“พิธา แถลงก่อนการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษ ผู้นำอาเซียนต้องไม่ให้การประชุมเป็นเวทีรับรองความชอบธรรมของเผด็จการทหารเมียนมาร์ รัฐบาลประยุทธ์ต้องปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและภูมิภาคไม่ใช่รักษาความสัมพันธ์ส่วนตัว”
ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ทั้งโลกได้ติดตามสถานการณ์ในเมียนมาร์ด้วยความสะเทือนใจ มากกว่า 700 ชีวิต ต้องถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม และ 50 ชีวิตในนั้นเป็นเด็ก บางคนอายุเพียง 7 ขวบ คนนับพันต้องถูกกักขังหรือถูกอุ้มหาย บ้านเรือนถูกปล้นและเผาทำลาย นี่เป็นปฏิบัติการอาชญากรรมสะเทือนขวัญอย่างเป็นระบบโดยทหารเมียนมาร์ เพื่อข่มขู่ให้ประชาหวาดกลัวและยอมสยบ
ถ้าไม่มีการยับยั้ง ทหารเมียนมาร์ก็จะเดินหน้าปราบปรามสังหารประชาชนมือเปล่าและชนกลุ่มน้อยต่อไป ถ้าไม่มีใครทำอะไร คนอีกนับพันอาจถูกสังหาร คนนับร้อยนับพันอาจต้องพลัดถิ่น และวิกฤตทางมนุษยธรรมที่ตามมาก็จะสร้างผลสะเทือนไปทั้งภูมิภาค ความโหดเหี้ยมทารุณที่เกิดขึ้นฝั่งตรงข้ามของขายแดนสำคัญกับเราในฐานะคนไทยและสมาชิกอาเซียน
การทำให้ประชาชนถูกพลัดถิ่นด้วยกำลังบังคับในช่วงจุดสูงสุดของโรคระบาดระดับโลกจะยิ่งสร้างวิกฤตสาธารณสุขทับซ้อนลงไปบนวิกฤตมนุษยธรรม ประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดมากที่สุดประเทศหนึ่งและมีชายแดนติดต่อกับเมียนมาร์มากที่สุด จะได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากที่จะหลบหนีความไม่สงบเข้ามาจะหมายถึงความต้องการที่พักอาศัยและชายคาในระยะยาวสำหรับผู้ถูกบังคับให้ย้ายถิ่น ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาวจะยังต้องใช้อีกหลายปีจึงเกิดขึ้น นี่คือผลกระทบโดยตรงของการกระทำของทหารเมียนมาร์ที่ประเทศไทยต้องแบกรับ
ใน พ.ศ. 2510 ประเทศไทยและอีก 4 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมกันก่อตั้งอาเซียนขึ้นเพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือและสันติภาพในภูมิภาค ผู้ก่อตั้งจินตนาการถึงพันธมิตรของหุ้นส่วนที่จะก้าวข้ามความแตกต่างและร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรมทางสังคม และความมั่งคั่งผาสุก
ปฏิญญากรุงเทพฯ ที่ได้ก่อกำเนิดอาเซียนได้ระบุว่า เป้าหมายของอาเซียนคือ “เพื่อส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาคและความมั่นคงผ่านความเคารพต่อความยุติธรรมและนิติธรรม และยึดมั่นในหลักการของสหประชาชาติ”
กฎบัตรอาเซียนได้ระบุว่า
“เรา ประชาชนของอาเซียน ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย นิติธรรม และธรรมาภิบาล เคารพในการปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ในการนี้ ขอประกาศว่าจะสร้าง ผ่านกฎบัตรนี้ กรอบทางกฎหมายและเชิงสถาบันของอาเซียน”
ตั้งแต่การก่อตั้งอาเซียน ไม่เพียงแต่ว่าครอบครัวของประเทศชาติที่กำลังเติบโตขึ้นของเรา ได้ฝ่าฟันมรสุมวิกฤติมาแล้วหลายครั้ง เราได้ยืนหยัดอย่างภาคภูมิในเวทีโลก ได้ให้เวทีที่นำศัตรูและคู่ต่อสู้หามาทางออกร่วมกัน สำหรับภูมิภาคอันหลากหลาย เพิ่งเบ่งบาน แต่ก็เปี่ยมด้วยศักยภาพของเรา นี่คือที่มาของความภาคภูมิใจอย่างล้นพ้น
วิกฤติในเมียนมาร์ในวันนี้เป็นการจู่โจมคุณค่าและประเพณีของอาเซียน แนวทางของอาเซียน และกลุ่มประเทศของเรา อย่างไร้ยางอาย หลักการที่ได้รับการเชิดชูไว้ในปฏิญญาก่อตั้งกำลังถูกทดสอบอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนการจัดประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษในวันที่ 24 เมษายนนี้ที่กรุงจาการ์ตา พรรคก้าวไกลเรียกร้องให้ผู้้นำอาเซียนจัดตั้งกระบวนการสันติภาพที่นำโดยอาเซียนเพื่อยุติการสังหารประชาชนและนำเมียนมาร์กลับคืนสู่เส้นทางประชาธิปไตย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ อาเซียนจะต้องพิจารณานำกลไกที่เหมาะสมที่มีอยู่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น การตั้งกลุ่มผู้ประสานงานอาเซียน จัดตั้งทูตพิเศษของอาเซียน จัดตั้งกลุ่มเพื่อนประธาน หรือกระบวนการเจรจาอื่นๆ
เราเชื่อว่าเป็นความจำเป็นทางมโนสำนึกที่กระบวนการสันติภาพจะมีเป้าหมายได้แก่
