free geoip

กระทรวงศึกษาธิการแค่บอกว่า “ห้ามโรงเรียนบังคับทรงผมเด็ก” มันยากเกินไปเหรอ?


กรณี ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 เปลี่ยนเป็นการกำหนดแนวปฏิบัติกว้างๆ เกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนหรือนักศึกษา โดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ไปกำหนดเป็นระเบียบหรือข้อบังคับเอง

เดิมที ระเบียบทรงผมฯ ปี 2563 กำหนดว่า 🧒 นักเรียนชาย จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาว ไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย ส่วน 👧 นักเรียนหญิง จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย

อีกข้อความสำคัญอยู่ในข้อ 7 ของระเบียบ ที่ระบุว่า ให้สถานศึกษาวางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้

ดังนั้น การที่ รมว.ศึกษาธิการ ยกเลิกระเบียบปี 63 ดังกล่าว ดูเผินๆ เหมือนจะดี เหมือนรับฟังเสียงเรียกร้องของเยาวชนที่ต้องการอิสระเรื่องทรงผมมากขึ้น และดูเหมือนให้อำนาจแก่สถานศึกษาในการตั้งกฎระเบียบตามความเหมาะสมของแต่ละแห่ง แต่ก็เท่ากับทำให้ข้อ 7 ในระเบียบที่กำกับทุกโรงเรียน หายไปด้วย

📌 พริษฐ์ วัชรสินธุ – ไอติม ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล มองว่า สิ่งที่รัฐมนตรีทำ ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องทรงผมของนักเรียน และอาจทำให้เป้าหมาย “เสรีทรงผม” ห่างไกลกว่าเดิม

เหตุผลเพราะการยกเลิกกฎระเบียบส่วนกลางเกี่ยวกับทรงผม โอนความรับผิดชอบและการตัดสินใจทั้งหมดไปที่โรงเรียน จะยิ่งเปิดช่องให้โรงเรียนแต่ละแห่งออกกฎเกณฑ์เรื่องทรงผมที่ละเมิดสิทธิผู้เรียนอย่างไรก็ได้แบบไร้ขอบเขต เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งสามารถออกกฎให้เด็กทุกคนต้องโกนหัวก็ได้

ดังนั้น ถ้าอยากแก้ปัญหาจริงๆ กระทรวงควรออกระเบียบหรือมาตรฐานขั้นต่ำจากส่วนกลางให้ชัด ห้ามไม่ให้โรงเรียนออกกฎระเบียบตนเองที่บังคับเด็กเรื่องทรงผม

นอกจากนี้ หากมองในภาพรวม เรื่องนี้ยังสะท้อนปัญหาของกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน เกี่ยวกับการวางบทบาทตนเองกับโรงเรียน ที่ดูกลับหัวกลับหาง ในเรื่องที่กระทรวงควรกำชับทุกโรงเรียน กลับไม่ทำ ในเรื่องที่ควรให้อิสระแก่โรงเรียน กลับไม่ให้ ทำให้ปัญหาของการศึกษาไทยไม่ถูกแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ

👉 พริษฐ์เสนอว่า สิ่งที่กระทรวงฯ ควรให้อิสระแก่โรงเรียนในการบริหารจัดการ แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก

(1) ด้านงบประมาณ เช่น การจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนแบบไม่กำหนดวัตถุประสงค์
(2) ด้านบุคลากร เช่น ให้โรงเรียนมีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์และคัดเลือก
(3) ด้านวิชาการ เช่น การออกแบบหลักสูตรของโรงเรียนที่สอดคล้องต่อความต้องการของผู้เรียน


👉 ส่วนการคุ้มครองสิทธิของนักเรียน สิ่งที่กระทรวงควรกำชับทุกโรงเรียน มี 3 อย่าง

(1) กำหนดให้ชัด กฎโรงเรียนต้องไม่ขัดหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งครอบคลุมกว่าแค่เรื่องการบังคับทรงผม เช่น เสรีภาพในการแสดงออก ห้ามให้มีการลงโทษด้วยวิธีรุนแรงทุกประเภท ห้ามบังคับให้เด็กบริจาคเงินหรือสิ่งของ ห้ามการบังคับซื้อของ

(2) พักใบประกอบวิชาชีพครูทันทีเมื่อมีการละเมิดสิทธิเด็ก (เช่น การทำร้ายร่างกายเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการงดโทษหรือลงโทษเพียงแค่ย้ายโรงเรียน

(3) จัดให้มีกลไกการร้องเรียนที่เป็นอิสระจริงจากโรงเรียนและเขตพื้นที่ ซึ่งอาจขึ้นตรงกับรัฐมนตรีฯ ศึกษาธิการ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอของพรรคก้าวไกลในการปฏิรูปการศึกษาไทย ที่เราจะผลักดันทันทีหากได้เป็นรัฐบาล


อ่านนโยบายการศึกษาเต็มๆ:



สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของพรรคก้าวไกลนี้ ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ปี พ.ศ. 2565
ผลิตโดย บริษัท สเปกเตอร์ ซี จำกัด จำนวนที่ผลิต 1 ชิ้น งบประมาณ 3,000 บาท ผลิตวันที่ 25 มกราคม 2566

Login

พรรคก้าวไกล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า