆ ที่รวบรวมได้ภายในประเทศ เพื่อมิให้เป็นภาระในการจัดการขยะในประเทศ และเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจรวบรวมขยะใช้แล้วภายในประเทศ
- พ.ร.บ. การจัดการขยะ ฉบับก้าวไกล
- วางกลไกกลางในการกำกับดูแลมาตรฐานการจัดการขยะทั้งประเทศ
- ยกระดับอำนาจหน้าที่และความสามารถของหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือ Environmental Protection Agency (EPA)
- เพิ่มอำนาจและงบประมาณท้องถิ่นในการบริหารจัดการขยะ
- สร้างแรงจูงใจสำหรับการจัดการขยะ (เช่น การลดหย่อนภาษีสำหรับเทคโนโลยีจัดการขยะ)
ด้านพื้นที่สีเขียว = ป่าแลกเงิน เพิ่มพื้นที่สีเขียว
- ต้นไม้ปลดหนี้
รัฐจ่ายหนี้คงค้างให้เกษตรกร ในฐานะค่าเช่า เพื่อใช้ที่ดินของเกษตรกรในการปลูกไม้ยืนต้นและเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเกษตรกรจะถูกปลดหนี้ตั้งแต่วันแรก และจะได้ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งของต้นไม้ที่ปลูก เมื่อครบ 20 ปี (เป้าหมาย = เพิ่มป่า 1 ล้านไร่)
- ต้นไม้บำนาญ
ออกโครงการ “ต้นไม้บำนาญ” – คนปลูกได้รับรายได้เป็นรายเดือน 1,200 บาท/ไร่/เดือน เป็นเวลา 20 ปี (เป้าหมาย = เพิ่มป่า 1.5 ล้านไร่)
- ต้นไม้ทุนรัฐบาล
ออกโครงการ “ต้นไม้ seed fund” – สนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกป่าด้วยงบอุดหนุน 4,000 บาท/ไร่ ในช่วงเวลา 3 ปี จำนวน (เป้าหมาย = เพิ่มป่า 1.5 ล้านไร่)
- ต้นไม้ชุมชน
ออกโครงการ “ต้นไม้ชุมชน” – สนับสนุนชุมชนให้ปลูกป่าเพิ่มเติม 1,000 ชุมชน ด้วยงบอุดหนุน 4,000 บาท/ไร่/ปี จำนวน (เป้าหมาย = เพิ่มป่า 1 ล้านไร่)
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง
- เพิ่มงบท้องถิ่นในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (นโยบายทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า)
- พัฒนาระบบมาตรฐานและระบบสนับสนุนการสร้างพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง สำหรับท้องถิ่น
- ให้ท้องถิ่นสามารถหักลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับพื้นที่สีเขียวของเอกชน ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้ประโยชน์ (negative land tax) จัดตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับแต่ละท้องถิ่น