-หนึ่ง ต้องมีเป้าหมายเพื่อทำให้เมียนมาร์กลับสู่ประชาธิปไตยอย่างปกติ ที่ สิทธิ เสรีภาพ ความเป็นอยู่ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการคุ้มครอง
-สอง กระบวนการสันติภาพต้องเรียกร้องให้มีการยุติการใช้กำลังความรุนแรงและปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมดโดยเร็วและไม่มีเงื่อนไข
เราเชื่อว่านี่คือขั้นต่ำที่ประชาชนชาวอาเซียนจะต้องเรียกร้องจากผู้นำของเราในฐานะเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมของการประชุมผู้นำสมัยพิเศษ
และผมขอย้ำให้ชัดเจนว่า ผู้นำอาเซียนจะต้องไม่ปล่อยให้การประชุมผู้นำอาเซียนเป็นเวทีที่ให้การยอมรับและความชอบธรรมกับเผด็จการทหารเมียนมาร์ ผู้นำอาเซียนควรยืนยันให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเข้าหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ทางออกทางการเมืองเป็นไปได้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม
ในการนี้ เราขอชื่นชมการตัดสินใจของบรูไนในฐานะประธานอาเซียนที่ตัดสินใจจัดการประชุมผู้นำสมัยพิเศษที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา ดังนั้น จึงเป็นการไม่ได้ให้ความชอบธรรมต่อผู้แทนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของทหารเมียนมาร์ให้ทัดเทียมกับผู้นำอาเซียนชาติอื่น
โดยการนี้ เราเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียน ยื่นคำเชิญเข้าร่วมการประชุมผู้นำทหารเมียนมาร์สมัยพิเศษไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมถึงตัวแทนจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ กองทัพ และกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้กระบวนการสันติภาพการเจรจาที่จริงใจ เกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ เพื่อรักษาหลักการความเป็นแกนกลางของอาเซียนท่ามกลางวิกฤต อาเซียนควรตระหนักว่านี่คือเวลาที่จะเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ปฏิบัติตามอำนาจในหมวด 6 และจัดตั้งคณะทำงานสอบหาข้อเท็จจริงสำหรับสถานการณ์ในเมียนมาร์ ดังนั้นเพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมียนมาร์ เราเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนจัดตั้งคณะทำงานเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในเมียนมาร์ และเรียกร้องให้ทหารเมียนมาร์ยอมเปิดให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสามารถเข้าไปถึงได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ
เราทุกคนทราบกันดีว่า ประเทศไทยเป็นผู้เล่นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับเมียนมาร์ และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยควรมีบทบาทเชิงรุกในการหาทางออกให้กับสถานการณ์ แต่รัฐบาลของ พล.อ ประยุทธ์ ภายใต้การจับตามองของประชาคมโลก ก็แสดงออกให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าไม่ได้มีสำนึกที่จะปกป้องผลประโยชน์ของชาวไทยและชาวเมียนมาร์ในห้วงเวลาที่มืดมนที่สุด
ผลประโยชน์ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนนั้นอยู่บนหลักการของความเจริญผาสุกร่วมกันที่จำเป็นต้องมีเมียนมาร์ที่มั่นคงทางการเมืองและเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ถ้าเมียนมาร์เกิดวิกฤต ก็จะเป็นวิกฤตของภูมิภาคและประเทศไทยที่มีชายแดนติดต่อกับเมียนมาร์ถึง 2,400 กิโลเมตร และอยู่ในใจกลางของภูมิภาค เช่นเดียวกัน
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล พล.อ ประยุทธ์ จะต้องทำตามหลักการ “การคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองในระยะยาวโดยรู้แจ้งถึงสิ่งที่ถูกต้อง” และแสดงออกให้เห็นว่าประเทศไทยยืนอยู่ข้างประชาชนชาวเมียนมาร์ ไม่ได้เป็นสหายของทหารเมียนมาร์
Over the past two months, the world has watched, in horror, the events that have unfolded in Myanmar. More than seven hundred lives were brutally murdered. Fifty of them were children, some as young as seven. Thousands have been detained or forced to disappear. Homes were looted and burned to the ground. This is a systematic campaign of heinous crimes waged by the Tatmadaw as it seeks to terrorize the people of Myanmar into submission.
If left unhindered, the Tatmadaw will continue its military campaigns on unarmed civilians and ethnic minorities. If nothing is done, thousands more could be slaughtered, hundreds of thousands could be displaced, and the ensuing humanitarian crisis would disrupt the entire region. The atrocities that occur right across our border matter to us, both as Thais and as members of ASEAN.
A large-scale forced migration at the height of a global pandemic will surely foment a public health crisis on top of a humanitarian one. And Thailand, as one of the closest neighbors with the longest borders with Myanmar, will be hit particularly hard. The influx of migrants will also mean long-term lodging and sheltering needs for forced migrants whose durable solutions may take years to present themselves. These are the direct results of the Tatmadaw’s actions whose consequences Thailand has to shoulder.
In 1967, Thailand and four other Southeast Asian nations founded ASEAN in the quest for collaboration and regional peace. The founders imagined an alliance of partners that would overcome their differences and joined hands in promoting human rights, social justice, and prosperity.
The Bangkok Declaration that gave birth to ASEAN stated that the purpose of ASEAN is to promote regional peace and stability, respect for justice and the rule of law, and adherence to the principles of the United Nations”
The ASEAN Charter also states that:
“We the people of ASEAN… adhering to the principle of democracy, the rule of law and good governance, respect for and protection of human rights and fundamental freedom… hereby decide to establish, through this charter, the legal and institutional framework of ASEAN.”
Since the founding of ASEAN, not only has our growing family of nations successfully weathered countless crises — we have stood proud at the world’s center stage, providing forums and bringing bitter foes and adversaries together to work out their differences. For our diverse, fledgling, yet resourceful region, this has been an immense source of pride.
The crisis in Myanmar today is a shameful assault on our values and tradition, on the ASEAN Way, on us as a bloc. The principles enshrined in our founding declaration are being tested once again.
On the eve of the Special ASEAN Summit to be held on the 24th of April in Jakarta, the Move Forward Party calls on ASEAN leaders to establish an ASEAN-led peace process to put an end to senseless civilian deaths and resume the democratization process in Myanmar. To achieve this, ASEAN will need to consider adopting appropriate mechanisms at its disposal whether it is in the form of ASEAN Troika, the appointment of an ASEAN Special Envoy, Friends of the Chair, and other forms of mediation efforts.
We believe that it is a moral imperative for the peace process, led by ASEAN, to achieve these goals. First, it must strive for a return to democratic normality in which the rights, liberties, livelihoods, and human dignity of the people of Myanmar are upheld. Second, it must call for the immediate and unconditional cessation of hostilities and the release of all political prisoners. We believe this is the bare minimum that the people of ASEAN should demand from our leaders as a tangible outcome of this Special Summit.
And let me be clear, the ASEAN leaders must not allow the Special Summit to be used to lend recognition and legitimacy to the military junta. ASEAN leaders should ensure that all stakeholders actively engage with one another so that a political solution can be achieved through an inclusive process.
In this connection, we commend Brunei’s decision as the Chair of ASEAN to host the Special Summit at the ASEAN Secretariat in Jakarta, thereby, not giving the illegitimate and unelected representative of the Tatmadaw equal footing with other ASEAN Leaders.
In this regard, we urge ASEAN leaders to extend a standing invitation to the Special Summit to all stakeholders in Myanmar including representatives of the National League for Democracy, the CRPH, the Armed Forces, and all ethnic groups so that an inclusive process of peace negotiations, conducted in good faith, can take place.
Moreover, to retain ASEAN Centrality amidst this crisis, ASEAN should acknowledge that this is the time to call upon the Security Council to act in accordance with its Chapter Six powers and establish a fact-finding mission on the situation in Myanmar. Then, to mitigate the ongoing humanitarian crisis, We urge ASEAN leaders to dispatch a needs assessment team to evaluate the humanitarian situation in Myanmar and call on the Tatmadaw to grant unhindered access to humanitarian aid to all areas of the country.
While we all know that Thailand, as an important economic player, a close neighbor of Myanmar, and as a founding member of ASEAN, should play a proactive role to mediate the situation. However, the Thai leadership under General Prayut, in the watchful eyes of the international community, has time and time again failed to demonstrate that it has the moral rectitude to act in the best interests of both the Thai people and the people of Myanmar during these darkest moments.
The protection and promotion of Thailand’s and regional interests rest ultimately with a mutual prosperity policy that includes a stable and vibrant Myanmar. The opposite scenario spells crises for Thailand – and the region – as we share over 2,400 kilometers of borders with Myanmar which lies in the heart of Asia.
This is a high time for the Prayut government to start acting out of an enlightened self-interest by showing the people of Myanmar that Thailand is their true friend, and not a comrade-in-arms of the Tatmadaw.